วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แรงจูงใจสร้างได้ให้เด็กเรียน (Six Ways to Motivate Students to Learn)

                                                                                                         Annie Murphy Paul: เขียน
                                                                                          สุริยา เผือกพันธ์ : แปลและเรียบเรียง



คำสำคัญ: แรงจูงใจ (Motivation), การเรียนรู้ (Learning), หกวิธีการของการสร้างแรงจูงใจ (Six ways of Motivation)


                                   1.สร้างกิจกรรมที่ท้าทาย (Fine – turn the challenge) ที่สุดของการสร้างแรงจูงใจก็เพื่อการเตรียมนักเรียนให้พร้อมที่จะเรียน มันไม่ง่ายเลยเพราะมันเป็นสิ่งที่น่าเบื่อแต่ก็ไม่ยากเกินไปจนเกิดความคับข้องใจ มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและยากยิ่งที่จะทำให้นักเรียนอยู่ภายใต้กรอบที่เราต้องการและพัฒนาการเรียนรู้
                                   2.เริ่มต้นด้วยคำถามไม่ใช่คำตอบ (Start with the question, not the answer) การจดจำข้อมูลเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ การค้นพบวิธีการเพื่อไขปริศนา ด้วยการสืบค้นคำตอบด้วยวัสดุอุปกรณ์ ไม่ใช่เป็น fait accompli แต่เป็นคำถามเพื่อการสำรวจค้นหาคำตอบ


                                   3.สนับสนุนให้นักเรียนฝึกฝนตนเองให้ดีที่สุด (Encourage students to beat their personal best) การเรียนรู้บางอย่าง เช่น การจดจำข้อมูลในตาราง หรือรายชื่อหรือข้อเท็จจริง ดูเป็นเรื่องง่ายแต่ไม่น่าสนใจ ควรสนับสนุนให้นักเรียนแข่งขันกับตัวเอง สร้างข้อมูลเส้นฐาน (Baseline) โดยใช้สื่ออุปกรณ์ แล้วหาวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อพัฒนาการเรียนรู้นั้น (อาจดูจากความเร็วหรือความคล่องแคล่วที่เพิ่มขึ้น) ในแต่ละครั้ง
                                   4. แปลงการเรียนรู้นามธรรมให้เป็นรูปธรรม (Connect abstract learning to concrete situations) ศึกษาเรียนรู้จากกรณีศึกษา (Case – study method) ที่มีผลงานมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับงานธุรกิจ การแพทย์และกฎหมาย แล้วนำมาประยุกต์ใช้ด้วยการแปลงนามธรรมและแนวคิดให้เป็นรูปธรรม ด้วยการวางแผนเพื่อใช้ในชีวิตจริง ใช้ระเบียบวิธีเพื่อการวิเคราะห์และสร้างความรู้สึกร่วมในสถานการณ์ที่มีหุ้นส่วนหรือผู้ร่วมงานจริง ๆ


                                   5. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (Make it Social) การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้หรือให้นักเรียนได้มีโอกาสพบปะผู้คนที่สามารถแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้วยการค้นหาสิ่งที่สนใจหรือมีความสับสน การแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ และเปลี่ยนแปลงบทบาทไปมาระหว่างครูและนักเรียน เป็นกิจกรรมง่าย ๆ เพื่ออธิบาย สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ด้วยเสียงที่ดัง จะช่วยให้พวกเขาเข้าใจและจดจำได้ดียิ่งขึ้น
                                   6. เข้าใจเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง (Go deep) แต่ละครั้งที่ได้เรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ ครูต้องมีความเข้าใจสาระสำคัญของเนื้อหาวิชาอย่างลึกซึ้ง แล้วออกแบบการเรียนรู้โดยจากจุดหรือชิ้นงานเล็ก ๆ ของผู้เชี่ยวชาญคนใดคนหนึ่ง แล้วใช้สื่ออุปกรณ์ช่วยในการขยายองค์ความรู้ ด้วยการสืบค้นไปหาผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือออกไป อย่างไม่มีขีดจำกัดเท่าที่พวกเขาต้องการที่จะรู้ในสิ่งที่เขาอยากรู้
                                                      ......................................................................


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น