สุริยา เผือกพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมีชัยพัฒนา
“ระบบโรงเรียนตามแนวกระแสหลักในระบบการศึกษาที่เป็นอยู่
แปลกแยกจากสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน
แม้มีความพยายามจะให้โรงเรียนสร้างหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นใช้
แต่ที่ผ่านมาไม่เกิดพลังเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม”
ระบบการศึกษาที่ดึงคนออกจากหมู่บ้าน
เป็นการศึกษาที่ขาดความเสมอภาคและความเป็นธรรม เพราะมุ่งผลิตคนที่มีความรู้ความสามารถให้ไปรับใช้ระบบการผลิตของคนอีกกลุ่มหนึ่ง
แล้วทอดทิ้งคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ระบบการผลิตขาดแคลนความรู้ ทักษะและเทคโนโลยี จนกลายเป็นสังคมที่ล้าหลัง
ยากจนและเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บ
รูปแบบการเรียนรู้แนวสังคมวัฒนธรรม (Sociocutural
Model of Learning)
จึงได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกของระบบการศึกษาอีกทางหนึ่ง
แนวคิดแบบสังคมวัฒนธรรมนิยม
เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนกุมสภาพการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ความรู้เกิดจากการตีความของผู้เรียนอันได้มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้นั้นเป็นพิเศษ
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติท่ามกลางบริบทนั้น ๆ
"เรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน (Experiential Learning)
หลักการพื้นฐานของสังคมวัฒนธรรมนิยมคือ
เรียนรู้ภาวะวิสัย (Subjective) ด้วยตัวผู้เรียนเอง
(Individualistic) เป้าหมายคือ มอบอำนาจการเรียนรู้ (Empowerment) การเรียนรู้โดยอิสระ (Emancipatory Learning) ลงมือปฏิบัติด้วยจิตสำนึกทางสังคมของผู้เรียนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการยอมรับหรือเพียงแค่ทำความเข้าใจสังคม
การสร้างความรู้ด้วยตัวเอง เกิดขึ้นได้ดีที่สุดในสิ่งแวดล้อมที่บุคคลเป็นผู้รู้
การเรียนการสอนเกิดจากการลงมือปฏิบัติด้วยตัวของผู้เรียนในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
การเรียนรู้แนวสังคมวัฒนธรรมนิยม
ไม่เห็นด้วยกับการเรียนรู้ตามแนวคิดของเปียเจท์ (Piajet)
อันเป็นที่รู้กันมาแต่ตั้งเดิมว่า เป็นแนวคิดที่มุ่งเปลี่ยนแปลงความรู้ที่เป็นนามธรรมมาอธิบายให้เป็นรูปธรรม
เพราะไม่ให้ความสำคัญกับพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่
“ระบบโรงเรียนตามแนวกระแสหลักในระบบการศึกษาที่เป็นอยู่
แปลกแยกจากสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน แม้มีความพยายามจะให้โรงเรียนสร้างหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นใช้
แต่ที่ผ่านมาไม่เกิดพลังเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม”
"นักเรียนออกเก็บข้อมูลชุมชนตามแนวการเรียนรู้
แบบศึกษาจากประสบการณ์ฐานราก (Grounded Experiential Education)"
การเรียนรู้ต้องการอะไรที่มากกว่าเรื่องที่เราคุ้ยเคย
อันประกอบด้วย ความหมาย (Meaningful)
ความลึกซึ้งในกระบวนการ (Deeply or Elaborative Processed)
การสร้างความรู้ในบริบท (Situated in Context) และการลงรากลึกในวัฒนธรรม
การสร้างความรู้ความคิด (Meta cognitive and Personal Knowledge) ด้วยตัวของผู้เรียน
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง
(School
– Based Integrated Rural Development Project) ของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
มีเป้าหมายที่สำคัญคือ
ให้โรงเรียนเป็นต้นแบบของแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของทุกคนในชุมชนและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาท้องถิ่น
ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและประชาธิปไตย โรงเรียนเป็นจักรกลในการขับเคลื่อนชุมชน
เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วม การส่งเสริมศักยภาพชุมชนอย่างยั่งยืนและลดการย้ายถิ่นฐาน
โดยการพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียน ส่งเสริมการเป็นผู้นำ เน้นการสร้างคนรุ่นใหม่ให้รู้จักค้นคว้า
มีคุณธรรมและมีจิตสาธารณะ
โรงเรียนมีชัยพัฒนา อำเภอลำปลายมาศ
จังหวัดบุรีรัมย์เป็นโรงเรียนต้นแบบของโครงการดังกล่าว
"รากเหง้าทางประวัติศาสตร์อันเป็นฐานรากของผู้ศึกษาเรียนรู้"
“ผมอยากจะขอบคุณที่ให้เวลาในการพาชมรอบ ๆ
โรงเรียน เห็นแรงบันดาลใจในการสร้างแนวความคิดในการจัดการศึกษาที่เป็นที่ต้องการยิ่งในประเทศไทย
ผมหวังว่าจะได้ร่วมมือกันในโอกาสข้างหน้า” มิสเตอร์ไบรอัน แมสซิงแฮม เจ้าของศูนย์การเรียนรู้นอกสถานที่จังหวัดเชียงใหม่กล่าว
“ได้มีโอกาสนำนักเรียน ผู้ปกครอง
คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้นำชุมชนมาเรียนรู้การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนมีชัยพัฒนา
ซึ่งรู้สึกประทับใจในสถานที่แห่งนี้ มีบรรยากาศสะอาดร่มรื่น
นักเรียนและบุคลากรทุกคนได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ทั้งยังได้เป็นวิทยากรให้ความรู้ต่าง
ๆ อย่างหลากหลายอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง
ซึ่งพวกเราทุกคนจะได้นำเอาความรู้เหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป” ผอ.สุทธิพงน์
ทรงศีล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองเตียน
จังหวัดสระแก้วหนึ่งในสมาชิกโรงเรียนเครือข่าย School-BIRD
กล่าวในโอกาสนำคณะมาศึกษาดูงาน
การเรียนรู้แบบดั้งเดิมที่ยึดวัตถุประสงค์ (Objectivist
Model of Learning) เป็นหลัก จะไม่ยอมรับความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจากสังคมวัฒนธรรมของพวกเขาและพวกเขาได้ใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสังคมวัฒนธรรมนั้นด้วย
โดยการนำความรู้ที่สร้างขึ้นมาอธิบายให้เป็นที่ยอมรับของครูและกลุ่มเพื่อนในชั้นเรียน
หลักการปฏิบัติของรูปแบบการเรียนรู้แนวสังคมวัฒนธรรมนิยมคือ
ผู้เรียนได้เข้าร่วมในสถานการณ์การเรียนรู้ที่ตนเองเป็นเจ้าของ
การสอนไม่ได้เกิดจากความรู้ความจริงเพียงมิติเดียว (Single interpretation
of Reality)
"การเรียนรู้แนวสังคมวัฒนธรรม (Sociocutural Model of Learning)"
ถ้าเปรียบเทียบการเรียนรู้กับแนวสรรค์สร้างนิยมและความรู้ความเข้าใจ
(Constructivism
and Cognitionism)
รูปแบบการเรียนรู้แนวสังคมวัฒนธรรมนิยมยังอยู่ในขั้นกำลังเริ่มต้น (Nascent
Stage) ทั้งการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้
ระบบการศึกษาที่ใช้สถาบันการศึกษาเป็นเครื่องมือในการให้ความรู้
ทักษะและเจตคติแก่ผู้เรียนเพื่อให้ออกไปเป็นกำลังการผลิตในระบบเศรษฐกิจกระแสหลักเป็นสำคัญ
สถาบันเหล่านี้จึงแปลกแยกจากชุมชน ดำเนินกิจการอย่างโดดเดี่ยวโดยลำพัง คนในหมู่บ้านไม่ได้รับผลจากการจัดการศึกษา
ความไม่เสมอภาคและเป็นธรรมเช่นนี้ ถ้าระบบโรงเรียนไม่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ก็คงหวังไม่ได้ว่า ความยากจน ล้าหลังและภัยโรคาจะหมดไปจากหมู่บ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น