วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

ว่าด้วยการเป็นครู(Being a teacher)
ตามทรรศนะของจอห์น แมคบีธ


(ภาพจาก www.educ.cam.ac.uk)


                                                                         Professor John MacBeath : บรรยาย
                                                                                      สุริยา เผือกพันธ์ :  ถอดความและเรียบเรียง

ครูเป็นใคร ใครเป็นครู ?????
            อะไรคือ ตัวบ่งบอกถึงการเป็นครู ปัจจุบันเราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง เกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอน
           และในฐานะที่เราเป็นครูลองย้อนกลับไปสมัยที่เราเป็นนักเรียน ประสบการณ์ใดที่มีพลังมากที่สุดสำหรับเรา และถ้าคิดไปถึงเรื่องการสอนของพวกเรา ประสบการณ์ใดที่ทรงพลังที่สุด
            สิ่งที่จะบ่งบอกถึงการเป็นครูมีอยู่ด้วยกันแปดด้าน แต่สิ่งแรกที่จะกล่าวถึงคือ เรื่อง การวางแผน ครูจะต้องทำก่อนล่วงหน้า เพื่อบอกให้รู้ถึงวิธีการที่จะสอน  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การทำให้เกิดความเข้าใจอันลึกซึ้งในสิ่งที่ครูได้สอน เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่ความต้องการที่จะสร้างความเข้าใจ ที่แท้จริงตามที่หลักสูตรกำหนดเอาไว้ รวมทั้งการประเมินผล  อันเป็นการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ ประเมินผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา เมื่อการเรียนรู้สิ้นสุดลงในแต่ละช่วงเวลา
            ดังนั้น ความแตกต่างของการประเมินผลประเภทต่าง ๆ  เราจะต้องมองให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และทำอย่างมืออาชีพ ทำอย่างไรคือ การทำอย่างมืออาชีพ และวิธีการใดที่จะจัดลำดับขั้นตอนการสอนทั้งหมดที่มีองค์ประกอบความแตกต่างกันให้สัมพันธ์กัน อันจะทำให้เราเป็นครูที่มีประสิทธิภาพ


            เราจะเริ่มจากคำถาม  3 ข้อ โดยจะไม่พูดถึงสิ่งที่เราไม่เคยสอนและไม่เคยเรียนรู้มาก่อน ดังนั้น คำถาม 3 ข้อดังกล่าวคือ อะไรที่เรารู้แล้ว อะไรที่เรายังไม่รู้และอะไรที่เราอยากจะรู้ และเมื่อเราคิดถึงผู้เรียน พวกเขาเป็นใคร อะไรคือสิ่งที่พวกเขาเคยรู้ เคยรู้สึกและเคยทำมาแล้ว
            เพราะว่าพวกเขาไม่ได้เดินเข้าห้องคล้าย กระดานชนวนที่ว่างเปล่า พวกเขามากับความรู้สึก ความรู้และทักษะและในฐานะที่เป็นครู เราคิดว่าอะไรที่จะสามารถทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย จะมียุทธวิธีใดที่จะส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ ดำเนินการภายใต้แนวคิดทฤษฎี
            อะไรคือ ทฤษฎีการเรียนรู้ และสิ่งสำคัญคือ อะไรคือ สิ่งที่ครูจะต้องเข้าใจและหมายมั่นปั้นมือ นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งคือ หลักสูตร อะไรคือ สิ่งที่เราจะต้องเข้าใจจากหลักสูตร มันมีความหมายอย่างไร มีวิธีการหลากหลายในการทำความเข้าใจหลักสูตรใช่ไหม อะไรคือ วิถีทางที่แตกต่างกันเหล่านั้น  และเราจะทำการเชื่อมโยงหลักสูตรที่เขียนไว้กับการพัฒนาและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร
ดังนั้น ถ้าเราเริ่มต้นด้วยการทำแผนเป็นสิ่งแรก ในแผนนั้นจะประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย (formulating) การเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ (engaging) แผนการสอน (planning)  การจัดการทรัพยากร (organizing) การพัฒนายุทธวิธี (developing)  การบอกถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (communicating) เป็นต้น
            ดังนั้น คำกริยาทั้ง 6 คำได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย  การเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  แผนการสอน   การจัดการทรัพยากรการ พัฒนายุทธวิธีและการบอกถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน     เป็นกุญแจและหัวใจสำคัญที่ครูจะทำการสอนและประเมินผล


            ต่อไปเราจะพูดถึงจุดประสงค์ของ การประเมินผลที่แตกต่างกัน 3 วิธี คือ การประเมินเพื่อวินิจฉัย (the diagnostic purposes of assessment) การประเมินระหว่างเรียน  (the formative purposes of assessment) และการประเมินผลรวม (the summative purposes of assessment) ซึ่งทั้ง 3 วิธีมีความสำคัญในการให้ผลสะท้อนและความหมายของการสะท้อนผลนั้น
และจากนั้นจะพัฒนาความสัมพันธ์ กับคนที่เราทำงานด้วยในแต่ละวันเป็นพื้นฐาน คนเหล่านั้นคือคนที่มีความสำคัญต่อเรา เช่น  นักเรียนของเรา เพื่อนร่วมงานของเรา ครอบครัว ชุมชนรอบข้างรวมถึงผู้กำหนดนโยบายด้วย ผู้นำโรงเรียนและคนซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ภายในท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่รัฐ
อะไรคือวิธีการที่จะนำไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพอีก เราจะรู้จักกฎเกณฑ์ทางด้านคุณธรรม ความหมายของสิ่งที่ต้องสร้าง ความรับผิดชอบของผู้บริหารตามกฎหมาย หลักปรัชญาการสอน การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนวิชาชีพที่ร่วมแบ่งปันความคิด คุณค่าที่เราเรียนรู้จากผู้อื่น การมองหาเครื่องมือจากเพื่อน ร่วมงาน แม้กระทั่งจากนักเรียน ถึงการที่จะพัฒนาการสอนและแผนการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างไร


            และท้ายที่สุด มีคำถามสำคัญซึ่ง โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยาได้ถามไว้ว่า อะไร คือสิ่งที่เราต้องการจากนักเรียนของเรา
            ส่วนหนึ่งที่สำคัญที่เราเข้าใจคือ  ความรู้ (Knowing) และความสามารถ ความรู้ที่มี เป็นตัวบ่งชี้ครูที่มีมากเพียงพอที่จำทำให้เด็ก ๆ ดำรงชีวิตอยู่ได้ มันเป็นมรดกอันยิ่งใหญ่มอบให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป
มีคำถามอะไร เพิ่มเติมจากนี้ เพื่อพวกเราในฐานะครูเพื่อนักเรียนอีกไหม  คิดอีกครั้ง ในสิ่งที่เราคุ้นเคย เช่น การเรียนรู้ การสอน หลักสูตรและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านี้
ดังนั้น แม้ว่าเราจะย้อนกลับไปและมองไปที่บางสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น พวกเราอาจคิดไปถึงสิ่งสุดท้าย  ซึ่งถามเราเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องผลสะท้อน เกี่ยวกับการทบทวนและเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยส่งเสริม เพิ่มพูนและท้าทายความเข้าใจของพวกเรา

........................................................................................................................................................

John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น