วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

โรคตรากตรำ (Sacrifice Syndrome): วิธีฟื้นฟูและสร้างความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพล (Strategies for Renewal and Building Resonant Relationship)



                                                            Richard Boyatzis,PhD-Case Western Reserve University : บรรยาย
                                                                                               สุริยา  เผือกพันธ์ : ถอดความแปลและเรียบเรียง


คำสำคัญ โรคตรากตรำ (Sacrifice Syndrome), ความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพล (Resonant Relationship), วงจรการฟื้นฟู (Renewal Cycle), ระบบประสาทซิมพาธิติค  (Parasympathetic nervous system


จากการสังเกตการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าเราจะอยู่ในตำแหน่งภาวะผู้นำ ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีอิทธิพลก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในเวลานั้นคือ ความเครียด (Stress)  เราเริ่มที่จะทำให้เกิดอาการอย่างหนึ่งขึ้นได้ สิ่งนั้นเรียกว่า โรคตรากตรำ (Sacrifice Syndrome)

เรารู้ว่าสิ่งที่เราชอบคืออะไร เราได้ใช้เวลาในเย็นวันสุดสัปดาห์ด้วยการอยู่กับบ้านด้วยความรู้สึกว่าเหมือนมีใครมาดูดเลือดคุณออกจากตัวเรา  และเราสามารถดื่มได้อย่างอิสระ ถ้าไม่ชอบเหล้าก็อาจเป็นน้ำชา    แก่ ๆ ปัญหาของโรคตรากตรำ (Sacrifice Syndrome) ที่ผมพูดถึงนี้ นำเราไปสู่การรับรู้ทางปัญญาและรู้ความบกพร่องทางอารมณ์ ไม่งั้นเราจะไม่สามารถยืนหยัดอยู่ในสถานะภาวะผู้นำได้

                ดังนั้นมันไม่สำคัญว่า เราจะมีประสิทธิภาพเพียงใด มันจะลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้ เราจะมาพูดถึงงานวิจัยที่มากระตุ้นระบบประสาทซิมพาธิติค  (Parasympathetic nervous system) ด้วยวงจรการฟื้นฟู (Renewal Cycleมันเป็นวิธีการที่มาช่วยฟื้นฟูรักษาความสมดุลของโรคตรากตรำที่เกิดจาก การติดเชื้อความเครียด (Chronic stress) ที่ทำให้เราสารมารถสร้างสมรรถนะในการทำงานกลับคืนมาได้อีก

                งานวิจัยทางการแพทย์และทางจิตวิทยาช่วยให้เราเข้าใจถึงประสบการณ์ที่นำมาใช้ในกระบวนการฟื้นฟู ในระบบประสาทพาราซิมพาธิติค ตัวอย่างเช่น ในเรื่องสัมมาสติ (Mindfulness) เรารู้ว่าการทำสมาธิจะช่วยได้ในเรื่องนี้ เรามีงานวิจัยมากมายที่ศึกษาเรื่องนี้มากว่า 30 ปี ตัวอย่างเช่น ทำสมาธิเพียง 15 – 20 นาทีต่อครั้ง แต่ละครั้งจะช่วยเราได้ โดยทำอาทิตย์ละ 3 ครั้ง เมื่อพวกเขาเรียนรู้การทำสมาธิ จะเป็นการสอนเองว่า เราควรทำ 2 ครั้งต่อวัน จากการศึกษา 2 กรณี พบว่าพลังของโยคะ ก็ช่วยได้เช่นกัน


งานวิจัยสองกรณีแสดงให้เห็นถึงพลังของไท้เก๊ก (Tai Chi)  ผมเดาเอาว่า รูปแบบอื่น ๆ ของศิลปะป้องกันตัว (Martial Arts) ก็เช่นกัน สมาธิเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางของศิลปะการต่อสู้ มันไม่ใช่อยู่ที่การเต๊ะก้นกัน ผมคิดว่ามันเป็นการกระตุ้นที่พอเหมาะกับระบบประสารซิมพาธิติค สำหรับการสวดมนต์ มีการศึกษาสองกรณีที่แสดงให้เห็นว่า

เมื่อเราสวดมนต์ ด้วยรักในพระเจ้า มันจะเปลี่ยนความสนใจของเราไปสู่ระบบการฟื้นฟูถ้าเราสวดมนต์ด้วยจิตใจพยาบาทในพระเจ้า จริง ๆแล้วมันเป็นการกระตุ้นให้เกิดความเครียด

ผมคิดว่างานจำนวนมากในมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ อิสตันบูลและบางครั้งในบาร์เรน เพื่อนชาวอิสลามของผมได้ทำในเวลาที่พวกเรามีประเพณี Judeo – Christian ถ้าเป็นคนที่เคร่งครัดจะทำถึงสามครั้งต่อวัน ยังไม่เต็มถึงห้าครั้ง การทำสามครั้งต่อวันของพวกเขา เป็นการทำสมาธิอยู่กับการรักในพระเจ้า อย่างไรก็ตาม นักบวชใน Judeo – Christian อยากให้เราสวดสองครั้งต่อวัน แต่พวกเราก็ลืมมันบ่อย ๆ


                                                            "Richard Boyatzis"

   (ภาพจาก https://www.google.co.th/search?q=Richard+Boyatzis+image&espv)

ดังนั้น การฝึกสัมมาสติ จะให้ผลอย่างลึกซึ้ง เห็นได้จากงานวิจัยและความนิยมของคน อีกอย่างหนึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่คือความเมตตากรุณา (Compassion) การสร้างความสัมพันธ์ด้วยความรัก มีพลังอย่างมาก เหมือนจะเป็นการกระตุ้นให้มีการฟื้นฟู การที่เรามีสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงที่เราสามารถให้กำลังใจมันได้ สุนัข แมว ม้า ลิง แต่ไม่สามารถทำกับปลาได้ เพราะมันอยู่กันเป็นกลุ่ม การทำเช่นนี้มันดูเหมือนว่าในการให้กำลังใจสัตว์เลี้ยงเป็นการสร้างอารมณ์ความเห็นอกเห็นใจที่มีจุดมุ่งหมายไปสู่การฟื้นฟู

การอาสาและทำเพื่อคนที่ด้อยกว่าเรา เป็นการช่วยดูแล กระตุ้นเตือน มันเป็นบางอย่างที่บ่งชี้จากผู้ให้ที่อาวุโสกว่า โดยเฉพาะคนทำงานทางสังคมและพยาบาล  ซึ่งเป็นงานอาชีพที่จะต้องให้ความเมตตาอย่างมาก  จริง ๆ พวกเขาจะต้องเหนื่อยล้ากับการให้ความเมตตา ซึ่งเป็นอาการที่จะนำไปสู่ความเครียดได้  ภรรยาของผมที่เป็นครูในโรงเรียนอนุบาลและประถมศึกษามากว่า 20 ปี ผมหมายถึง ได้สังเกตเธอบ่อย ๆ เวลาทานข้าวเย็น หรืออยู่ด้วยกันกับเพื่อนของเธอ มันน่าสนใจตรงที่ พวกเขาไม่ได้มีเด็กมากมายอะไร แต่บางครั้งจะมีความเหนื่อยล้าจากการมีเมตตากับเด็ก อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อคุณมีเด็ก ๆ เล็ก ๆ อยู่รายรอบตัวคุณตลอดทั้งวัน

ผมเพียงต้องการอ้างถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือน เพราะว่าปกติความเมตตาช่วยเราได้ก็จริง แต่เราอาจใช้มากเกินไป รู้สึกมีความหวังในอนาคต เกี่ยวกับการกระตุ้นกระบวนการฟื้นฟูระบบประสาทพาราซิมพาติติค แม้ว่าในหนังสือ Resident Leadership ที่ตีพิมพ์ในปี 2005 ผมจะไม่ได้ใช้มัน แต่เราสามารถที่จะเน้นไปที่สัมมาสติ ความหวังและความเมตตาได้

 ในงานวิจัยในสามปีหลังมานี้ ผมคิดว่ามันได้สร้างความมั่นใจอย่างมาก ที่ทำให้เรา หัวเราะ เบิกบานและได้นำกระบวนการฟื้นฟูในร่างกายคนมาใช้ด้วย ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่เราพูดได้ขณะนี้คือ มันเป็นข่าวดี

นั่นใช่ แม้ว่าจำนวนของความเครียดที่มีในตัวของเราซึ่งเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เราสามารถบรรเทามันได้หรือทำให้มันหายไปได้ ด้วยการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ วัน การปฏิบัติในแต่ละครั้งจะช่วยได้ในบัดนั้น โดยเราไม่ต้องรอคอยจนกว่าจะถึงวันสุดสัปดาห์และจะต้องหาอะไรที่มาช่วยในเวลาที่ พักผ่อนนาน ๆ

ด้วยเหตุผลสองอย่าง อย่างที่หนึ่งการพักผ่อนไม่ได้ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู เราได้พักแต่มันไม่ได้ช่วยให้มีการฟื้นฟู อย่างที่สองถ้าเราทำงาน หกสิบหรือแปดสิบชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือทำงานหลายอย่าง (Multiple jobs) แล้วมีวันหยุดสองวัน สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่เราสะสมมา มันทำร้ายร่างกายและจิตใจของเรา เราจะใช้เวลาถึง 3 สัปดาห์ก็ไม่ได้ทำให้เรากลับคืนมาเป็นปกติได้

ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เรามีความหวังก็คือ การทำสมาธิประจำวัน ดังที่ผมได้ให้วิธีการปฏิบัติที่บ้านไปแล้ว


ในอีกบทเรียนหนึ่งเราจะพูดกันคือ อย่างหนึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถทำในที่ทำงานเพื่อกระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงาน  อย่างที่สอง เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ถ้าสังเกตเห็นได้ว่า เราหมดความหวัง ทั้งสองมันจะช่วยให้เรามีความหวัง อย่างที่เราพูดกันในตอนต้น จะทำให้เราได้สร้างความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประสบการณ์นี้จะช่วยให้เราฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ

ดังนั้น ความเครียดเรื้อรังเป็นปีศาจติดตามตัว เป็นเหตุที่ทำให้เราลื่นไถลไปสู่ความสัมพันธ์แบบไม่ลงรอย (Dissident) แล้วปล่อยมือ (Disengage) จากคนที่เราดูแล กับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และศรัทธาของเราเอง

 ความเครียดเรื้อรังเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความสามารถน้อยลง ผมอยากจะเรียกร้องให้เราพิจารณา ด้วยการทำแบบฝึกหัดที่มีในบทเรียนนี้ บันทึกประจำวันว่า สิ่งที่เราควรทำจริง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องรอมันจะสายไป ทำเดี๋ยวนี้ แต่ในแต่ละวันที่สิ้นสุดลง ให้กลับไปเขียนเหตุการณ์ เริ่มตั้งแต่เราตื่นนอน ไปจนถึง เข้านอน และเขียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างชั่วโมงแต่ละชั่วโมงที่ทำให้เราเครียด ถูกรบกวนจากความเครียด หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละชั่วโมงที่จะนำมาฟื้นฟู หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่ทำให้คนมี ความเจ็บป่วย ผมหมายถึง ปัญหาที่มารบกวน ที่จะทำให้เราเห็นสาเหตุที่จะนำมาแก้ไขหรือฟื้นฟู สิ่งเหล่านี้มันขัดแย้งกับบางสิ่งที่ทำให้เราสนุกสนาน มีความมุ่งมั่น มีความหวัง ความเมตตากรุณา ให้ทำอย่างนี้ในแต่ละวันไปจนวันสิ้นสุดสัปดาห์

และในวันสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองลองนั่งนึกย้อนหลังนาน ๆ แล้วถามตัวเองว่า สิ่งที่เราสามารถทำให้แตกต่างไปในแต่ละวันเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสมดุลคืออะไร  เพราะเราเป็นคนที่ตัดสินใจเองได้ในแต่ละวัน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น