วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เค้าโครงการวิจัย เรื่อง ผลการเรียนแบบ VARK MODEL ในวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบำรุงวิทยา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์



                               ครูสุภนิช สุดรัมย์ รายงาน

              1. ชื่อเรื่อง ผลการเรียนแบบ VARK MODEL ในวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4

                2. ผู้วิจัย นางสาวสุภนิช สุดรัมย์

                3. สภาพการปฏิบัติงานและปัญหาการวิจัย
               วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นวิชาพื้นฐานในการเรียนระดับสูงต่อไปและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้เรียนวิชานี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติที่ดี แต่จากการสำรวจปัญหาที่ผ่านมาพบว่า นักเรียนที่เรียนวิชานี้กลับมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ซึ่งน่าจะมีสาเหตุจากการเรียนการสอนที่เน้นการบรรยาย ซึ่งไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนที่แต่ละคนมีความแตกต่างกัน (Learning Differences) จากปัญหาและสาเหตุที่กล่าวมา ครูผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนใหม่โดยเน้นการเรียนแบบ VARK MODEL  เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

                4.คำถามการวิจัย
                การใช้การเรียนแบบกลุ่มปฏิบัติ หรือการเรียนแบบ VARK MODEL ส่งผลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือไม่ อย่างไร


                5.วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการใช้การเรียนแบบกลุ่ม หรือการเรียนแบบ VARK MODEL ที่มีต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4

6.ประโยชน์ที่จะได้รับ
                       1) นักเรียนมีความพึงพอใจและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น
                       2) ครูได้รูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ

                7.วิธีดำเนินการวิจัย
                   การวางแผน
        1) เป้าหมาย ทดลองใช้การเรียนแบบ VARK MODEL เป็นเวลา ….. ครั้ง
        2) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 41 คน
        3) กิจกรรม/การปฏิบัติ
3.1 วิเคราะห์เนื้อหาและออกแบบกิจกรรมตามรูปแบบ VARK MODEL
3.2 เขียนแผนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ แผน (ยุทธวิธีการเรียนรู้แบบ VARK MODEL, บูรณา
การภาษาอังกฤษและบูรณาการ ICT)
3.2 ประชุมร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมของแผนการสอนทั้ง 1 แผน

                     การปฏิบัติ ลงมือสอนตามแผนที่กำหนดไว้ในเดือนมกราคม 2557


                     สังเกตการสอน
                                 1. เครื่องมือวิจัย ได้แก่
                                    1.1 แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน
                                    1.2 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ แบบเลือกตอบจำนวน 20 ข้อ
                                 2. การรวบรวมข้อมูล
                                    รวบรวมข้อมูลหลังจากมีการสอนเรียบร้อยแล้ว
                                3.การวิเคราะห์ข้อมูล

                                   3.1 แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาความถี่และร้อยละ
                                  3.2 แบบทดสอบ วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ

                    สะท้อนผลการสอน ประชุมคณะกรรมการสังเกตการสอนเพื่อสะท้อนผลการสอนให้คำแนะนำ เพื่อนำไปปรับปรุงการสอน

                   ปรับปรุงแผนการสอน นำผลการสะท้อนผลการสอนไปปรับปรุงแผนการสอนเพื่อใช้สอนในคาบอื่น ๆ ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น