วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ครูมืออาชีพ (Being a Professional )


(John MacBeath ภาพจาก www. educ.cam.ac.uk)


                                                                                                 Professor John MacBeath: บรรยาย
                                                                                       สุริยา เผือกพันธ์ : ถอดความและเรียบเรียง

ก้าวสู่ความเป็นครูมืออาชีพ

ครูมืออาชีพคืออะไร อะไรคือเครื่องหมายบ่งบอกถึงความเป็นครูมืออาชีพ มีจรรยาบรรณที่เน้นเป็นพิเศษอยู่ 4 อย่างคือ การใช้ความรู้ใหม่ ทักษะใหม่ การให้ความสำคัญกับงานวิจัยและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น และการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะนี้ไปทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น โดยการสอน การให้บริการแก่เด็กนักเรียน เพื่อนร่วมงาน พ่อแม่และชุมชนอย่างกว้างขวาง เพราะว่าการสอนเป็นการมุ่งมั่นพัฒนาบุคลิกภาพและพัฒนาอารมณ์ด้วย ด้วยเป็นที่ยอมรับว่า อาชีพครูแตกต่างจากสาขาอาชีพต่าง ๆ

 ครอสเวลล์และอีเลียต (Crosswell and Elliot) กล่าวว่า ครูโดยทั่วไปจะชอบการเป็นครู หรือครูที่ดีที่สุดจะชอบงานการเป็นครูของพวกเขา พวกเขาจะพัฒนางานให้ก้าวหน้า  ไม่เพียงแต่สร้างความสุขให้เกิดในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังใช้เวลาทุ่มเททำกิจกรรมนอกห้องเรียนอีกด้วย พวกเขาจะให้ความสำคัญต่อความต้องการของนักเรียนแต่ละคนและมีความรับผิดชอบต่อนักเรียนของพวกเขาไม่เฉพาะแต่เรื่องการให้ความรู้แต่ยังทำการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพัฒนาระบบคุณค่าอีกด้วย ครูจะธำรงรักษาความรู้ที่คงความเป็นครูมืออาชีพไว้อย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในระดับกว้าง

            
                                                     (ภาพจาก www.pinterest.com)

แต่อะไรที่จะช่วยครูให้ได้รับการพัฒนาและเจริญก้าวหน้า อะไรคือการอบรมบ่มเพาะให้ครูเป็นมืออาชีพ อะไรคือสิ่งที่จะช่วยนำครูให้สร้างพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพของพวกเขา นักวิจัยชาวอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge) ซึ่งต่อมาได้ไปสอนที่วิทยาลัยแห่งชาติ (National College)ได้กล่าวถึงเรื่อง สารพิษและสารอาหาร (Toxins and Nutrients) ว่า สารอาหารคือ สิ่งที่จะช่วยให้ครูมีความก้าวหน้า ส่วนสารพิษคือ สิ่งที่จะทำให้ครูล้าหลัง นี่คือสารพิษ 7 ชนิดที่ เจฟฟ์ เซาท์เวิร์ด (Jeff Southworthได้พบในงานวิจัยของเขา (ตาราง 1 ดังแนบ) เมื่อเขาได้ถามบรรดาครูทั้งหลายว่า  มีงานอะไรบ้าง ที่ทำให้พวกคุณรู้สึกว่าเป็นอุปสรรคต่อความเป็นครูมืออาชีพ  อะไรที่ทำให้แรงจูงใจในห้องเรียนของคุณลดน้อยลง ให้ลองคิดดู อะไรที่ทำให้ไม่ยอมรับและขโมยมันไป การวิพากษ์วิจารณ์ การไม่ยอมรับ การตัดสินตลอดเวลาบอกสิ่งที่ทำบ่อย ๆ การทำตามสั่ง และไม่รับฟังผู้อื่น ใช่หรือไม่ ไม่เพียงแต่ไม่รับฟังนักเรียนเท่านั้น ยังหมายถึงการไม่รับฟังผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในหน้าที่การงานอีกด้วย

 และในทางตรงกันข้าม อะไรที่จะช่วยสนับสนุน สร้างแรงบันดาลใจและอบรมบ่มเพาะครู สิ่งนั้นคือ สารอาหาร เช่น การสร้างคุณค่า การส่งเสริม การสังเกต ความไว้วางใจ การรับฟังผู้อื่น และการเคารพนบนอบจริง ๆ คุณเป็นเช่นไร
สิ่งเหล่านี้จะดังก้องอยู่กับตัวคุณ สิ่งเหล่านี้ อาจมีความคล้ายคลึงกับบางอย่างที่คุณมีอยู่แล้วในชีวิตการทำงานของคุณ แต่ก็อาจมีหลายอย่างที่แตกต่างจากรายการดังกล่าวนี้ สิ่งที่แตกต่างเหล่านั้นอาจสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้คุณได้เช่นกันและบางอย่างที่คุณพบมันเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคุณมานาน ในทุก ๆ วัน

            ต่อคำถามที่ว่า แล้วคุณจะทำอย่างไรเพื่อเอาชนะสิ่งเหล่านั้น มีบางอย่างที่อธิบายโดยนักวิจัยชาวแคนนาดาชื่อ บาร์เน็ตต์ (Barnett) ซึ่งได้พูดเกี่ยวกับเรื่องช่องว่างระหว่างความคิด 2 ด้านนี้ว่า อะไรที่มีความสัมพันธ์ที่นำไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ  ครูยังต้องต่อสู้กับสถานภาพและความเคารพนับถือ ขณะเดียวกันก็มีความคาดหวังที่จะเป็นคนที่มีความสามารถ กล้าเสี่ยง ประนีประนอมและยินยอมพร้อมใจด้วย



                                  
                                 The dilemma space: between the rock and the whirlpool

ศาสตรจารย์ชาร์ล แฮมป์เดน เทอร์เนอร์ (Charls  Hamden Turner) แห่งเคมบริดจ์ได้นำเอาช่องว่างระหว่างแนวคิด 2 ด้านนี้ไป พิจารณาและให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยใช้เส้นแกน 2 เส้น กล่าวคือใช้แกนตั้ง (Vertical axis) วัดผลการปฏิบัติงาน ใช้แกนนอน (Horizontal axis) บอกถึงการสร้างการเรียนรู้และการพัฒนาและบอกด้วยว่า ถ้าคุณวิตกกังวลมากเกี่ยวกับเรื่อง การจัดลำดับการวัดผลการปฏิบัติงาน คุณอาจกลายเป็นไดโนเสาร์เล็ก ๆ  แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณปฏิเสธการให้ความสำคัญกับการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งหมด คุณอาจกลายเป็นนกกระจอกเทศเล็ก ๆในทะเลทราย ด้วยเช่นกันหรือถ้าคุณให้เวลาทั้งหมดกับการสร้างสรรค์ การเรียนรู้และการพัฒนาและไม่ยอมรับมุมมองอื่น ๆ เช่นการประเมินผลและการตรวจสอบ คุณก็พร้อมที่จะสูญพันธุ์ เหมือนอย่างตัวยูนิคอร์น  แต่ถ้าคุณสามารถผสมผสานองค์ประกอบทั้งสองส่วนนี้เข้าด้วยกันทั้งสองแกน ให้ความสำคัญต่อการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของเด็ก เท่า ๆ กับการสร้างสรรค์การพัฒนานักเรียน คุณก็จะเป็นเหมือนดั่งพญาอินทรีย์ที่เห็นในภาพ

            แต่อาจมีบางครั้งที่ตกอยู่ไปในพื้นที่ตรงกลาง ซึ่งไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรมันเป็นสถานการณ์ทั้งดันและดึง นายแพทย์ดูโอลิตเติล (Doctor Doolittle) กล่าวว่าเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวหนึ่งที่ดึงและดันคุณด้วยหัวสองหัวที่หันหน้าไปคนละทาง คุณลองคิดไปถึงเพื่อนร่วมงานหรือคนอื่น ๆ ที่อาจทำให้คุณเป็นอย่างนั้น ใช่หรือไม่

ในช่องว่างระหว่างสองแนวคิดทุกแนวคิด  เป็นบางสิ่งที่พวกเรายากจะรักษาไว้และจะทำให้ความกดดันจากการทำงานจะเกิดขึ้นทันทีทันใด

             ชาร์ลส์ ฮัมเมล อธิบายและถามครูว่า คุณเคยอยากจะให้วันหนึ่งมีสัก 30 ชั่วโมงไหม เพราะว่ามันมีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ดูเหมือนว่ายังไม่ได้ทำ มันเป็นงานที่ยังคั่งค้างอยู่ แต่ถ้าคุณหยุดตรึกตรองดู ลองคิดถึงงานการสอนของเรา คิดถึงแนวคิด 2 ด้านนี้อย่างลึกซึ้งจริง ๆ ในเวลาเท่าที่เรามี ลองย้อนกลับไปทบทวนในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์และแต่ละปี เรายอมรับว่า บ่อยครั้งที่เราขับเคลื่อนงานตามความต้องการของผู้อื่น ด้วยเหตุผลแต่ที่จริง ๆ แล้วเราไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของงานของเราเอาไว้ แต่ไปให้ความสำคัญกับงานของคนอื่นก่อน
                                

ตารางวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญของงาน
ระหว่างความสำคัญ (แกนตั้ง) และความเร่งด่วน (แกนนอน)

ให้พิจารณาตารางที่แสดงไว้นี้ มันมีสองมุมมองคือ  ทางหนึ่งเป็นแกนตั้งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของงานและอีกแกนหนึ่งเป็นแกนนอนที่แสดงให้ เห็นถึงความเร่งด่วนของงาน  ตารางนี้จะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ถ้าเราคิดถึงการสอนของเราและการเรียนรู้ของนักเรียน อะไรคือ สิ่งที่ไม่สำคัญและเร่งด่วนจริง ๆ

            ส่วนล่างซ้าย เรามีงานที่ควรทำและมีความเร่งด่วน ที่กดดันเราตลอดเวลา แต่มันไม่สำคัญ และเมื่อดูไปที่ส่วนบนซ้ายมือ มีงานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน  เมื่อเราเอาเด็กเป็นสำคัญ ลองมาพิจารณาว่า คุณมีสิ่งใดที่จะต้องทำเพื่อพวกเขา  แต่ต้องใช้เวลามาก มันมีบางสิ่งที่คุณไม่ต้องทำเดี๋ยวนี้ อะไรเหล่านี้ แล้วคุณจะทำอย่างไร

คุณได้ทอดทิ้งพื้นที่ที่สำคัญและเร่งด่วนหรือเปล่า ในงานการเรียนการสอน ความต้องการของคุณและนักเรียนมันจะอยู่ในพื้นที่นั้น แม้ว่าสิ่งที่เราสอนมีความสำคัญมากที่สุดแต่มันไม่ด่วน ก็ต้องทำแม้จะใช้เวลามาก เป็นต้น


                         
                                                  ตารางการจัดลำดับความสำคัญของงาน
                               ระหว่างความสำคัญ (แกนตั้ง) และความเร่งด่วน (แกนนอน)

ตารางนี้อาจเป็นประโยชน์มากในการใช้เป็นพื้นฐาน คิดถึงเรื่องสิ่งที่คุณจะทำในห้องเรียนอะไรที่คุณกำลังทำในแผนงานของคุณ อะไรที่คุณกำลังทำในงานการประเมินผลของคุณ แต่ที่ต้องมาจบลงในตารางที่ 4 ให้คุณกลับไปพิจารณาอีกครั้ง งานบางอย่างที่คุณอยู่ระหว่างการทำและบางสิ่งที่คุณได้รวบรวมใส่ลงในแฟ้มผลงาน งานและกิจกรรมบางอย่างนั้นเป็นภาระหน้าที่ เป็นการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง

            และท้ายที่สุดนี้ ก็มาถึงเรื่องคำถามที่มี 8  ข้อ คำถามแต่ละข้อถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูก ใน 4 ตัวเลือกดังนั้น ก่อนที่จะตอบคำถาม ควรได้ทบทวนสิ่งที่คุณคิด สิ่งที่คุณรู้ สิ่งที่คุณประเมิน เกี่ยวกับการเรียนการสอน ก่อนที่คุณจะตอบคำถาม ซึ่งคุณควรทำเพียง 1 ครั้ง ให้ได้คำตอบที่ถูก ดังนั้นคุณจะมีความสุขมากต่อการตอบคำถามได้ถูกต้องทั้ง  8 ข้อ

                นอกจากคำถามแล้ว คุณอาจทำกิจกรรมอื่น ๆ ตามต้องการ เช่น การอภิปรายกับเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับบางสิ่งที่คุณกำลังทำระหว่างการเรียนในสัปดาห์แรกและ  4 สัปดาห์ที่คุณมี และสิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องใช้ คือ ตารางวิเคราะห์ความสำคัญและความเร่งด่วนในงานการสอน

     
                                                     (ภาพจาก www.eaalearning.com)

           ถ้าคุณเพิ่มคำถามเหล่านี้อีกกับเพื่อนของคุณในโรงเรียนพวกเขาจะมีความคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับเรื่องความสำคัญและความเร่งด่วน อะไรเร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ อะไรสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน การใช้เวลายาวนานสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนและการพัฒนาโรงเรียนในฐานะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

                นั่น สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงประโยชน์อย่างมากมายจากการร่วมกันวิเคราะห์ และใช้การสนทนาไปกระตุ้นให้มีการพัฒนาเพื่อนร่วมงาน มุ่งสู่ความเป็นครูมืออาชีพและจากนั้น เป็นการขยายเนื้อหาโดยนำไปเขียนเป็นบทความ ความยาวประมาณ 400 – 500 คำ สรุปเป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน สิ่งที่คุณได้จากเรียนและเรียนรู้จากการทดสอบแนวคิดเหล่านี้ ร่วมกันกับครูมืออาชีพคนอื่น ๆ
............................................................................................................................................................
John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for   Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.



ตาราง 1 Toxins and Nutrients

Toxins
Nutrients
1.             Ideas being rejected or stolen
2.             Carping criticism
3.             Being ignored
4.             Being judged all time
5.             Being told what to do too much
6.             Being over-directed
7.             Not being listened to
1.            Being valued
2.            Being encouraged
3.            Being noticed
4.             Being trusted
5.             Being listened to
6.             Being respected

This is true from administrators and students in some instances 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น