วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

การสอนเพื่อการเรียนรู้ (Teaching for Learning)


                                                                                                 Professor John MacBeath :บรรยาย
                                                                                       สุริยา เผือกพันธ์: ถอดความและเรียบเรียง


การบรรยายในหัวข้อนี้ดูเหมือนว่า จะเป็นหัวข้อที่สำคัญของหลักสูตร (หลักการพื้นฐานการสอนเพื่อการเรียนรู้) เพราะว่าเนื้อหาที่พูดมาก่อนหน้านี้และจะพูดต่อไปทั้งหมดไม่ได้กล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมาหัวหน้าผู้ตรวจสอบทางการศึกษาในอังกฤษได้เขียนไว้ในหนังสือว่า ครูก็สอนไปและนักเรียนก็เรียนไป มันคงไม่ง่ายอย่างนั้น  จูดิธ วอร์เรน ลิตเติ้ล (Judith Warren Little) ชาวอเมริกันกล่าว  เธอไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมากเพราะมันมีอะไรที่สลับซับซ้อนกว่านั้นมาก และเธอพูดและเขียนว่า เราต้องเห็นการเชื่อมโยงระหว่างความกระหายใคร่รู้และความขี้สงสัยของผู้เรียน เราต้องถามเสมอ ๆ ว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้น เป็นไปแบบง่าย  ๆ หรือไม่ เราจะเชื่อเช่นนั้นหรือ 


                                               ความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) 

ศาสตราจารย์เดวิด ฮาร์เกรีพส์ (David Hargreaves) แห่งมหาวิทยาลัยเครมบริดจ์ได้เคยเขียนไว้ หลายปีมาแล้วเกี่ยวกับความรู้แบบเหนียว (Sticky knowledge)   เดี๋ยวนี้ เขาไม่ได้เชื่ออย่างนั้นแล้ว  เมื่อคุณสอน ความรู้มันเพียงแค่ไปตรึงอยู่กับตัวนักเรียน เขาพูดว่า ให้คุณนึกถึงท่อที่เชื่อมต่อคำพูดของครูไปยังหูของนักเรียนเหมือนความรู้นั้น ผ่านไปตามท่อ มันเป็นวิถีที่ยากลำบากมากในการพูดคุย การพูดคุยที่ผ่านเลยกลายเป็นอดีต  (Negotiate past) ทำให้เกิดข้อสงสัย ที่เรียกว่า สงสัยในตนเอง (Self-doubt) เป็นความไม่ชัดเจน จนอาจพูดว่า  ผมทำได้ไม่ดีในเรื่องนี้ ผมทำได้ไม่ดีในวิชาเลขคณิตและภาษาอังกฤษ  ผมทำได้ไม่ดีในวิชาภาษาต่างประเทศ
                การที่พูดกับตนเอง (Self talk) เช่นนี้ ทำให้คุณสรุปว่า ตนเองแย่ลง ไม่ฉลาด แสนโง่ ไม่ฉลาดเท่ากับคนอื่น ๆ
 การพูดกับตนเองและความเข้าใจผิดเช่นนี้  สำหรับนักเรียนจะสรุปและตัดสินอย่างไร ตัวอย่างเช่น เมื่อครูวิทยาศาสตร์สอนเกี่ยวกับเรื่องปริมาณ  (Volume) มันหมายถึงอะไรมันเป็นชิ้นส่วนเครื่องรับวิทยุใช่ไหมใช้ในเวลาเร่งเสียงให้ดังขึ้นหรือเปล่า และถ้าคุณไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนในความเข้าใจผิดบางอย่างนั้นเด็ก ๆ ก็จะรู้สึกเบื่อหน่ายกับเรื่องเหล่านั้น เพราะว่า บ่อยครั้งที่ การสอนอย่างนั้นมันขาดความรู้พื้นฐาน (Prior knowledge)  มาก่อน นอกเสียจากว่าเราได้รู้มาบ้างแล้ว


สังคมแห่งการเรียนรู้ 

 เราจะเรียนอย่างไร ???
จังจ๊าค รุสโซว (Jean Jacques Rousseau) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ได้เขียนไว้ว่า “ฉันจะสามารถเรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างไร เมื่อฉันไม่เคยรู้เรื่องนั้น ๆ มาก่อนเลย “
 ใช่ มันเป็นปริศนาที่ดำมืดใช่หรือไม่  ด้วยเราต้องการที่จะมีพื้นฐานในการสร้างความรู้ให้ฝังแน่น   เพราะปทัสถานของกลุ่มเพื่อนของเรา ยังไม่ดีจริง จริง ๆ แล้วยังต้องพยายามเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย เพื่อให้ถึงจุดประสงค์ที่โรงเรียนต้องการ

                ดังนั้น ปทัสถานจากเพื่อน ๆ มีส่วนอย่างมากต่อการเรียนรู้ของเรา ในฐานะที่เป็นครู มีคำถาม 6 ข้อ ถามว่า
-นักเรียนของคุณเคยสงสัยในสติปัญญา และความสามารถของพวกเขาใช่ไหม
- พวกเขาทำให้ตนเองแย่ลงใช่หรือไม่
- พวกเขาได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนจากการพูดและปฏิบัติใช่ไหม
- ในฐานะที่เป็นครู ฉันต้องตระหนักในการนำความรู้พื้นฐานที่พวกเขามีมาก่อน ฉันเข้าใจและตรวจสอบ ความเข้าใจผิดของพวกเขาก่อนการสอนใช่ไหม
-ฉันใช้วิธีที่ดีที่สุดในการสื่อสารกับพวกเขาใช่หรือไม่ ไม่ได้พูดเสมอ ๆ  ไม่ได้แสดงเสมอ ๆ ไม่ทำกิจกรรมที่จำเป็นหรือซักซ้อมเสมอ ๆ
 เราต้องคิดอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับว่า อะไรคือวิธีที่ดีที่สุด นี่อาจมองดูบางสิ่งคล้ายกับห้องเรียนของคุณ ถึงแม้ว่าจะไม่เหมือน  แต่ในห้องเรียนนั้น เป็นโลกของเด็ก ๆ และโลกของการเรียนรู้ทั้งหมด


                               หลักการพื้นฐาน 3 ประการเพื่อการเรียนรู้

มีหลักการ  3 ข้อที่เป็นพื้นฐานง่าย ๆ คือ การเชื่อมต่อ (Connect)  การขยาย (Extend)  และความท้าทาย (Challenge) ในการเรียนรู้ของนักเรียน อะไรคือสิ่งที่การสอนของคุณเชื่อมต่อไปถึง อะไรที่เป็นส่วนขยายของการเรียนรู้ของพวกเขา และอะไรคือสิ่งที่ท้าทายต่อความรู้เดิมของพวกเขา  จะทำการเชื่อมต่อกับความรู้ใหม่นี้อย่างไรในสิ่งที่พวกเขารู้มาก่อนแล้ว ด้วยการคิดและทำให้ได้  จะสร้างสิ่งที่พวกเขาคิด สิ่งที่เขารู้สึกและสิ่งที่พวกเขาทำอย่างไร และมันท้าทายอย่างไร นี่เป็นเพียงงานประจำสองสามอย่างของเดวิด เปอร์กินส์

 เราเคยพูดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ การขยาย การท้าทาย อะไรที่ทำให้คุณกล่าวถึงมัน มันเป็นคำถามที่มีพลังไม่ใช่หรือ  อะไรที่ทำให้คุณพูดอย่างนั้น อะไรที่ทำให้คุณคิด ทำให้คุณรู้และ อะไรที่คุณยังเป็นปริศนาอยู่

คุณสามารถสร้างคำถามเกี่ยวกับบางสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น  2 คูณ 2 เป็น 4 ไหม อะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณประหลาดใจ


และต่อมาสิ่งที่เป็นยุทธวิธีที่สำคัญในห้องเรียนก็คือ การคิด (Think)  การจับคู่ (Pair)  การแบ่งปัน (Share) เมื่อถามคำถาม อย่าให้มีใครยกมือตอบ ให้ช่วยกันคิดก่อน แล้วจับคู่กับคนอื่น ๆ จากนั้นให้แบ่งปันความคิด สุดท้ายเราจะจัดระเบียบวิธีการตอบคำถามให้ ทุกคนได้เรียนรู้

การเรียนรู้ทั้งหมดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Social)  เป็นอารมณ์ (Emotional) เป็นการใช้สติปัญญา (Intellectual) ด้วยการเปิดใจ เราจะทำให้นักเรียนร่วมกันคิด ร่วมกันมีความรู้สึกและร่วมกันปฏิบัติได้อย่างไร

เกรแฮม กรีน (Graham Greene) กล่าวไว้ในหนังสือ “The Power and the Glory” เขาพูดถึงวินาทีที่สำคัญของเด็ก ๆ เมื่อประตูแห่งโอกาสได้เปิดออกและเชื้อเชิญพวกเขาเข้าไปสู่โลกแห่งอนาคต  เวลาที่เหมาะสมจะเป็นเวลาที่สามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการเรียนรู้ตรงจุดเน้น  จะมีความเป็นไปได้ “เป็นนาทีทองของการสอน”  ถ้าเราไม่มีนาทีทองของการสอนการเรียนรู้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

 ในเรื่องนี้ ในปี 1952 โรเบริ์ต ฮาไวเฮริสต์ (Robert Havihurst) นำไปใช้ในงานสัมมนาบ่อย ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติการเรียนรู้และการพัฒนามนุษย์ (The nature of human development and learning)

                ขอให้ย้อนกลับไปที่คำถามในตอนต้นอีกครั้ง ที่ถามโดยจูดิธ วอร์เรน ลิตเติ้ล  เราต้องเห็นการเชื่อมต่อระหว่างความกระหายใคร่รู้และความขี้สงสัยของผู้เรียน เราจะรู้อย่างไร และเราจะสามารถทำให้ครูรู้ได้อย่างไรว่าในหัวของเด็กมีอะไร

               จริง ๆ พวกเขามีสมาธิ คิดเกี่ยวกับสิ่งที่ครูพยายามก้าวข้ามหรือคิดเรื่องอื่น ๆ อยู่หรือไม่ เช่นพวกเขา กำลังจะไปไหน  จะทำอะไร มีอะไรหรือกินอะไรหรือไม่หลังเลิกเรียน หรือพวกเขากำลังจะไปทำอะไรกับ เพื่อนหรือไม่ เมื่อโรงเรียนเลิก มันเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่เราไม่รู้... แล้วเราทำให้รู้ได้ไหม

และนั่นทำไม ไมฮาล ซสิกสเซนต์ไมฮาลีอิ (Mihaly Csikszentmihalyi) นักจิตวิทยาชาวฮังการี จึงพยายามบอกว่า ถ้าคุณอยากรู้ คุณสามารถไปหาอ่านหนังสือหรือคัดย่อมาจากหนังสือของเขาได้ หนังสือ ชื่อ Flow  เป็นแนวคิดที่อธิบายว่า  เวลาของเด็ก ๆ ที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ได้สูงจริง ๆ ของเขา และเวลา อื่นที่พวกเขามีความคับข้องใจ  เบื่อหรือวิตกกังวล  เขาเรียกสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า Spot Check


Spot Check 

และมันเป็นวิธีที่แสนจะธรรมดามากที่เด็กส่งกระดาษให้พร้อมกับจำนวนของประโยคในนั้น และให้ ครูอาจหยุดและพูดในจังหวะนั้นแล้วเติมเครื่องหมาย (spot check) ลงไปด้านซ้ายมือ ถ้าคุณหยุด พิจารณาใน จังหวะนั้นให้ 1 คะแนน ถ้าคุณหยุดคิดแต่คิดถึงสิ่งอื่น ๆ ให้  3 คะแนน              และในฐานะที่คุณทำต่อไปในรายการนั้น คุณตื่นตัว (Alert) ง่วงนอน (Drowsy) ผ่อนคลาย (Relaxed) วิตกกังวล (Anxious) ปรารถนา  (Wishing) ที่จะอยู่ที่นี่ (  wishing  to be here  ) ปรารถนาที่จะไปอยู่ที่อื่น ๆ บางแห่ง(wishing to be somewhere else) มีความสุข (Happy) เศร้า (Sad) รุก (Active ) ตั้งรับ (Passive) ตื่นเต้น (Excited) เบื่อหน่าย (Bored) มันเป็นเวลาที่ผ่านไปเร็วมากหรือช้ามากหรือไม่

และสิ่งที่เราได้เรียนจากกิจกรรมนี้ เมื่อใช้เป็นเครื่องมือ บ่อยครั้งที่พวกเขาค้นพบกรอบเวลาของพวกเขา กรอบเวลาของนักเรียนไม่เหมือนกัน เวลาอาจผ่านไปเร็วมากสำหรับพวกเขา แต่เวลาของนักเรียนไม่จำเป็น ต้องเหมือนครู

 มันอาจไม่เป็นการกระทำที่น่าตื่นเต้นเหมือนกันเมื่อใช้กับห้องเรียนขนาดใหญ่ เพราะมันเหมาะสำหรับใช้กับกลุ่มนักเรียนขนาด 10 คน ที่อาจใช้เวลาเพียงหนึ่งหรือสองนาทีในห้องเรียนและตัวครูอาจใช้เวลาเท่า ๆกัน เช่นกัน และเมื่อมีการเปรียบเทียบประเภทต่าง ๆ มันสามารถท้าทายและเป็นประโยชน์ในการคิดถึงสิ่งจะทำให้แตกต่างจากเดิมในอนาคตข้างหน้า  แล้วนำมาอภิปรายกับเพื่อน ๆ ของพวกเขา

มันอยู่ตรงไหน เมื่อไหร่ ที่คุณจะมีส่วนร่วมมากที่สุด ตื่นเต้นที่สุดและใช้เวลามากที่สุด จริง ๆ เราจะพบว่าเวลามันผ่านไปรวดเร็วมาก
  
Spot Check มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ แต่ต้องคิดว่า คุณอาจใช้กับนักเรียนทั้งห้องหรือ กลุ่มตัวอย่างในชั้นเรียนหรือไม่  เพราะมันสามารถให้ผลมากจากประโยชน์ข้อมูล ไม่เพียงเท่านั้นคุณอาจใช้มันร่วมกับครูคนอื่น ๆ ในโรงเรียนด้วย  แม้ว่าครูจะสอนต่างวิชาหรือต่างห้อง และคุณอาจใช้ร่วมกับเพื่อนที่เรียนด้วยกันในหลักสูตรนี้ก็ได้

 เมื่อคุณเข้าร่วมประชุมและให้ครูใช้เครื่องมือเดียวกันนี้ จะสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการกระตุ้นให้มีการสนทนาได้เป็นอย่างดี

...............................................................................................................................................................
John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น