วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รายงานการวิจัยชั้นเรียน ผลการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ โดยใช้แบบฝึกการอ่านและเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบำรุงวิทยา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์



                                                                                                ครูแพรกาญจน์   เส็งนา   รายงาน

1. ชื่อเรื่อง   ผลการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ โดยใช้แบบฝึกการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
              2 ผู้วิจัย           นางแพรกาญจน์   เส็งนา

3. สภาพการปฏิบัติงานและปัญหาการวิจัย

                      การดำเนินการโครงการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ ปีการศึกษา 2547 จัดทำขึ้นเพื่อให้โรงเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ของโรงเรียนบำรุงวิทยา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  ปีการศึกษา 2547  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะขจัดปัญหานักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกโดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6 จะต้องอ่านหนังสือออกและเขียนได้  100 ภายในเดือนกุมภาพันธ์  พุทธศักราช 2558 ก่อนที่จะให้จบการศึกษา
   จากการสำรวจผลการเรียนของนักเรียนที่ผ่านมา พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ซึ่งน่าจะมีสาเหตุหนึ่งมาจากการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียน โรงเรียนจึงได้ทำการสำรวจคัดกรองนักเรียนที่อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งพบว่า โดยรวมนักเรียนอ่านไม่ออกร้อยละ 43.11 ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5  จำนวนนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก่อนเข้าร่วมโครงการมีดังนี้ ระดับ 1  จำนวน  คนคิดเป็นร้อยละ 69.23 ระดับ 2 จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 7.69 และระดับ 3 จำนวน 3 คนคิดเป็นร้อยละ 29.17ตามลำดับ จากปัญหาและสาเหตุดังกล่าว โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ขึ้น โดยใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บุรีรัมย์ เขต 1

4. คำถามการวิจัย

                     การใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนส่งผลต่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนหรือไม่ อย่างไร

5. วัตถุประสงค์

      เพื่อศึกษาผลการใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนที่มีต่อการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนบำรุงวิทยา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

6.ประโยชน์ที่จะได้รับ

                                1)  นักเรียนอ่านได้ร้อยละ 71% ขึ้นไป 
                                2)  ครูได้แบบฝึกการอ่านและการเขียนที่มีประสิทธิภาพ


              
                       7.วิธีดำเนินการวิจัย

การวางแผน
1) เป้าหมาย ทดลองใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนเป็นเวลา 1 ภาคเรียน
2) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนบำรุงวิทยาจำนวน40 คน
3) กิจกรรม/การปฏิบัติ

            การจัดหาสื่อ/นวัตกรรม  มาใช้พัฒนานักเรียนแต่ละกลุ่มที่คัดแยกตามระดับสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียนนั้น  โรงเรียนบำรุงวิทยาเปิดโอกาสครูและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถผลิตสื่อ/นวัตกรรมมาใช้พัฒนานักเรียนแต่ละกลุ่มได้อย่างหลากหลาย  และได้จัดทำสื่อ/นวัตกรรมพัฒนานักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ไว้ สำหรับครูที่ไม่ได้จัดทำสื่อ/นวัตกรรมดังกล่าว ก็สามารถนำไปใช้สอนหรือพัฒนานักเรียนกลุ่มเป้าหมายของโรงเรียนได้ 
โรงเรียนบำรุงวิทยาได้จัดทำสื่อ/นวัตกรรมสำหรับพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้  ตามระดับสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียนโดยยึดหลักการสอนจากง่ายไปหายาก  5 ขั้นตอน คือ
                ขั้นตอนที่ อ่านเขียนพยัญชนะและสระให้ถูก
                                ขั้นตอนที่  นำพยัญชนะและสระมาผูกให้เป็นคำ
                                ขั้นตอนที่  สอนการสะกดคำและแจกลูก
                                ขั้นตอนที่  สอนการผันเสียงให้ถูกตามวรรณยุกต์
                                ขั้นตอนที่  เรียนให้สนุกด้วยคำยากช่วยเสริม
            จากกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว  ได้นำมาจัดทำเป็นชุดการสอน สำหรับใช้สอนนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้  ชุด คือ

1.  ชุดแบบฝึกการอ่านและสะกดคำพื้นฐาน  ประกอบด้วย แบบฝึกการอ่านและเขียนสะกดคำพื้นฐาน
แบบฝึกหัดการอ่านและเขียนสะกดคำพื้นฐาน  และแผนการสอนโดยใช้แบบฝึกการอ่านและเขียนสะกดคำพื้นฐาน มีขั้นตอนการสอน ดังนี้

                     ขั้นที่ 1   ทบทวนการอ่านพยัญชนะ สระ การแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 หมู่ คือ อักษรกลาง  อักษรสูง และอักษรต่ำ เพื่อให้นักเรียนจดจำให้ได้ก่อนนำไปสู่การสอนอ่านประสมคำ  การอ่านสะกดคำ และการผันวรรณยุกต์

                     ขั้นที่ 2  สอนให้นักเรียนรู้จักอ่านประสมคำ ระหว่างพยัญชนะไทย  44 ตัว  และสระไทย 32 เสียง

                      ขั้นที่ 3  สอนให้นักเรียนอ่านสะกดคำพื้นฐาน ที่สะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกดของไทย คือ แม่กก แม่กง แม่กด แม่กบ  แม่กน แม่กม แม่เกย และ แม่เกอว

2.  ชุดแบบฝึกการอ่านและผันวรรณยุกต์  ประกอบด้วย แบบฝึกการอ่านและผันวรรณยุกต์อักษรกลาง 
แบบฝึกการอ่านและผันวรรณยุกต์อักษรสูง  และแบบฝึกการอ่านและผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ

3.  ชุดแบบฝึกการอ่านและเขียนคำยาก ประกอบด้วย การอ่านและเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามตัวสะกด
การอ่านและเขียนคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ การอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ การอ่านและเขียนคำที่มีอักษรนำ การอ่านและเขียนคำควบกล้ำ  ฯลฯ
                                                                                                       
การปฏิบัติ ลงมือสอนตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนดไว้ในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2557



สังเกตการสอน
        1. เครื่องมือวิจัย ได้แก่
1.1 แบบสอบถามคุณภาพการปฏิบัติงานโครงการนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้
1.2 แบบทดสอบ สำหรับคัดแยกนักเรียนออกเป็นกลุ่มตามระดับสภาพปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้                                                       
1.2 แบบฝึกหัดการอ่านและสะกดคำพื้นฐาน แบบฝึกหัดการอ่านและผันวรรณยุกต์ แบบฝึกหัดการอ่านและเขียนคำยาก
        2. การรวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลหลังจากมีการสอนเรียบร้อยแล้ว
        3. การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ
3.2 แบบทดสอบ วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ
3.3 แบบฝึกหัด วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1.  ข้อมูลนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 ที่อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ก่อนเข้าร่วมโครงการ

ตาราง 1  แสดงข้อมูลนักเรียนที่อ่านไม่ออกก่อนเข้าร่วมโครงการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5โรงเรียนบำรุงวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557   

สรุปข้อมูลนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้  ก่อนเข้าร่วมโครงการ
ที่
ชื่อ-สกุล
สภาพปัญหา
หมายเหตุ

ระดับ 1
ระดับ 2
ระดับ 3
1
เด็กชายกฤติกา              หนกระโทก

  


2
เด็กชายจารุกิตติ์            จานิกร
 



3
เด็กชายเฉลิมเกียรติ       ไวยากรณ์ 



4
เด็กชายธีรพจน์               ขุนศรี
 


5
เด็กชายธีรภัทร                อิ่มในเมือง
 


6
เด็กชายนราธิป                คงศักดาวงศ์
 


7
เด็กชายปิยวัฒน์              แก้วสังข์



8
เด็กชายภัคพล                 รามี



9
เด็กหญิงคีตภัทร            สมประกอบ
 


10
เด็กหญิงศศิกานต์          เจนจับ



11
เด็กชายนิติธร                ตรีประเคน
 


12
เด็กหญิงขนิษฐาบุญ      รัตกสิกร



13
เด็กชายนรุตม์               วะทวีก้านตง
 



รวม
9
1
3

ร้อยละ
69.23
7.69
29.17


จากตาราง 1  จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนบำรุงวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 พบว่า นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก่อนเข้าร่วมโครงการมีดังนี้ ระดับ 1  จำนวน  คนคิดเป็นร้อยละ 69.23  ระดับ 2 จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 7.69 และระดับ 3 จำนวน 3 คนคิดเป็นร้อยละ 29.17 ตามลำดับ


จากตาราง 2 คุณภาพการปฏิบัติงานโครงการนักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ ครั้งที่ 1 พบว่ามีนักเรียนที่ไม่ประสบผลสำเร็จ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 46.15 นักเรียนที่ประสบผลสำเร็จน้อย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 30.76  นักเรียนที่ประสบผลสำเร็จปานกลาง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 7.69  และนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จมาก  จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ 15.38

จากตาราง 3 คุณภาพการปฏิบัติงานโครงการนักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ ครั้งที่ 2 พบว่ามีนักเรียนที่ไม่ประสบผลสำเร็จ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 23.07 นักเรียนที่ประสบผลสำเร็จน้อย จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 23.07นักเรียนที่ประสบผลสำเร็จปานกลาง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 15.38และนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จมาก  จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ 38.46



ตาราง 4  แสดงการเปรียบเทียบนักเรียนที่อ่านไม่ออกก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าร่วมโครงการชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

สรุปข้อมูลนักเรียนที่ไม่ออกเขียนไม่ได้ ก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าโครงการ
ที่

ชื่อ-สกุล
ก่อนเข้าร่วมโครงการ
(อ่านไม่ออก)
หลังเข้าร่วมโครงการ
(อ่านไม่ออก)
หมายเหตุ
1
เด็กชายกฤติกา              หนกระโทก
2
เด็กชายจารุกิตติ์            จานิกร


3
เด็กชายเฉลิมเกียรติ       ไวยากรณ์ 


4
เด็กชายธีรพจน์               ขุนศรี


5
เด็กชายธีรภัทร                อิ่มในเมือง


6
เด็กชายนราธิป                คงศักดาวงศ์

7
เด็กชายปิยวัฒน์              แก้วสังข์


8
เด็กชายภัคพล                 รามี


9
เด็กหญิงคีตภัทร            สมประกอบ


10
เด็กหญิงศศิกานต์          เจนจับ


11
เด็กชายนิติธร                ตรีประเคน

12
เด็กหญิงขนิษฐาบุญ      รัตกสิกร


13
เด็กชายนรุตม์               วะทวีก้านตง


รวม
13
3

ร้อยละ
100
23.07


จากตาราง 4  ผลการเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 พบว่า ในจำนวนนักเรียน 40 คน มีนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก่อนเข้าร่วมโครงการมีจำนวน 13 คนคิดเป็นร้อยละ 100 หลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ  23.07   ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ามีนักเรียนที่อ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 10 คนคิดเป็นร้อยละ 76.92

2. สัมฤทธิ์ผลของโครงการ
โดยรวมนักเรียนอ่านออกเขียนได้มากกว่าร้อยละ 71 ส่วนนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้หลังการพัฒนามีนักเรียนอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 76.92

สรุปผล
นักเรียนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ประสบผลสำเร็จมากจากการใช้แบบฝึกการอ่านและเขียน โดยนักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้มากขึ้น ร้อยละ 76.92โดยในภาพรวมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 อ่านออกเขียนได้เกินกว่าร้อยละ 71 ยังเหลือนักเรียนที่ยังต้องพัฒนาการอ่านออกเขียนไม่ได้อีกจำนวน คน คิดเป็นร้อยละ 23.07   ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาให้อ่านออกเขียนได้ครบร้อยละ 100 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557

สะท้อนผล
นักเรียนยังจำ ก ฮ และสระ ไม่ได้ ทำให้เรียนรู้ได้ช้า
นักเรียนแยกไตรยางศ์ หรืออักษร 3 หมู่ยังไม่ได้
เมื่อนักเรียนอ่านสะกดคำ มักจะออกเสียงตัวสะกดผิด
เด็กมีสมาธิสั้น
เด็กพิเศษ

ข้อเสนอแนะ
ควรปรับปรุงรูปแบบของแบบฝึกหัด เป็นรูปเล่มที่มีความคงทนถาวร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น