วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เมื่อดวงตาของฉันนั้นมืดมิด (Let there be light)

                                                                                                                      Bryan Walsh เขียน
                                                                                                               สุริยา เผือกพันธ์ แปลและเรียบเรียง


               “คนนับล้านคนในอินเดียตาบอดเพราะต้อกระจก การผ่าตัดง่าย ๆ ช่วยพวกเขาได้ ถ้าพวกเขารู้วิธีการรักษา”

คำสำคัญ : ต้อกระจก (Cataracts), Wonder Work Organization, First Sight Project, Operation

                แอนนิต้าและโซเนีย ซิงห์ (Anita and Sonia Singh) มองไม่เห็นมาแต่กำเนิด เหมือนกับผู้คนอีกนับล้านคนทั่วโลก เด็กหญิงทั้งสองเกิดขึ้นมาพร้อมกับต้อกระจก (congenital cataracts) แสงสว่างในดวงตาเธอถูกขโมยไป โดยมันค่อย ๆ เลือนหายไปจนมืดมิด ต้อกระจกที่มีมาตั้งแต่เกิด จะมีเลนส์ตาขุ่นมัวตั้งแต่คลอดออกมาและกลายเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเทาในที่สุด คนที่มีอาการเช่นนี้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นคนตาบอดไปตลอดชีวิต
                ประเทศอินเดียที่แอนนิต้าวัย 9 ขวบและโซเนียวัย 12 ขวบถือกำเนิดมา เป็นประเทศที่มีคนตาบอดประมาณ 12 ล้านคนของคนตาบอดทั่วโลก 39 ล้านคน แต่มีข่าวดีเกี่ยวกับคนที่เป็นต้อกระจกตั้งแต่เกิดคือ สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดง่าย ๆ ซึ่งแต่ละรายใช้เวลาเพียงเล็กน้อย ประมาณ 15 นาที โดยเสนอให้ทำการผ่าตัดตั้งแต่ผู้ป่วยยังเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่สมองจะสามารถกลับมารับรู้ได้ ในอินเดียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดอย่างน้อยที่สุดต้องประมาณ 300 เหรียญ ซึ่งเป็นเงินที่คนยากจนในชนบทต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหามาได้เท่านี้ เฉกเช่นแอนนิต้าและโซเนียที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ในชนบททางเบงกอลตะวันตก นั่นหมายความว่า สาเหตุจริง ๆ ของการตาบอดของพวกเขาคือ ความยากจน สำหรับครอบครัวของพวกเขา ความพยายามในการดูแลเด็กหญิงสองคนที่ไม่สามารถอยู่ตามลำพังและไปโรงเรียนได้นี้ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้พวกเราหลีกพ้นไปจากวงจรของความยากจนนี้ไปได้


                แต่มีองค์กร NGO ที่ชื่อว่า Wonder Work ได้พยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีสำนักงานอยู่ในนิวยอร์ค ได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นของประเทศที่กำลังพัฒนาให้การอบรมและเงินทุนแก่แพทย์ เพื่อให้สามารถทำการผ่าตัดในระดับพื้นฐานได้ รวมทั้งต้อกระจกนี้ด้วย ความแตกต่างขององค์กรนี้ก็คือ ได้สร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดคนทั่วไป องค์กร Wonder Work นำแอนนิต้าและโซเนียไปพบทีมผ่าตัดที่โรงพยาบาล Vire Kananda Mission Hospital ในเบงกอลตะวันตก ซึ่งสามารถรักษาต้อกระจกของพวกเขา ก่อนที่เด็กทั้งสองจะกลายเป็นคนตาบอดไปตลอดชีวิต ด้วยทุนเพียง 2 – 3 ร้อยดอลล่าร์ก็ทำให้การมองเห็นเป็นของขวัญแก่พวกเขา
                สำหรับโครงการนี้เรียกว่า ครั้งแรกที่มองเห็น (First Sight) ตากล้องเบรนด์ สเตอร์ตัน (Brent Stirton) ได้ติดตามแอนนิต้าและโซเนียจากหมู่บ้านเล็ก ๆ ไปที่เตียงผ่าตัด เขาเห็นข้อจำกัดจากความสนุกสนานของเด็กที่อยู่ในโลกมืดทั้งสอง เมื่อฝนได้โปรยปรายลงมายังนาข้าว โดยมีพ่อแม่ทำงานอยู่ในท้องนา สเตอร์ตันอาศัยอยู่เป็นเพื่อนกับเด็ก ๆ ในหมู่บ้านตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของการรักษา มือของเขาประคองกอดแต่ละคนบนที่นั่งในรถโดยสาร ที่นำเขาวิ่งไปบนถนนมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงของชีวิตและอาศัยอยู่จนระยะหลังการผ่าตัด เมื่อผ้าพันแผลรอบดวงตาของพวกเขาได้เปิดออกมา มันเป็นครั้งแรกที่ความมืดในดวงตาของเด็กหญิงทั้งสองได้หายไป

                ปัญหาความยากจนได้ถูกทดสอบอย่างมากมาย ด้วยความเย็นชาในใจของพวกเราได้หลบหนีไป ความเจ็บปวดจึงบางเบา กลุ่มองค์กร Wonder Work ได้ใช้เงินเพียง 2-3 ร้อยดอลล่าร์มาหักเหชีวิตของคนได้อย่างเห็นแตกต่างกว่าที่เคย หลังจากเด็กทั้งสองได้กลับไปที่พัก 2-3 เดือน พวกเขาคงมองเห็นได้เหมือนคนทั่วไป โดยกล้องของสเตอร์ตันจะเป็นพยานยืนยันว่า แสงแรกแห่งอรุณได้เริ่มขึ้นแล้ว
                                    ……………………………………………………………………

 Bryan Walsh. Let there be Light. Time. Vol.184, No. 15, October 20, 2014.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น