วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

ห้องนิ่งเงียบ (Classroom of Silence)




                                                                                                                                         
                         (ภาพจาก https://www.google.co.th/search?q=Eleanore+Hargreaves)


                                                                                             สุริยา เผือกพันธ์ : แปลและเรียบเรียง


                “Clare talks to Dr. Eleanore Hargreaves : How do we learn ?- University of London


เราทุกคนมีวิธีเรียนเหมือนกันหมดใช่ไหม ?

เป็นคำถามที่ชวนสงสัย ดร. อีลีนอร์ ฮาร์กรีพส์ (Eleanore Hargreaves) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) อธิบายว่า มันขึ้นอยู่กับว่าผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายในการเรียนอย่างไร เรียนเพื่อให้มีความรู้จะเรียนด้วยการย่อยและดูดซับความรู้ จะเรียนรู้ทักษะก็ต้องลงมือทำและฝึกฝน เรียนเพื่อที่จะเข้าสังคมและเป็นคนมั่งมีก็มีวิธีของมัน เรื่องนี้องค์การยูเนสโก (UNESCO) กล่าวถึงจุดประสงค์ของการเรียนรู้ว่ามี 4 จุดประสงค์คือ เรียนเพื่อรู้ เรียนเพื่อทำ เรียนเพื่อการมีชีวิตร่วมกันและเรียนเพื่อที่จะเป็น

ถ้าเราต้องการเรียนเพื่อการทำบางอย่าง อาจใช้วิธีการทำตามบางคนที่ทำสิ่งนั้นได้ดี โดยฝึกฝนทีละเล็กทีละน้อย เรียกว่า Apprentice model ซึ่งอาจต้องมีการจดจำข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับทักษะด้วย ถ้าต้องการเรียนรู้เพื่อการเป็นคนดี มีความเมตตากรุณา อาจต้องมีวิธีการแบบ Apprentice model มีการวิพากษ์วิจารณ์ เรียนรู้จากการอ่าน การประชุมร่วมกับคนเหล่านั้น ศึกษาประวัติของพวกเขา หรือผ่านกิจกรรมการสนทนากับคนที่อยู่รายรอบ ทำการค้นคว้าและสะท้อนความคิดเห็นจากการปฏิบัติของเราและการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องใช้ประกอบการเรียนรู้ในแนวนี้
ดังนั้น เมื่อเราเรียนรู้นั้น จะเรียนด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับว่า เรามีจุดประสงค์ในการเรียนรู้อย่างไร จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต่างกันทำให้มีการเรียนรู้ที่ต่างกัน เป็นเงื่อนไขเฉพาะที่จำเป็นของการเรียนรู้ และแน่ละมันอยู่ที่ว่าอะไรคือสิ่งที่เราจะเรียนรู้ด้วย


           (ภาพจากhttps://www.google.co.th/search?q=Eleanore+Hargreaves)

ดังนั้นรูปแบบ (Model) แรก ถ้าเราอยากจะเรียนรู้การจดจำข้อมูลข่าวสาร เราต้องมีสถานที่ที่เงียบที่สุด ที่จะทำให้เรามีสมาธิและไม่มีใครมารบกวน ลักษณะนี้มันเป็นรูปแบบโดยทั่วไปที่เห็นได้ง่าย ๆ ห้องเรียนแบบนี้รัฐบาลหลายแห่งใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนรู้
แต่ถ้าเราอยากจะเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นอะไร หรือการมีชีวิตร่วมกับผู้อื่น แล้วใช้ห้องเรียนแบบที่ว่า เราจะมีความยากลำบากในการเรียนรู้เพื่อการบรรลุจุดประสงค์เหล่านั้น โดยเฉพาะถ้าเรามาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน
อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้จุดประสงค์ของการเรียนรู้ทุกรูปแบบมาใช้เพื่อการเรียนรู้ น่าจะทำให้การเรียนรู้ได้ดีขึ้น
โดยทั่วไปเราจะเรียนรู้ได้ดีขึ้น เมื่อเรามีความสะดวกสบาย มีงานวิจัยในห้องเรียนชาวปาเลสไตน์ (Palestinian Classroom) 2 กรณีศึกษา พบว่า เมื่อนักเรียนรู้สึกหวาดกลัว (felt fearful) เป็นที่ประหลาดใจอย่างยิ่งว่า หลาย ๆ ครั้งเขาจะไม่เปิดใจรับการเรียนรู้ (their minds shut down)

ดังนั้น แม้ว่าเราจะเคยพยายามจดจำบางสิ่ง ถ้าอยู่ในภาวะความกลัว จะทำให้เรียนรู้ได้ไม่ดี แน่ละถ้าเราอยู่ใกล้คนที่น่ากลัว การเรียนรู้แบบใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นย่อมไม่ประสบความสำเร็จ แม้แต่การเยาะเย้ยถากถาง ซึ่งมีอยู่ในโลกของความเป็นจริง ก็ไม่ช่วยให้ห้องเรียนเป็นสถานที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบการใช้ชีวิตร่วมกันและเรียนรู้เพื่อความรุ่งเรือง
โดยทั่วไปด้านหลักของห้องเรียนชอบความเงียบ (Value Silence) คนส่วนมากในห้องเรียนจึงเป็นคนเงียบ ๆ บางครั้งการทำตาม เชื่อฟังก็เป็นค่านิยมด้วย การวิพากษ์วิจารณ์ ความหลากหลาย การคิดด้วยตนเอง การสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เป็นข้อจำกัดของการเรียนในห้องเรียนแบบนี้

ในประเทศประชาธิปไตยก็มีห้องเรียนแบบนี้ แบบเผด็จการนิยม


         (ภาพจากhttps://www.google.co.th/search?q=Eleanore+Hargreaves)

มีทฤษฎีมากมายที่กล่าวถึงว่า ทำไมจึงมีห้องเรียนแบบนี้ คนที่เป็นรัฐบาลส่วนใหญ่มาจากคนในสังคมชั้นสูง พวกเขามีชีวิตที่มั่งคั่ง เป็นคนที่มีอภิสิทธิ์ทางการศึกษา ตัวอย่างมีให้เห็นในโรงเรียนระดับประถมศึกษาของรัฐบาลในบางประเทศ

ผู้นำมีจุดประสงค์ที่จะนำทั้งความคิดและนำชีวิตคนอื่น ๆ  ในระบบโรงเรียนของรัฐบาลที่ไม่ต้องจ่ายเงินมาก ทำให้คนมีความเชื่อว่า ความยากจนของประชาชนเป็นบาปติดตัวมาแต่กำเนิด (Inherently evil) พวกเขาต้องเชื่อฟังและทำตามคนชั้นสูง มันง่ายต่อการควบคุม ดังนั้น โลกแห่งละครหรือชีวิตจริงมันมีอยู่ในระบบโรงเรียน เรามีนักเรียนอย่างน้อย 30 คนต่อห้อง ในหลายประเทศก็เป็นเช่นนี้ จำนวนดังกล่าวมีมากเป็น 2 หรือ 3 เท่าต่อครู 1 คน

ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือ การบังคับให้เชื่อฟังและทำตามครู
ในที่สุด เราต้องกลับมาคิดใหม่ถึงรูปแบบทั้งหมดว่า ถ้าไม่อยากเป็นเผด็จการจะทำอย่างไร
แน่ละทุกคนเห็นด้วยที่การเรียนรู้จะต้องมีครู ที่มีอำนาจหน้าที่เป็นที่เคารพของนักเรียน แต่คำถามมีว่า หน้าที่ครูคืออะไร
หลาย ๆ กรณีต้องไปบังคับในสิ่งที่เด็กไม่เลือก โรงเรียนไม่ได้ถามนักเรียน เกี่ยวกับว่าเขาจะเรียนอะไรและอย่างไร ใครจะสอนพวกเขา

กฎเกณฑ์ ความชอบ การสุ่มถาม ความมีอิสระของครู เหล่านี้ เป็นอำนาจหน้าที่ของครู ที่จะทำให้ห้องเรียนแบบเผด็จการลดลงไป อำนาจหน้าที่นี้ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ในทางกฎหมาย แต่เป็นอำนาจหน้าที่ทางสำนึกในวิชาชีพ ทักษะความชำนาญต่าง ๆ ของครู
ขณะเดียวกัน นักเรียนก็ต้องมีการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของเขาควบคู่ไปด้วย มีคำที่เหมือนกันที่น่าสนใจมากคือ อำนาจหน้าที่ (Authority) กับความมีอำนาจหน้าที่ (Authorship)

ถ้าเราพัฒนานักเรียนให้พวกเขามีความมีหน้าที่ อำนาจหน้าที่นั้นจะมาถ่วงดุลกับอำนาจหน้าที่ของครูอีกทางหนึ่ง


ปล. Dr. Clare Brooks อาจารย์ผู้สอนในรายวิชา Education in the Future : University of London


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น