วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

เรียนรู้จากสังคม: ทฤษฎีการเรียนรู้สังคมสู่การพัฒนายุทธวิธีการสอน (Keep it Social: Using Social Learning Theory to Improving Instructional Strategies)





                                                                                                                                   Alex Hatcher : เขียน
                                                                                                        สุริยา เผือกพันธ์ : แปลและเรียบเรียง

คำสำคัญ : เรียนรู้จากสังคม, ทฤษฎีการเรียนรู้สังคม (Social Learning Theory), ยุทธวิธีการสอน, กระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process)

                ฉันกำลังมาถูกทางและอยากจะพูดว่า การเรียนรู้อยู่ที่สังคม”
                การเรียนรู้ทุกอย่างเกิดขึ้นในบริบททางสังคม หรือไม่ก็สังคมจะเป็นแรงผลักดันหรือเป็นมูลเหตุ   จูงใจให้เห็นแนวทางการจัดการศึกษา เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนและกลุ่มเพื่อน แม้กระทั่งระหว่างนักเรียนกับเนื้อหาวิชาในชั้นเรียน (เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ รูปภาพ คู่มือ วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ที่ทุกอย่างสร้างและจัดทำโดยมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการส่งข้อมูลจากคนหนึ่งสู่คนอื่น ๆ ) การเรียนรู้ของเราเป็นหีบห่อในบริบททางสังคม และมันมิใช่เป็นเพียงแค่ธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่สร้างการเรียนรู้ในสังคมเท่านั้น  แต่มันเป็นความจริงที่การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางปัญญาที่เกิดขึ้นในบริบททางสังคม (Bandura, 1963) ด้วย
            แต่ทุกห้องเรียนไม่ได้มีความเท่าเทียมทางสังคม ห้องเรียนในทุกวันนี้ ไม่จำกัดอยู่เฉพาะการเรียนแบบซึ่งหน้า (Face-to-Face Classes) แต่ได้กลายเป็นห้องเรียนที่ได้รับการส่งเสริมด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น ห้องเรียนแบบ MOOCs (Massive Online Open Course) ห้องเรียนแบบผสมผสาน ITV Classesห้องเรียนแบบผสมผสาน Hybrid Classes และการเรียนรู้เฉพาะบุคคล ขณะเดียวกัน การเกิดห้องเรียนที่แตกต่างเหล่านี้ ได้ทำให้ห้องเรียนสามารถสะท้อนสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม (Socio-Cultural Environment) ที่เกิดประโยชน์และสามารถนำไปช่วยหรือสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมด้วย


ทฤษฎีการเรียนรู้สังคม (Social Learning Theory)
                แต่ขอให้กลับไปที่คำกล่าวครั้งแรกที่ว่า การเรียนรู้อยู่ที่สังคม (Learning is social) ตามทฤษฎีเรียนรู้สังคม การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) ที่ใช้บริบททางสังคม ผ่านสังเกตและเรียนรู้ตัวแบบ (Observation and Modeling) เราเรียนโดยการสังเกตพฤติกรรมทั้งที่เป็นด้านบวกและด้านลบของพฤติกรรมนั้น บนพื้นฐานของการสังเกตเราแปลความหมาย (Extracts) ข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรม    นั้น ๆ จากนั้นจึงตัดสินใจยอมรับ โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลหรือตัวแบบ ผู้เรียนแสดงบทบาทในกระบวนการและไม่ได้รับเอาข้อมูลมาอย่างง่าย ๆ แต่เป็นการสะท้อนผลซึ่งกันและกัน ระหว่างพฤติกรรมของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาเรียนรู้อยู่
                แบนดูร่า (Bandura 1977) ได้กำหนดสิ่งเร้า 3 ประเภทที่อยู่ในกระบวนเรียนรู้จากการสังเกตและดูตัวแบบ ดังนี้
                1.ตัวแบบชีวิตจริง (Live Model) เป็นตัวแบบที่นักเรียนจะได้เรียนรู้จริง ๆ ไม่เพียงแต่เป็นพฤติกรรมเท่านั้น แต่เป็นการศึกษาทั้งด้านบวกและลบจากพฤติกรรมนั้น ๆ
                2.การพูด (Verbal Instruction) เป็นการสอนเพื่ออธิบายให้นักเรียนได้รู้ถึงรายละเอียดของพฤติกรรมให้ดีเท่า ๆ กับว่า นักเรียนควรจะยึดถือพฤติกรรมนั้น ๆ เป็นแบบอย่างอย่างไร
                3.ตัวแบบเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Model) เป็นตัวแบบที่นักเรียนสามารถสังเกตพฤติกรรมผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือ โทรทัศน์ วิทยุและอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
                การบรรยายในห้องเรียนแบบเดิมเป็นตัวอย่างของ สิ่งเร้าแบบการพูด และเพียงแต่นักเรียนอ่านจากสื่อวัสดุก็เป็นการเรียนรู้จากตัวแบบเชิงสัญลักษณ์ แต่มันเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้วหรือ อาจจะไม่ใช่
                สิ่งเร้า  3 ประเภทนี้เป็นเพียงวิธีการอธิบายเพื่อนำเสนอตัวอย่างการสังเกตแก่นักเรียนของเราเท่านั้น แต่วิธีการทางปัญญาและการศึกษาพฤติกรรมของการเรียนรู้สังคมคือ สิ่งที่สามารถช่วยเรากำหนดจุดหมาย ปลายทางการเรียนรู้ ถ้าเราใช้ยุทธวิธีที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เราพอใจ



เงื่อนไขของกระบวนการเรียนรู้ทางปัญญาและการศึกษาพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย

ความตั้งใจ (Attention)
                เรามีความสามารถทำให้นักเรียนมีความตั้งใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไม่ ถ้าไม่ จะหาตัวแบบพฤติกรรมให้พวกเขาเรียนรู้อย่างไร การหาตัวแบบให้ศึกษาและรักษาความตั้งใจของเขาไว้เป็นหลักการสำคัญ ถ้าปราศจากความตั้งใจพวกเขาก็จะไม่เห็นกับองค์ประกอบของการสังเกตและการเก็บข้อมูล ซึ่งจะเป็นผลต่อการกำหนดแนวทางในการนำพฤติกรรมมาเป็นตัวแบบในการเรียนรู้ของพวกเขา
                ความตั้งใจมีเคล็ดลับดังนี้ 1) ความตั้งใจเกิดขึ้นจากความสมัครใจหรือไม่สมัครใจ 2) ความตั้งใจของคนเรามีข้อจำกัด 3) บ่อยครั้งเรามักใช้การประมาณการว่า เราจะมีความตั้งใจให้ดีได้อย่างไร และในขณะที่เรากำลังทำเพื่อให้เด็กตั้งใจ เรายังต้องแข่งขันกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ เพื่อนของเขา เว็บไซด์บันเทิง หรือแม้กระทั่งความคิดของพวกเขา
                ดังนั้น เราจะเอาชนะสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร วิธีแก้ปัญหาแบบง่าย ๆ อย่างหนึ่งก็คือ ขจัดสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้นักเรียนว้าวุ่นใจเหล่านี้ออกไปเสีย ซึ่งก็ดีพอ ๆ กับการไม่ให้ใช้เครื่องมือเหล่านี้ แต่นี่เป็นวิธีการที่คุณไม่ควรใช้ ควรให้การสนับสนุนนักเรียนได้มีบทบาทในชั้นเรียนและเป็นเจ้าของการเรียนรู้แทน ถามพวกเขาบ่อย ๆ และให้เสนอสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบหรือพยายามใช้ทฤษฎี Connectivism Approach (รูปแบบการเรียนรู้ซึ่งเน้นไปที่บริบททางสังคมวัฒนธรรม) ไม่เพียงแต่นักเรียนจะจ่อจ่อและตั้งใจมากขึ้นเท่านั้น คุณควรให้โอกาสพวกเขาสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวพวกเขาเอง เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่น ๆ ด้วย

ความคงทน  (Retention)
                ไม่เพียงแต่ทำให้นักเรียนมีความตั้งใจตามระเบียบกฎเกณฑ์ เพื่อความสำเร็จเท่านั้น แต่พวกเขาต้องการจดจำในสิ่งที่พวกเขาสนใจด้วย และไม่เพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ แต่เราต้องการให้นักเรียนจดจำไปได้ตราบนานเท่านาน หรือติดตัวจนเป็นนิสัย วิธีการบางอย่างที่เราทำให้เด็กมีความตั้งใจ อาจทำให้พวกเขาพัฒนาความคงทนได้ด้วย แต่ต้องเพิ่มเงื่อนไขบ่อย ๆ  เช่น กิจกรรมที่คล้ายกับการทดสอบ การติดตามความก้าวหน้า การเสริมต่อการเรียนรู้ (Scraffolding) จะช่วยให้นักเรียนสามารถจดจำได้



การผลิตซ้ำ ( Reproduction)
                นักเรียนต้องการทำซ้ำ ๆ และแสดงพฤติกรรมที่เขาประสบความสำเร็จตามตัวแบบที่มีประสิทธิภาพ วิธีการนี้ไม่ได้ต้องการให้เกิดขึ้นในขั้นตอนแรก นักเรียนต้องการโอกาสในการใช้ความพยายามด้วย ไม่ว่าความล้มเหลวชั่วคราวหรือการเรียนรู้จากความพยายามนั้น ต่อมาจะได้ใช้บทเรียนในอดีตเรียนรู้เพื่อสร้างความพยายามในอนาคต การแนะนำนักเรียนด้วยวิธีการที่ปลอดภัยในการใช้ความพยายามเหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ แต่ไม่เพียงแต่ให้โอกาสในการสร้างความพยายาม เราต้องสะท้อนผลการทำงานเพื่อแสวงหาวิธีการต่าง ๆ มาช่วยนักเรียนของเราให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วย
               
การสร้างแรงจูงใจ (Motivation)
                นักเรียนของเราต้องการเหตุผลที่ดีหรือแรงจูงใจเพื่อทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ ด้วย การเข้าใจสิ่งที่นักเรียนของเราทำได้ในชั้นเรียนทุก ๆ วันสามารถนำมาเป็นเคล็ดลับและเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นความแตกต่างจากนักเรียนคนอื่น ๆ ในฐานะที่เป็นครู ชอบถามนักเรียนว่า อะไรคือ สิ่งที่จูงใจให้พวกเขาอยู่ในห้องเรียนและชอบท้าทายพวกเขาให้คิดเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเป็นผลสะท้อนต่อชีวิตของพวกเขานั้นเป็นอย่างไร ในฐานะที่เป็นครูสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจสิ่งจูงใจนักเรียนของเราได้ดีขึ้น ยุทธวิธีอื่น ๆ เพื่อเพิ่มแรงจูงใจที่นำเสนอในตอนต้นและมีการประเมินบ่อย ๆ ด้วยการสะท้อนความคิดเห็นจะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างแบบประเมิน Rubric และสร้างแบบฝึกหัดได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง อีกทั้งยังให้ผู้เชี่ยวชาญ ใช้ตรวจสอบทางวิชาการ (Peer- review) ในชั้นเรียนด้วย



                ความเข้าใจในกระบวนการทางปัญญา และความสัมพันธ์กับบริบททางสังคม สามารถช่วยให้เราวางแผนการสอนและสร้างสิ่งแวดล้อมได้ทางสังคมได้ดี มากกว่าส่งนักเรียนเป็นกลุ่มออกไปเฉย ๆ หรือเรียนรู้จากสื่อสังคม อันดับแรกเราต้องถามพวกเราก่อนว่า เราจะใช้กิจกรรมอะไรมาช่วยให้นักเรียนมีความตั้งใจ มีความคงทน ได้ผลิตซ้ำและการจูงใจพวกเขา ขณะเดียวกัน เมื่อเราวางแผนทำกิจกรรมที่จำกัดขอบเขตความสัมพันธ์ทางสังคม เราต้องถามพวกเรา ถึงสิ่งนี้ว่า จะเป็นการช่วยเหลือหรือเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ของนักเรียน
               


Do you have suggestions for activities that help with student attention, retention, reproduction, and motivation? Share them with us in the comments below!

Additional Resources
Bandura, Albert (1963). Social learning and personality development. New York: Holt, Rinehart, and Winston
Bandura, Albert (1977). Social learning theory. Oxford, England: Prentice-Hall.
Miller, Michelle (2014). Minds online: teaching effectively with technology. Cambridge: Harvard University Press.
Share




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น