สุริยา เผือกพันธ์
แปลและเรียบเรียง
คำสำคัญ
:
รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles),
รูปแบบการเรียนรู้ผ่านการมองเห็น (Visual Learning Style), รูปแบบการเรียนรู้ผ่านการได้ยิน (Auditory
Learning Style), รูปแบบการเรียนรู้ผ่านการอ่าน/เขียน (Read/Write
Learning Style), รูปแบบการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว (Kinesthetic
Learning Style), การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล (Individual’s
Learning)
เรามีรูปแบบและทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนจำนวนมาก
แต่ที่จะเน้นในที่นี้เป็นระบบเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล (Individual’s
Learning) ที่รู้กันในนาม VARK
อันประกอบด้วย Visual. Auditory. Read/Write, and
Kinesthetic (hand-on)
ครูต้องรู้รูปแบบการเรียนรู้ที่นักเรียนถนัด
เพื่อให้เรารู้ว่านักเรียนใช้กระบวนการ
เรียนรู้และจดจำข้อมูลได้ดีที่สุดด้วยการดู การฟัง การอ่าน/เขียนหรือการเคลื่อนไหว/สัมผัส
นักเรียนแต่ละคนชอบรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
รูปแบบหนึ่งใดไม่ได้ดีกว่ารูปแบบอื่น ๆ และมิได้หมายความว่าเด็กชอบรูปแบบหนึ่งแล้ว
รูปแบบอื่นจะไม่สามารถเรียนรู้ได้ มันเป็นการง่ายที่จะทำให้การใช้กระบวนการ
การเรียนรู้และการจดจำข้อมูลเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
นักเรียนอาจกลายเป็นผู้เรียนที่ดี ถ้าพวกเขารู้รูปแบบการเรียนรู้และใช้กำหนดกลยุทธ์การเรียนรู้ได้ตามลำดับ
รูปแบบการเรียนรู้ผ่านการมองเห็น
(Visual
Learning Style)
ผู้เรียนต้องการมองเห็นภาษากายและการแสดงสีหน้าของครู
(Teacher’s
body language and facial expression) เพื่อความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนอย่างเต็มที่
ส่วนใหญ่พวกเขาชอบนั่งหน้าห้องเรียน แต่ละคนจะคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นอยู่รูปภาพและอาจเรียนเข้าใจดีที่สุดจากการดูสิ่งเหล่านี้
เช่น แผนภาพ (Diagrams) รูปภาพในตำราเรียน (Illustrated
textbook) แผ่นใส (Overhead transparencies)
วีดิโอ (Video) ภาพพลิก (Flipcharts)
การใช้กระดานไวท์บอร์ด (Whiteboards) ใบความรู้ (Handout) ระหว่างการเรียนหรือการอภิปรายในชั้นเรียน
บ่อยครั้งที่ผู้เรียนชอบที่จะจดบันทึกรายละเอียดและซึมทรัพย์ข้อมูลข่าวสาร
กลยุทธ์การเรียนรู้ (Learning
Strategies)
-ใช้สีทาทับข้อความที่สำคัญในแบบเรียน
เช่น คำสำคัญ
-ทำบัตรคำข้อความที่สำคัญ เช่น
การย่อข้อความ
-จำกัดจำนวนคำ/ข้อมูล
เพื่อให้ใช้จินตนาการ
-เปลี่ยนคำหรือข้อความให้เป็นสัญญลักษณ์
แผนภาพและหรือรูปภาพ
-สร้างภาพเพื่อเตือนความจำ
-เปลี่ยนรูปภาพให้เป็นคำ
-ทำรหัสสี, ขีดเส้นใต้, และหรือทาสีทับข้อความสำคัญ
-สร้างแผนภูมิ แผนภาพ
แผนที่ความคิด
รูปแบบการเรียนรู้ผ่านการได้ยิน
(Auditory
Learning Style)
นักเรียนแต่ละคนจะเรียนได้ดีผ่านบทเรียนที่ใช้เสียง
อภิปราย พูดคุยและฟังในเรื่องที่ผู้อื่นพูด ผู้เรียนด้วยการได้ฟังจะตีความหมายของการพูดผ่านการฟังน้ำเสียง
จังหวะและความเร็ว บ่อยครั้งที่ผู้เรียนได้ประโยชน์จากการอ่านตำราและบันทึกจากการอ่านและฟังเสียงที่ดัง
แล้วบันทึกสาระสำคัญจากตำรา
กลยุทธ์การเรียนรู้
(Learning
Strategies)
-ทำงานกลุ่มหรือเรียนกับเพื่อนร่วมงาน
เช่น การอภิปราย การฟัง การพูดคุย
-การอ่านและทบทวนแบบฝึกหัดจากแบบเรียนก่อนเข้าชั้นเรียน
-อ่านบันทึกและแบบเรียนให้เสียงดัง
-ท่องข้อมูลที่สำคัญให้จำได้
-บันทึกข้อความ ข้อมูลสำคัญ
ฟังบรรยาย ฟังและบันทึกเป็นประจำ
-ใช้หนังสือและเทป
-ศัพท์เทคนิคและภาษาคณิตศาตร์
-พูดปัญหาให้เสียงดัง
ๆ
-คิดอย่างเป็นกระบวนการและลำดับขั้นเป็นขั้น
ๆ เขียนและอ่านให้เสียงดัง
-อภิปรายคำถามและปัญหาเป็นกลุ่มหรือเรียนกับเพื่อนสนิท
รูปแบบการเรียนรู้ผ่านการอ่านและเขียน
(Read/Write
Learning Style)
แต่ละบุคคลที่ชอบรูปแบบนี้
จะแสดงออกให้เห็นในด้านการใช้คำ โดยเฉพาะการใช้ตำราเป็นฐานในการสร้างงาน เช่น
การอ่านการเขียนในทุก ๆ รูปแบบ คนที่ชอบรูปแบบนี้ชอบที่จะแสดงออกโดยผ่านงานต่าง ๆ
เช่น พาเวอร์พอยต์ อินเตอร์เน็ต อ่านรายการ พจนานุกรา ปทานานุกรมและคำต่าง ๆ
กลยุทธ์การเรียนรู้
(Learning
Strategies)
-การเรียบเรียงใหม่
-อ่าน/ทบทวนทุกวัน
-การเรียบเรียงความคิดและหลักการใหม่โดยใช้คำอื่น
ๆ
-สร้างแผนภาพ รูปภาพไปเป็นประโยค
-เปลี่ยนการกระทำ แผนภาพ หรืออื่น
ๆ ไปเป็นคำ
-เขียนตอบข้อสอบ
-ทำข้อสอบแบบเลือกตอบ
-เขียนความเรียง
มีการเริ่มต้นและจบลง
-เขียนเป็นรายการต่าง ๆ
-เรียบเรียงคำเพื่อจัดลำให้ดับหรือจุดเน้น
รูปแบบการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว
(Kinesthetic
Learning Style)
ผู้ที่เรียนด้วยรูปแบบนี้จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อได้ใช้มือ
บางครั้ง มันเป็นความลำบากสำหรับบางคนที่จะให้นั่งเรียนเป็นเวลานาน ๆ ผู้เรียนแบบนี้สามารถหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่เขาต้องการคือ
การเคลื่อนไหวและการทำกิจกรรม
กลยุทธ์การเรียนรู้
(Learning
Strategies)
-ในครั้งแรกให้อ่านเอกสารแบบคร่าว
ๆ เพื่อความเข้าใจหัวเรื่องและความคิดหลัก
-เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ
อ่านและเรียนด้วยเสียงที่ดัง เดินและอ่าน ทำงานในตำแหน่งที่เป็นยืนอยู่
-บันทึกและฟังพวกเขาในขณะที่ออกกำลังกาย
-หยุดพักบ่อย ๆ
-ฟังเพลงขณะเรียน
-นั่งเรียนหน้าห้องเรียน
-ทำงานในชั้นเรียน ใช้บันทึก
เขียนจุดเน้น ร่างแผนภูมิ
-เรียนรู้โดยใช้มือทำงานหรือสัมผัส
เมื่อมีความเป็นไปได้
-ใช้โมเดล ทำการทดลองพิเศษ เยี่ยมพิพิธภัณฑ์
หรือร่วมงานคอนเสริ์ต เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุสร้างหลักสูตร
-สร้างบัตรคำเพื่อใช้เป็นกระบวนการ
-ทำรหัส สีเหมือนข้อมูล
-จำกัดข้อมูล ด้วยการทำคำสำคัญ
และสัญญาลักษณ์
-ทำตามกฎ สับเปลี่ยนและทำซ้ำ ๆ
-พิมพ์บันทึกจากสิ่งที่เรียนในตำราและในชั้นเรียน
-ใช้โปรแกรมสเปรสชีท ตาราง แผนภูมิและรวบรวมวัสดุ
…………………………………………………………………………….
http://www.vark-learn.com[Copyright
Version 7.0 (2006) held by Neil D. Fleming,
Christchurch, New Zealand and Charles C. Bonwell, Springfield,MO]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น