วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คิดเหนือคิด (Thinking about Thinking)




                                                                                              Professor John MacBeath : บรรยาย
                                                                                       สุริยา เผือกพันธ์ : ถอดความและเรียบเรียง


พูดถึงเรื่องการคิด...เราไม่ได้คิดตลอดเวลาหรอกหรือทั้งนี้การคิดมันเป็นทักษะ(Thinking skills) ดูเหมือนว่าเราอยากจะพูดให้ตรงกับที่ เราต้องการขณะนี้คือ วิธีการสอนการคิดและพัฒนาทักษะการคิดว่า  จะทำอย่างไร เรามาเริ่มกันด้วยคำถาม ดังนี้

อันดับแรก อะไรคือทักษะการคิด  เราไม่ได้คิดตลอดเวลาหรอกหรือ   จริง ๆแล้วเราต้องการทักษะพิเศษที่นำไปสู่การพัฒนาการคิดใช่หรือไม่  ถ้าเป็นอย่างนั้น ทักษะเหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร และที่ท้าทาย มากไปกว่านั้น เราสามารถสอนได้หรือไม่   เราสามารถสอนให้คนคิดได้หรือไม่

ก่อนอื่นทั้งหมด  การคิดเป็นกระบวน (Process of thinking) กิจกรรมการรู้คิด (Metacognitive activity) เป็นการคิดที่มีเราเป็นเจ้าของความคิด เพื่อพัฒนาไปสู่ระดับความคิดที่แตกต่าง ออกไป (range of different intelligences)

เราจะขยายความออกไปอีกเล็กน้อยเกี่ยวกับหลักการนี้ ที่ไม่เพียงแต่ เป็นความฉลาดของคนธรรมดา แต่เป็นวิธีการที่นำไปสู่การคิดเหนือคิดในที่ระดับแตกต่าง ถ้าคุณอยากจะรู้ !!!!


            การคิด และทักษะการคิดที่แตกต่างนั้น ไม่ใช่การเน้นไปถึงสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอย่างทันทีทันใดเสมอ แต่เป็นการสร้างสรรค์ในความคิด การสร้างความคิดใหม่ (New ideas) คิดนอกกรอบ (Out of the box) ที่บางครั้งเราพูดว่า การพัฒนายุทธวิธีการแก้ปัญหาให้น้ำหนักไปที่การตัดสินใจที่แตกต่าง ด้วยการใช้คำถามเพื่อการระดมสมอง การเชิญชวนให้ปฏิบัติตาม บางครั้งอาจไม่ได้คาดหวังอะไร และอาจได้คำตอบที่ไร้สาระ แต่บ่อยครั้งการการใช้กระบวนการทำให้เราได้คิด ได้รวบรวมข้อมูลข่าวสาร มันเป็นการบุกเบิกการคิดและสร้าง สิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่บางอย่าง

ถ้าคุณเป็นครูและอยู่ในชั้นเรียนถ้าได้ทำแบบนี้สักเล็กน้อย คุณอาจประหลาดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวของคุณ จริง ๆ  ในบางเรื่อง  เด็กนับร้อยนั่งอยู่ต่อหน้าเรา มันเป็นความยากลำบากในความพยายามที่จะทำให้พวกเขาได้แสดงสิ่งที่อยู่ในหัวของพวกเขาออกมาให้เห็น งานศิลปะเป็นสิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ถึงตัวอย่างของการแสดงออก

                สิ่งหนึ่งในงานประจำที่ เดวิด เปอร์กินส์ (David Perkins) ได้ประโยชน์จากการนำไปใช้อย่างกว้างขวางในงานของเขากับครูหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก นั่นคือ  MYST งานประจำ M-Y-S-T  ย่อมาจาก ฉัน  คุณ พื้นที่ เวลา (Me, You, Space, Time) พูดแบบครู ก็คือ ฉันจะพัฒนารูปแบบการคิดในห้องเรียนอย่างไร ฉันจะเป็นเจ้าของความคิดให้เห็นได้อย่างไร  ฉันจะทำให้นักเรียนคิดในสิ่งที่มองไม่เห็นได้อย่างไร

ฉันเป็นสิ่งแวดล้อมหนึ่งในห้องเรียน คิดวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนได้คิดด้วยตนเอง  มีครูและนักเรียน ฉัน และเวลา เวลาที่เป็นสิ่งสำคัญ ฉันจะสามารถให้ มีการคิดมากขึ้นในชั้นเรียนอย่างไร เมื่อเวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยนความคิดอย่างไร

                                                              
                                             วัฎจักรของมุมมอง (Circle of viewpoints)

             ในงานประจำของเขา พวกเขามีงานประจำแบบง่าย ๆ ที่มีหลักการอยู่ 3 อย่างคือ ดู คิด ประหลาดใจ (See, thinks, wonder) ให้ดูรูปภาพและถามคำถามว่า คุณเห็นอะไร ให้อธิบาย  คุณอาจพูดว่า ฉันเห็นผู้หญิง ฉันเห็นเด็กชายตัวเล็ก ๆ ฉันเห็นว่าผู้หญิงก้มลงดูด้วยสายตา

สมมุติว่าแขนของคุณโอบกอดเด็กผู้ชายอยู่  คุณอาจคิดต่อไปเกี่ยวกับว่าอะไรอยู่ในบริบทนี้บ้าง สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ที่นี่คืออะไร คุณประหลาดใจอะไร พ่อแม่ ครู ประเทศไหนที่อาจเป็นแบบนี้ รูป ๆ หนึ่งรูปสื่อความหมายได้เป็นพัน ๆ คำ ถ้าเรามองอย่างพินิจพิจารณามากขึ้นและตั้งคำถามแบบเดียวกันนั้นอีก คำถาม  3 ข้อที่เปอร์กินส์ถามเราให้คิดเกี่ยวกับ สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่  ฉันคิดและประหลาด 3 สิ่งนี้ เรียกว่า วัฎจักรของมุมมอง (Circle of viewpoints)

                ดังนั้น ถ้าคุณมองไปที่รูปภาพอีกครั้งหนึ่งและคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในมุมมองที่แตกต่างออกไป เป็นมุมมองของการเป็นครู มุมมองของนักเรียน นักเรียนคิดอย่างไร นักเรียนรู้สึกอย่างไร คำถามที่มีตามวัฎจักรของมุมมองจะอธิบายอย่างไร ในฐานะครูและนักเรียน


                                                          30 คำถามเพื่อฝึกการคิด 

มีคำถาม 30 ข้อให้คุณดูดังในภาพ ไม่เพียงแต่คำถามว่า ทำไม อะไร ที่ไหนและเมื่อไรแต่บางครั้งคุณยังต้องการเวลาที่จะคิดใช่หรือไม่  เมื่อไรที่คุณต้องการคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถสอนเรื่องนี้กับคนอื่น ๆ หรือที่อื่น ๆ หรือไม่

มาดูคำถาม 30 ข้อนี้กันแล้วพิจารณาดูว่าอะไรที่จะช่วยให้การสอนเน้นการมีส่วนร่วมมากขึ้นและให้นักเรียนได้ใช้เวลาและความสามารถมากขึ้นในการคิดสร้างสรรค์

ท้ายสุดเป็นแผนที่ความคิด (Mind mapping) ที่เปอร์กินส์มุ่งมั่นถามนักเรียนของเขา  เขาหยิบกระดาษขึ้นมา เขียนคำว่า ความคิดดี (Good thinking) ตรงกลาง แล้ววงกลมล้อมรอบ 


                      รูปที่ 1  ภาพตัวอย่างการเริ่มต้นสร้างแผนที่ความคิด (Mind mapping) 

รูปแรกในภาพนี้ มันไม่ใช่การจินตนาการของนักเรียน แต่นักเรียนสามารถเริ่มต้นจากความคิดเดียว ที่ให้ ในรูปที่สอง นักเรียนสามารถคิดได้มากขึ้นว่า  ความคิดที่ดีหมายถึง ได้คะแนนดี ได้เกรดเอ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง เปอร์กินส์กล่าวว่า ความคิดนั้นจะขยายออกไปเล็กน้อย และเมื่อเขาได้เรียนรู้ทักษะการคิดด้วยตัวเองคุณจะพบว่านักเรียนจะมีคำตอบดีขึ้น


                                          รูปที่ 2 การขยายความคิดออกไปได้มากขึ้น

ทั้งหมด ผมดู ผมคิด ผมประหลาดใจ ผมไม่เคยได้รับรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่มีคุณค่าในครั้งแรก ผมชอบการสะท้อนความคิดเห็น ผมชอบการท้าทาย  ผมชอบการวิเคราะห์ และในรูปภาพต่อ ๆ ไป นักเรียนจะได้รับแนวคิดของการคิดที่ดี


                               รูปที่ 3 การขยายแนวคิดจากการตั้งคำถามว่า ฉันเก่งอะไร

ผมกำลังทำแผนที่แนวคิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและขยายไปสู่นักเรียนให้เขาได้พูดว่าฉันคิดว่าฉันเก่งเรื่องอะไรในวิชาวิชาเลข คณิต ฉันคิดว่าฉันเก่งเรื่องจำนวน  จากนั้นถามเพื่อพัฒนาความคิดเหล่านั้น เพิ่มขึ้นไปอีกด้วยการจัดลำดับ คำถามที่เป็นปริศนา ให้คิด ให้ประหลาดใจและให้อธิบายสิ่งทั้งหมด

การวิเคราะห์จัดลำดับทั้งหมดเป็นการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะว่าพวกเขาได้เพิ่มทักษะการสอนของครูไปสู่การคิดด้วยความคิดของพวกเขาเอง ให้คิดสร้างสรรค์และวิเคราะห์มากขึ้นด้วยตัวพวกเขาเอง

ดังนั้น เมื่อคุณได้ใช้การสอนแบบนี้เป็นประจำ อย่างที่เปอร์กินส์ได้กล่าวไว้ มันจะเป็นเรื่องง่ายมาก ๆ ตอนจบบทเรียนหรือสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน ด้วยการตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนรู้ว่า ฉันได้คิดและได้คิดเหนือคิด

..................................................................................................................................

John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น