วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เหลียวหลังแลเรื่องการเรียนรู้ (Revisiting learning)



                                                                                            Professor John MacBeath : บรรยาย
                                                                                   สุริยา เผือกพันธ์ : ถอดความและเรียบเรียง


ขอให้กลับไปทบทวนเรื่องการเรียนรู้และตั้งคำถาม 3 ข้อดังนี้  เรื่องอะไรที่เรารู้มาก่อนแล้ว  เรื่องอะไรที่เรายังไม่รู้และอยากจะรู้  นี่เป็นคำถามที่เป็นปริศนาสำหรับคุณ ให้ดูภาพหน้าต่าง4 บานนี้ที่บางครั้งเรียกว่า หน้าต่างจาฮาริ (Jahari Windows)

                เมื่อดูแล้วให้คิดว่า ฉันรู้ว่าฉันรู้เรื่องอะไร ฉันรู้สึกมั่นใจมากเมื่อฉันรู้ว่าฉันรู้เรื่องอะไร และเช่นกันฉันรู้สึกมั่นใจมากเมื่อฉันรู้ว่าฉันไม่รู้เรื่องอะไร และอีกข้อหนึ่งแม้ว่ามันจะยังมีปริศนาอยู่ว่า ฉันไม่รู้ว่าฉันไม่รู้เรื่องอะไร และ/หรือฉันไม่รู้สิ่งที่ฉันรู้มาก่อน ลองคิดสักนิดเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่คุณแน่ใจเพียงแต่ว่านึกไม่ออก ทอม ซอว์เยอร์ (Tom Sawyer) พูดไว้ครั้งหนึ่งว่า เพียงแต่นึกย้อนกลับไปดูมันอีกครั้งหนึ่งและถ้าคุณมองไปที่หน้าต่าง 4 บานและคิดถึงสิ่งนั้นว่ามันคืออะไร เอามันลงไปในใจแล้วพูดว่าในฐานะที่ฉันเป็นครูฉันรู้และมีความมั่นใจมากเกี่ยวกับสิ่งที่ฉันรู้รวมทั้งมั่นใจในสิ่งที่ฉันไม่รู้ด้วย มันเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับครูที่จะต้องยอมรับและมีความมั่นใจว่าตนเองยังจะต้องเรียนรู้อยู่ต่อไป เพราะยังมีอะไรต่อมิอะไรอีกมากที่เรายังไม่รู้มีคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ของมนุษย์ นี่เป็นคำถามเล็ก ๆ ที่เป็นการทดสอบถึง สิ่งที่เรารู้หรือสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้ ลองตอบคำถามเหล่านี้ดู อะไรที่คุณอยากจะเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีก

    
                                                Conscious competency learning model

คุณอยากพูดอะไรเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ที่น่าสนใจนี้ เมื่อคุณคิดในเรื่องนี้และมีความต้องการใช้เวลากับมันบ้าง โดยอาจใช้เวลาร่วมทำกับคนอื่น ๆ บางคน ในการอภิปรายดูความคิดเห็นของเขา ว่าเขาจะคิดอย่างไร  การเรียนรู้ร่วมกันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมของมนุษย์ ในสังคมจริง ๆ เราสร้างมโนภาพ เราคิดเป็นนามธรรมมาก (Construct abstractions)  คุณสามารถนึกถึงภาพสุนัข นก แมว แล้วเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ (Store information outside the body) ไม่ใช่เพียงแค่ในสมอง แต่สามารถเก็บไว้นอกตัว เช่น เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หรือกล้องถ่ายภาพหรือตำราหรือที่อื่น ๆ ใช่หรือไม่ เราคิดเกี่ยวกับเรื่องการคิดของเรา (Thinking about thinking) และสร้างการตัดสินใจด้านศีลธรรม (Make ethical decisions) สร้างภาพผ่านความคิดและความรู้สึก (Portray thought and feeling) ด้วยงานศิลปะ ดนตรี การแสดงออกโดยผ่านวิธีการต่าง ๆ ทุกวิธี สร้างความหมายจากประสบการณ์ของเรา (Construct meaning from experience)  คิดเกี่ยวกับความรู้สึก (Think about feeling)  มองหาปัญหา (Seek out problems) และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน (Learning in reciprocity)


                               คุณลักษณะพิเศษในการเรียนรู้ของมนุษย์

 ถ้าเราจะศึกษาต่อไปและมองไปที่หลักการบางอย่างที่พบจากงานวิจัย จะมี  7 เรื่องที่ผมอยากจะเน้นให้เห็นเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้
อันดับแรก จากนักจิตวิทยาชื่อ ยีน เปียเจต์ (Jean Piaget) กล่าวถึง ความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive conflict) ซึ่งเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับความยากลำบากต่อการนำเอาของสองสิ่งที่ขัดแย้งกันมาไว้ด้วยกันแต่มันต้องผ่านกระบวนการที่จะต้องเรียนรู้และแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น
                อันดับสองคือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) นักการศึกษาชาวอเมริกันกล่าวถึง อิทธิพล (Leverage) เราต้องการบางสิ่งจากอิทธิพลเพื่อทดสอบ เพื่อยกระดับความคิดให้สูงขึ้น
                อันดับสาม คิววอร์ทรัพ (Qvortrup) นักจิตวิทยากล่าวว่า เราไม่สามารถทำอะไรได้ นอกเสียจากว่าต้องปรับช่วงคลื่นให้ตรงกัน เหมือนการปรับคลื่นวิทยุหรือโทรทัศน์ให้ตรงคลื่นนั่นเอง จากนั้นจึงจะเกิดการเรียนรู้ดามาสิโอ (Damasio) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้เริ่มขึ้นจากอารมณ์เป็นสื่อกลาง แต่การเรียนรู้ของเราทั้งหมดผ่านอารมณ์เป็นศูนย์กลาง หรือไม่ก็เป็นความรู้สึกเหมือนดังอารมณ์เป็นตัวกระตุ้น มันเป็นเหมือนปัญหาคณิตศาสตร์และยากที่จะเข้าใจที่สุด มันตรึงแน่นอยู่ที่อารมณ์ของเรา
                อันดับสี่ เดวิด เปอร์กินส์ (David Perkins) นักจิตวิทยาแห่งฮาร์วาร์ด (Harvard) กล่าวถึงเรื่อง ความตั้งใจความตั้งใจจะนำไปสู่การเรียนรู้ เราจะเรียนรู้เมื่อมันท้าทายและเกิดทักษะ เมื่อเราถูกท้าทายเราสามารถยกระดับการเรียนรู้ไปสู่ความท้าทายนั้นและจะพบกับหลักการในการเรียนการสอน เดวิด กล่าวว่า มันเป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นลักษณะแตกต่างของห้องเรียนที่ดีและครูที่ดี
                อันดับห้า เจอโรมี บรูเนอร์ (Jerome Bruner) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันกล่าวถึงการเรียนรู้โดยการ
สอนผู้อื่น เราเรียนเมื่อเราสอนคนอื่น เพราะว่าเราได้ซักซ้อมแนวคิด เช่นในภาพเด็กผู้หญิงสอนลูกหมี เดี๋ยวนี้คนที่ฉลาดที่สุดในห้องเรียนคือ ผม
                อันดับหก การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม เป็นคำกล่าวของ วีก็อตสกี (Vygotsky) เราเรียนรู้ผ่านคนอื่น แม้ว่าเราอาจจะอยู่ตามลำพัง ศึกษาจากห้องเรียนของเรา ศึกษาจากการบ้านของเรา หรือศึกษาจากการอ่าน เราสามารถนำมาจากคนรอบ ๆ ข้าง
                อันดับเจ็ด โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ กล่าวถึงความสำคัญของบริบท บริบทคือ การวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นสิ่ง ที่ยากสำหรับเด็ก พวกเขาเรียนรู้จากบริบทหนึ่งไปสู่บริบทอื่น ๆ จากห้องเรียนหนึ่งไปสู่ห้องเรียนหนึ่ง เช่น ห้องเรียนคณิตศาสตร์ข้ามไปสู่ห้องเรียนภาษาอังกฤษหรือวิทยาศาสตร์ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นบริบทที่อยู่รอบ ๆ  และแม้แต่ยากไปกว่านั้น คือ การนำการเรียนรู้ของคุณจากห้องเรียนหรือโรงเรียนไปสู่สิ่งที่การ์ดเนอร์เรียกว่าสนามเปิด (Open field) ที่ไม่มีโครงสร้าง ไม่มีครูหรือตำราช่วยพวกเราแต่เราต้องถอยหลังกลับไปหาทรัพยากรของเรา ความคิดของเรา ทักษะของเราเอง


                ท้ายสุดนี้ ทุกอย่างที่กล่าวถึงต้องการการสะท้อนความคิดเห็น ซึ่งจะช่วยให้เราได้พัฒนาให้ดีกว่าเดิม แต่รูปแบบการช่วยเหลืออาจต้องกลับไปคิดอีกครั้ง ว่าจะคิดอย่างไร ให้ดีขึ้น ถ้าครั้งแรกล้มเหลว ก็ทำอีกครั้ง ล้มเหลวดีกว่าไม่ได้ลงมือทำอะไร  มีน้อยที่ผลสะท้อนนั้นจะบอกให้ทำในสิ่งผิด ๆ

ถ้าเป็นครู คุณจะสามารถนำความคิดทั้งหมดนี้ไปปฏิบัติในห้องเรียนอย่างไร ถ้าคุณชอบและกำลังต้องการทำ มันเป็นงานยาก แต่ทั้งหมดนี้ มันเป็นสิ่งสำคัญและเป็นคุณลักษณะที่ครูทั้งหลายทำกัน สิ่งที่ครูทำการศึกษาห้องเรียน เป็นการใช้ความคิดว่า ฉันจะรู้อย่างไรว่าห้องเรียนมีความพอดี เมื่อนักเรียนเรียนรู้หรือไม่เรียนรู้  เมื่อพวกเขาไม่มีสมาธิ เมื่อพวกเขาเบื่อหน่าย หรือเมื่อพวกเขามุ่งมั่นตั้งใจ ฉันจะรู้ความหมายจากภาษากายนั้นของเด็กอย่างไร

และเมื่อฉันได้ปฏิบัติอย่างนั้น ฉันสามารถเปลี่ยนแปลงอะไร ดูสไลด์ของเดวิด เปอร์กินส์ ที่เขากล่าวถึงว่า เราสามารถที่จะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่โดดเด่นของการเรียนรู้ในห้องเรียนอย่างไร เขาได้กล่าวถึงสิ่งที่จะทำให้คุณทำได้เช่นนั้น 4 ประการด้วยกัน หนึ่งเรียนรู้เกี่ยวกับจุดประสงค์ของความตั้งใจ สองเรียนรู้เกี่ยวกับจุดประสงค์การพูดคุย สาม เรียนรู้ถึงจุดประสงค์ของการสะท้อนผล และสี่เรียนรู้เกี่ยวจุดประสงค์ของการเรียนรู้มันเป็นความคิดที่มีค่า คุณจะพูดถึงธรรมชาติของการเรียนรู้อย่างไร ไม่ใช่เพียงแค่ผ่านทางหลักสูตรเท่านั้นแต่ยังต้องหยุดใช้เวลาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ เรื่องการคิด เรื่องการเรียนรู้ในตัวมันเองของจุดประสงค์การพูดคุย

ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่อยากแนะนำคุณคือ การอ่านบทความของเดวิด เปอร์กินส์ ซึ่งหาได้ในเว็บไซด์ในเรื่อง Visible Thinking และเมื่อคุณได้อ่านแล้วลองกลับไปดูคำถามที่เคยถามไว้    คำถามบางคำถาม ให้คุณสะท้อนผลและคิดเกี่ยวกับการจะประยุกต์ใช้ความคิดสำคัญ ๆ ในห้องเรียนนั้นอย่างไรซึ่งคุณอาจได้ทำมาบ้างแล้วก็ได้คุณอาจทำมันโดยสัญชาติญาณและเป็นธรรมชาติมาแล้ว ขอแต่คิดให้เป็นระบบก็จะช่วยเสริมแรงและขยายสิ่งที่คุณได้ทำไปแล้วให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก

..........................................................................................................................................................
John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น