วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

                                                                                  Kurt W. Fischer and L, Todd Rose เขียน
                                                                                           สุริยา เผือกพันธ์ แปลและเรียบเรียง


คำสำคัญ: เครือข่ายทักษะการเรียนรู้ (Webs of Skill), การวิเคราะห์พลวัต (Dynamic Analysis) วิธีการพลวัต (Dynamic Approach)

                คลาร่า (Clara) และสก๊อต (Scott) วัย 7 ขวบเป็นเด็กเฉลียวฉลาด ที่มีความกระตือรือร้นอยากจะอ่านหนังสือให้คล่อง แต่ทั้งสองมีความแตกต่างกันมากในเรื่องทักษะที่เรียนรู้มาจากพ่อแม่ คลาร่า อ่านคำว่า “dog” “black” และ “Waffle” (ได้ดีเท่ากับคำอื่น ๆ อีกหลายคำ) อ่านอย่างมีจังหวะ ออกเสียงอักขระเพื่อเปล่งเสียงเป็นคำ ๆ ได้ ส่วนสก๊อต ก็อ่านคำเหล่านั้นได้ด้วยเช่นกัน แต่ติดขัดในเรื่องการใช้จังหวะและการออกเสียง โดยเฉพาะคำว่า “black” และ “Waffle” แต่สก๊อตมีพัฒนาการดี เมื่อได้รับการช่วยเหลือจากครู ครูนำเอาคำว่า “black”  มาให้อ่านออกเสียงเป็นจังหวะ ซึ่งสก๊อตอ่านได้ดีในขณะนั้น แต่อีกสองสามนาทีต่อมาเขากลับอ่านติด ๆ ขัด ๆ
                เพื่อทำความเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับตัวแปรที่มีผลต่อการเรียนรู้และการพัฒนา เราต้องค้นหารูปแบบที่อยู่เบื้องหลังการเรียนรู้ของคลาร่าและสก๊อต นักการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้รูปแบบเพื่ออธิบายความสลับซับซ้อนของภารกิจที่เผชิญหน้าอยู่ให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ส่วนใหญ่เน้นไปที่ปัจจัยเชิงเดี่ยวในการอธิบาย     ตัวแปรเกี่ยวกับรูปแบบ การกล่าวถึงความเฉลียวฉลาด ขั้นตอนการพัฒนาหรือปทัสถานในการพัฒนา คลาร่าดูจะฉลาดกว่าสก๊อต หรือคลาร่าอยู่ในระดับที่สูงกว่าสก๊อตหรือสก๊อตมีปทัสถานที่ต่ำกว่าเกณฑ์และคลาร่าอยู่ในเกณฑ์ตามปทัสถาน แต่ทำไม เมื่อสก๊อตอยู่กับครูเขาจึงเรียนรู้ได้ดี อาจมีปัจจัยที่มากกว่าหนึ่งปัจจัยที่เป็นเหมือนบันไดไต่ไปสู่การสร้างสมรรถนะ การมีความรู้และสติปัญญาได้เพิ่มขึ้น
                ในฐานะนักวิจัย ครูและพ่อแม่ เรามีความตระหนักอย่างมากและบ่อยครั้งที่นึกถึงความทรงจำอันเจ็บปวดว่า นักเรียนทั้งหมดไม่สามารถไต่ขึ้นไปบนบันไดอันเดียวกันได้ ทักษะทางวิชาการและสังคมของพวกเขาไม่ได้พัฒนาในเวลาเดียวกันหรือด้วยวิธีการอันเดียวกัน แต่พัฒนาด้วยวิธีการที่สลับซับซ้อนและมีความน่าสนใจมากกว่านี้ การวิเคราะห์พลวัต (dynamic analysis) ของคำถามที่ว่า นักเรียนสร้างทักษะการเรียนรู้หรือความเข้าใจในการเรียนที่แตกต่างกันอย่างไร คลาร่าและสก๊อตมีความแตกต่างกันและต่างคนต่างเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย คำถามมีว่า ตัวแปรที่มีส่งผลต่อการสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนได้เกิดขึ้น ในบริบทและสถานะทางอารมณ์และสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้นั้นเป็นอย่างไร



การสร้างเครือข่ายในการพัฒนา (Constructive Webs of Development)
                กรอบการทำงานที่เป็นทางเลือกเพื่อทำความเข้าใจการเรียนรู้และการพัฒนาคือ วิธีการที่เป็นพลวัต (dynamic approach) ที่มีส่งผลเหนือกว่าค่าสถิติเพียงตัวเดียว (The static one dimensional ladder) และสร้างแนวความคิดของการสร้างเครือข่ายทักษะการเรียนรู้ (Fischer & Bidell, 1995) ให้มองการเรียนรู้เป็นเหมือนการสร้างพลวัตของเครือข่ายที่สนับสนุนความเข้าใจ รูปแบบการเรียนรู้และพัฒนาในมิติที่มีขอบเขตเล็ก ๆ เป็นการพัฒนาด้านต่าง ๆ  (Domain) ด้วยศักยภาพของทักษะและการบูรณาการทัษะเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น การอ่านคำศัพท์   นักเรียนต้องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ  ที่มีความแตกต่างกันอย่างน้อย 2 ทักษะคือ ทักษะการดูภาพ เช่น การอ่านและการเขียนอักขระและคำศัพท์ และทักษะการวิเคราะห์เสียง เช่น จังหวะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ ตามแนวความคิดของการสร้างเครือข่ายทักษะการเรียนรู้อธิบายว่า นักเรียนสามารถรักษาสภาพการคงที่ของการจำและนำไปสู่การยอมรับรูปแบบของตัวแปรใหม่และหลีกเลี่ยงตัวแปรดั้งเดิม (Classical model)
                นักเรียนสร้างขอบเขตการเรียนรู้ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องในเครือข่ายทักษะการเรียนรู้ของเขา เช่น ภาพและเสียงเพื่อการอ่านคำศัพท์ต่าง ๆ ด้วยทักษะที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของทักษะที่มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ระหว่างด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น จำแนกตัวอักขระของพยัญชนะ ช่วยให้นักเรียนสร้างทักษะของการอ่านและการสะกดคำแต่ละคำ พิจารณาตามขอบเขตในตัวมันเองแล้ว ก็คล้ายกับขั้นบันไดของทักษะการเรียนรู้ในด้านนั้น ๆ อย่างไรก็ตามมันแตกออกเป็นกิ่งก้านสาขาที่เชื่อมไปยังด้านอื่น ๆ ที่มีมากมายหลายด้าน ไม่ใช่มีเพียงจด้านใดด้านหนึ่ง ในการอ่านพยัญชนะ เช่น ภาษาอังกฤษ ผู้อ่านจะเชื่อมโยงทักษะไปยังด้านการดูภาพและการวิเคราะห์เสียง เพื่อการอ่านที่มีประสิทธิภาพ
                การพัฒนาการสร้างทักษะการเรียนรู้ เป็นการรวมเอาทักษะแต่ละด้าน แตกกิ่งก้านสาขาและการเชื่อมโยงกัน ด้วยการทำให้นักเรียนแต่ละคนได้เห็นเครือข่ายการเรียนรู้ดังกล่าว และให้ทราบว่านักเรียนแต่ละคนจะมีเครือข่ายการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ไม่เหมือนการก้าวขึ้นบันไดที่เป็นไปทีละขั้น ๆ  เหตุการณ์และลำดับขั้นของการเกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นลำดับก่อนหลัง หรือไม่ก็ไม่ใช่เป็นเหตุการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวเป็นภาพรวมทั้งหมด
                ในขณะเดียวกัน บ่อยครั้งที่เครือข่ายการเรียนรู้แสดงออกให้เห็นถึงการจัดลำดับได้เหมือนกัน ธรรมดานักเรียนจะแสดงให้เห็นถึงขอบข่ายการเรียนรู้ที่เป็นกิ่งก้านสาขาและมีการเชื่อมโยงคล้าย ๆ กันได้ดีเท่า ๆ กับการเริ่มต้นและจบลงที่คล้ายกัน องค์ประกอบเหล่านี้ไม่มีให้เห็นในการเรียนรู้ในรูปแบบมิติเดียวแบบขั้นบันได ซึ่งผลักดันนักเรียนทุกคนเข้าสู่รูปแบบที่เข้มงวดแบบเดียวกัน (One size fits all) ความไม่ครอบคลุมพัฒนาการการเรียนรู้นี้ รูปแบบการวิเคราะห์พลวัตของเครือข่ายการเรียนรู้จะเป็นเครื่องมือที่ผลักดันให้ครูได้ทำการพัฒนาสูงกว่าปทัสถานและมีวิธีการสอนให้นักเรียนแต่ละคนอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนสองคนอยู่ห้องเรียนเดียวกัน เวลามีการทดสอบการปฏิบัติงานอาจมองเห็นคล้ายกัน แต่ความเข้มแข็งและปัญหาของพวกเขาอาจแตกต่างกันได้ เพราะพวกเขามีการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
                แรก ๆ ของการพัฒนการอ่าน อาจแสดงให้เห็นรูปแบบของตัวแปรการพัฒนาที่เป็นลำดับขั้นได้ ในการศึกษาวิจัยกลุ่มหนึ่งของพวกเราคือ กลุ่มวิจัยพัฒนาพลวัต (Dynamic Development Research Group) ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Knight & Fischer, 1992) ในการวิจัยนักเรียนจำนวน 120 คนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,2,3 อายุระหว่าง 6 – 8 ปี ให้ทำงานเป็นชุดจำนวน 6 ชุดด้วยคำศัพท์ที่มีความคุ้นเคยในบทเรียนที่พวกเขาเรียนในโรงเรียน ภารกิจทั้ง 6 เกี่ยวข้องกับคำศัพท์เดี่ยว ๆ ความหมายของคำ การแจกแจงตัวอักษร จังหวะการอ่าน การอ่านอย่างมีจังหวะ การเรียนรู้การอ่านและวิธีการอ่าน ในการทดสอบการปฏิบัติงานเหล่านี้ พวกเราบ่งชี้การพัฒนาเครือข่ายทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน สำหรับการเรียนรู้การอ่านคำโดด ๆ (Fischer,Knight & Van Parys, 1993) การศึกษาเครือข่ายการเรียนรู้แบบนี้ง่ายกว่าการศึกษาแบบบันไดตัวเดียว เพราะมันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ถ้ามีปฏิบัตงานมากกว่านี้ เครือข่ายทักษะการเรียนรู้อาจขยายขอบข่ายและการเชื่อมโยงกันเพิ่มขึ้นได้อีก
                         ...............................................................................................................................
http://www.ascd.org/publications/educational-leadership/nov01/vol59/num03/Webs-of-Skill@-How-Students-Learn.aspx


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น