วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

                                        ครูอัจฉรา รัตนสุวรรณ
โรงเรียนบำรุงวิทยา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์



            1. ชื่อเรื่อง ผลการเรียนแบบ VARK MODEL ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ป.3/2

              2. ผู้วิจัย นางสาวอัจฉรา รัตนสุวรรณ

              3. สภาพการปฏิบัติงานและปัญหาการวิจัย
                   วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นวิชาพื้นฐานในการเรียนต่อระดับสูงและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งผู้เรียนวิชานี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติที่ดี แต่จากการสำรวจปัญหาที่ผ่านมาพบว่า นักเรียนที่เรียนวิชานี้กลับมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากการเรียนการสอนที่เน้นการบรรยาย เป็นหลัก ทำให้จำกัดช่องทางการรับรู้ของนักเรียนที่มีทักษะการเรียนรู้ที่แตกต่าง (Learning Differences) ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำ จากปัญหาและสาเหตุที่ค้นพบ จึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนใหม่โดยเน้นการเรียนแบบ VARK MODEL  เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

                4. คำถามการวิจัย
                  การใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ VARK MODEL  ส่งผลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือไม่ อย่างไร

                5. วัตถุประสงค์
                 เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนแบบ VARK MODEL  ที่มีผลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น ป.3/2

                6. ประโยชน์ที่จะได้รับ
                    1) นักเรียนมีความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
                    2) ครูได้รูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ

                7. วิธีดำเนินการวิจัย
                    การวางแผน
                          1) เป้าหมาย ทดลองใช้การเรียนแบบ VARK MODEL เป็นเวลา 1 ครั้ง
2) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์
จำนวน  40 คน
3) กิจกรรม/การปฏิบัติ
        3.1วิเคราะห์เนื้อหาและออกแบบกิจกรรมตามรูปแบบ VARK MODEL
       3.2เขียนแผนการสอน 1 แผน (ยุทธวิธีการเรียนรู้แบบ VARK MODEL, บูรณาการ
ภาษาอังกฤษและบูรณาการ ICT)
       3.3 ประชุมร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมของแผนการสอนทั้ง 1 แผน
  การปฏิบัติ ลงมือสอนตามแผนที่กำหนดไว้ในเดือนกันยายน 2557
  สังเกตการสอน
                           1. เครื่องมือวิจัย ได้แก่
   1.1 แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน
   1.2 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ แบบเลือกตอบจำนวน 15 ข้อ
                          2. การรวบรวมข้อมูล
                รวบรวมข้อมูลหลังจากมีการสอนเรียบร้อยแล้ว
                          3. การวิเคราะห์ข้อมูล
                 แบบทดสอบ วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ
                  สะท้อนผลการสอน ประชุมคณะกรรมการสังเกตการสอนเพื่อสะท้อนผลการสอนให้คำแนะนำ เพื่อนำไปปรับปรุงการสอน
                  ปรับปรุงแผนการสอน นำผลการสะท้อนผลการสอนไปปรับปรุงแผนการสอนเพื่อใช้สอนในคาบ อื่น ๆ ต่อไป
    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตาราง 1 แสดงความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน

รายการ
จำนวน
ร้อยละ
นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบ VARK MODEL
-                   ชอบ
-                   ไม่ชอบ


37
3

92.5
2.5
ในความคิดของนักเรียนในการเรียนแบบ VARK MODELมีผลดีคือ
-                   ได้ระดมความคิดกับเพื่อน
-                   ได้ใช้ทักษะการฟัง คิด อ่าน เขียน
-                   กล้าแสดงออก
-                   ได้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นคนอื่น
-                   ได้เรียนแบบ ICT
-                   ได้เรียน 2 ภาษา


7
8
5
5
6
9

17.5
      20.0
12.5
12.5
     15.0
22.5
รวม
40
100
               
                 จากตารางนักเรียนมีความชอบการเรียนในรูปแบบ VARK MODEL มากที่สุดร้อยละ 92.50  ทักษะที่นักเรียนชอบมากที่สุดคือ ได้เรียน 2 ภาษาและทักษะการฟัง คิด อ่านและเขียน ร้อยละ 22.50 และ 20.00 ตามลำดับ

                 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
               1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบ 15 ข้อ เท่ากับ 9.2 คิดเป็นร้อยละ 60
                             2) นักเรียนผ่านเกณฑ์มี 36 คน จากทั้งหมด 40 คน คิดเป็นร้อยละ 90
  สรุปผล
                          นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์จากการเรียนแบบVARK MODEL อยู่ในระดับสูง
              สะท้อนผล
                         จากการนำข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้เข้าสู่การประชุมครูพบว่า ทุกคนมีความพึงพอใจในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนครั้งนี้และได้ร่วมกันเสนอแนะในวงจรต่อไป ดังนี้
           1. พัฒนารูปแบบการสอนแบบ VARK MODEL ที่เหมาะสมกับงานที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ
                        2. ควรออกข้อสอบให้ตรงกับเนื้อหาที่สอน เพื่อจะมีค่าเฉลี่ยคะแนนสอบที่สูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
                          วงจรต่อไปจะทำการวิจัยในคำถามวิจัยดังนี้

                          รูปแบบการสอนแบบ VARK MODEL ที่เหมาะสมกับงานที่จะให้นักเรียนปฏิบัติมีลักษณะอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น