วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รายงานการวิจัยโครงการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ โดยใช้แบบฝึกการอ่านและเขียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบำรุงวิทยา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์



                                                                                                       ครูนริศรา อุตมะโยธิน  รายงาน


                1. ชื่อเรื่อง             ผลการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ โดยใช้แบบฝึกการอ่านและเขียน

                2. ผู้วิจัย                 คณะครูโรงเรียนบำรุงวิทยา

                3. สภาพการปฏิบัติงานและปัญหาการวิจัย
                      การดำเนินการโครงการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ ปีการศึกษา 2547 จัดทำขึ้นเพื่อให้โรงเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ของโรงเรียนบำรุงวิทยา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  ปีการศึกษา 2547  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะขจัดปัญหานักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกโดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6 จะต้องอ่านหนังสือออกและเขียนได้  100 ภายในเดือนกุมภาพันธ์  พุทธศักราช 2558 ก่อนที่จะให้จบการศึกษา
                จากการสำรวจผมการเรียนของนักเรียนที่ผ่านมา พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ซึ่งน่าจะมีสาเหตุหนึ่งมาจากการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียน โรงเรียนจึงได้ทำการสำรวจคัดกรองนักเรียนที่อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งพบว่า โดยรวมนักเรียนอ่านไม่ออกร้อยละ 43.11 จากปัญหาและสาเหตุที่กล่าว โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ขึ้น โดยใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บุรีรัมย์ เขต 1

4.คำถามการวิจัย
                     การใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนส่งผลต่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนหรือไม่ อย่างไร
               
5.วัตถุประสงค์
                   เพื่อศึกษาผลการใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนที่มีต่อการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนบำรุงวิทยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

                6.ประโยชน์ที่จะได้รับ
                                1)  นักเรียนอ่านได้ร้อยละ 71% ขึ้นไป 
                                2)  ครูได้แบบฝึกการอ่านและการเขียนที่มีประสิทธิภาพ


                7.วิธีดำเนินการวิจัย
การวางแผน
1) เป้าหมาย ทดลองใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนเป็นเวลา 1 ภาคเรียน
2) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบำรุงวิทยา จำนวน 995คน
3) กิจกรรม/การปฏิบัติ 

                                            คัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน

                                                   วิเคราะห์เพื่อคัดแยกนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียน

     พัฒนานักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้สื่อ/นวัตกรรมอย่างหลากหลาย
    
    เก็บรวบรวมข้อมูลการพัฒนาก่อนดำเนินการระหว่างดำเนินการ และหลังสิ้นสุดโครงการ
    
    วิเคราะห์ สรุปและรายงานผลการดำเนินการพัฒนา

   เขียนรายงานเผยแพร่ และนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                          การจัดหาสื่อ/นวัตกรรม  มาใช้พัฒนานักเรียนแต่ละกลุ่มที่คัดแยกตามระดับสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียนนั้น  โรงเรียนบำรุงวิทยาเปิดโอกาสครูและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถผลิตสื่อ/นวัตกรรมมาใช้พัฒนานักเรียนแต่ละกลุ่มได้อย่างหลากหลาย  และได้จัดทำสื่อ/นวัตกรรมพัฒนานักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ไว้ สำหรับครูที่ไม่ได้จัดทำสื่อ/นวัตกรรมดังกล่าว ก็สามารถนำไปใช้สอนหรือพัฒนานักเรียนกลุ่มเป้าหมายของโรงเรียนได้ 

                โรงเรียนบำรุงวิทยาได้จัดทำสื่อ/นวัตกรรมสำหรับพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้  ตามระดับสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียนโดยยึดหลักการสอนจากง่ายไปหายาก  5 ขั้นตอน คือ

                ขั้นตอนที่ อ่านเขียนพยัญชนะและสระให้ถูก
                                ขั้นตอนที่  นำพยัญชนะและสระมาผูกให้เป็นคำ
                                ขั้นตอนที่  สอนการสะกดคำและแจกลูก
                                ขั้นตอนที่  สอนการผันเสียงให้ถูกตามวรรณยุกต์
                                ขั้นตอนที่  เรียนให้สนุกด้วยคำยากช่วยเสริม
              จากกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว  ได้นำมาจัดทำเป็นชุดการสอน สำหรับใช้สอนนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้  ชุด คือ
1. ชุดแบบฝึกการอ่านและสะกดคำพื้นฐาน  ประกอบด้วย แบบฝึกการอ่านและเขียนสะกดคำพื้นฐาน
แบบฝึกหัดการอ่านและเขียนสะกดคำพื้นฐาน  และแผนการสอนโดยใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนสะกดคำพื้นฐาน มีขั้นตอนการสอน ดังนี้
                            ขั้นที่ 1   ทบทวนการอ่านพยัญชนะ สระ การแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 หมู่ คือ อักษรกลาง  อักษรสูง และอักษรต่ำ เพื่อให้นักเรียนจดจำให้ได้ก่อนนำไปสู่การสอนอ่านประสมคำ  การอ่านสะกดคำ และการผันวรรณยุกต์
                                ขั้นที่ 2  สอนให้นักเรียนรู้จักอ่านประสมคำ ระหว่างพยัญชนะไทย  44 ตัว  และสระไทย 32 เสียง
                                ขั้นที่ 3  สอนให้นักเรียนอ่านสะกดคำพื้นฐาน ที่สะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกดของไทย คือ แม่กก แม่กง แม่กด แม่กบ  แม่กน แม่กม แม่เกย และ แม่เกอว
2. ชุดแบบฝึกการอ่านและผันวรรณยุกต์  ประกอบด้วย แบบฝึกการอ่านและผันวรรณยุกต์อักษรกลาง  แบบ
ฝึกการอ่านและผันวรรณยุกต์อักษรสูง  และแบบฝึกการอ่านและผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ
3.   ชุดแบบฝึกการอ่านและเขียนคำยาก ประกอบด้วย การอ่านและเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามตัวสะกด การ
อ่านและเขียนคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ การอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ การอ่านและเขียนคำที่มีอักษรนำ การอ่านและเขียนคำควบกล้ำ  ฯลฯ
                                        
                                                               
การปฏิบัติ ลงมือสอนตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนดไว้ในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2557

สังเกตการสอน
1. เ ครื่องมือวิจัย ได้แก่
1.1 แบบสอบถามคุณภาพการปฏิบัติงานโครงการนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้                                    
1.2 แบบทดสอบ สำหรับคัดแยกนักเรียนออกเป็นกลุ่มตามระดับสภาพปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้                                                               
1.3 แบบฝึกหัดการอ่านและสะกดคำพื้นฐาน แบบฝึกหัดการอ่านและผันวรรณยุกต์ แบบฝึกหัดการอ่านและเขียนคำยาก
                            2. การรวบรวมข้อมูล
                                   รวบรวมข้อมูลหลังจากมีการสอนเรียบร้อยแล้ว
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ
3.2 แบบทดสอบ วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ
3.3 แบบฝึกหัด วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ


ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                1.ข้อมูลนักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ก่อนเข้าร่วมโครงการ
                 ตาราง 1 แสดงข้อมูลนักเรียนที่อ่านไม่ออกก่อนเข้าร่วมโครงการ

สรุปข้อมูลนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ก่อนเข้าโครงการ
โรงเรียนบำรุงวิทยา


ที่

                   
                    ชั้น
จำนวนนักเรียนทั้งหมด
จำนวนนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้

รวม

คิดเป็นร้อยละ
(ห้อง)
1
2
3
4
5
1
ประถมศึกษาปีที่ 1
183
35
35
38
38
36
183
100
2
ประถมศึกษาปีที่ 2
204
17
33
28
21
22
121
59
3
ประถมศึกษาปีที่ 3
161
10
12
20
29
-
71
44.09
4
ประถมศึกษาปีที่ 4
160
-
6
15
5
-
26
16.25
5
ประถมศึกษาปีที่ 5
162
-
9
18
1
-
28
17.28
6
ประถมศึกษาปีที่ 6
125
-
-
-
-
-
-
-
รวม
995





429

จำนวนนักเรียนทั้งหมดที่มีอยู่จริง
995







คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ
100






43.11

                จากตาราง 1 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ อ่านได้ต่ำกว่า 71 %  เป็นจำนวน 429 คนคิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 43.11

                


ตาราง 2 แบบสอบถามคุณภาพการปฏิบัติงานโครงการนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ ครั้งที่ 1


ชั้น

จำนวนนักเรียน
ระดับความสำเร็จการเรียนการสอน ครั้งที่ 1

หมายเหตุ
ไม่ประสบผลสำเร็จ
ประสบผลสำเร็จน้อย
ประสบผลสำเร็จปานกลาง
ประสบผลสำเร็จมาก
ป. 1
183
-
-
-
183
ป. 2
204
2
15
28
76
ป.3
161
3
1
3
54
ป.4
160
1
1
4
20
ป.5
162
-
3
4
21
ป.6
125
-
-
-
-
รวม
995
6
20
39
354
ร้อยละ
100
0.60
2.01
3.91
35.57

    จากตาราง 2 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จจากการใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนที่มีต่อการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ โดยประสบผลสำเร็จมาก เป็นจำนวน 354 คน คิดเป็นร้อยละ 35.57


 ตาราง 3 แบบสอบถามคุณภาพการปฏิบัติงานโครงการนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ ครั้งที่ 1


ชั้น

จำนวนนักเรียน
ระดับความสำเร็จการเรียนการสอน ครั้งที่ 2

หมายเหตุ
ไม่ประสบผลสำเร็จ
ประสบผลสำเร็จน้อย
ประสบผลสำเร็จปานกลาง
ประสบผลสำเร็จมาก
ป. 1
183
-
-
-
183
ป. 2
204
1
3
3
114
ป.3
161
1
1
2
67
ป.4
160
1
1
1
23
ป.5
162
-
1
2
25
ป.6
125
-
-
-
-
รวม
995
3
6
8
412
ร้อยละ
100
0.30
0.60
0.80
41.40

                    จากตาราง 3  พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จจากการใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนที่มีต่อการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ โดยประสบผลสำเร็จมาก เป็นจำนวน 412  คน คิดเป็นร้อยละ 41.40


ตาราง 4  แสดงข้อมูลเปรียบเทียบนักเรียนที่อ่านไม่ออกก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าร่วมโครงการ

สรุปข้อมูลนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ ก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าโครงการ
โรงเรียนบำรุงวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
ที่

ชั้น
จำนวนนักเรียนทั้งหมด
จำนวนนักรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก่อนเข้าร่วมโครงการ
ผลการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและเขียนหลังเข้าร่วมโครงการ
หมายเหตุ
1
ประถมศึกษาปีที่ 1
183
183
0
2
ประถมศึกษาปีที่ 2
204
121
7
3
ประถมศึกษาปีที่ 3
161
71
4
4
ประถมศึกษาปีที่ 4
160
26
3
5
ประถมศึกษาปีที่ 5
162
28
3
6
ประถมศึกษาปีที่ 6
125
0
0
รวม
995
429
17
จำนวนนักเรียนทั้งหมดที่มีอยู่จริง
995
คิดเป็นร้อยละ
100
43.11
1.70
    จากตาราง 4  ผลการเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ พบว่าจำนวนนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก่อนเข้าร่วมโครงการมีความแตกต่างกับจำนวนนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ หลังเข้าร่วมโครงการ ดังนี้ ก่อนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 429 คนคิดเป็นร้อยละ 43.11 และหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 1.70 ตามลำดับ



2. สัมฤทธิ์ผลของโครงการ
    นักเรียนอ่านออกเขียนได้มากกว่าร้อยละ 71
               
สรุปผล
นักเรียนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ประสบผลสำเร็จมากจากการใช้แบบฝึกการอ่านและเขียน โดยนักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้มากขึ้น เกินกว่าร้อยละ 71 ยังเหลือนักเรียนที่ยังต้องพัฒนาการอ่านออกเขียนไม่ได้อีกจำนวน 17 คน ร้อยละ1.70  ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาให้นักเรียนได้อ่านออกเขียนได้ครบร้อยละ 100 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557

สะท้อนผล
 นักเรียนยังจำ ก ฮ และสระ ไม่ได้ ทำให้เรียนรู้ได้ช้า
 นักเรียนแยกไตรยางศ์ หรืออักษร 3 หมู่ยังไม่ได้
 มีเวลาสอนน้อย
 เมื่อนักเรียนอ่านสะกดคำ มักจะออกเสียงตัวสะกดผิด
 เด็กมีสมาธิสั้น
 เด็กพิเศษ

ข้อเสนอแนะ
ควรปรับปรุงรูปแบบของแบบฝึกหัด เป็นรูปเล่มที่มีความคงทนถาวร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น