วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

โลกของเด็ก ๆ (The World of Childhood)





                                                                                  Professor John MacBeath : บรรยาย
                                                                                    สุริยา เผือกพันธ์ : ถอดความและเรียบเรียง


             "โลกสามมิติ โลกวิชาการ (The Academic World) โลกสังคม (The Social World) และโลกไซเบอร์ (The Cyber World)  เด็ก ๆ จะเคลื่อนไหวเรียนรู้อยู่่ทามกลางโลกทั้งสามนี้ มันเป็นความพยายามที่จะช่วยพวกเขา ให้ทำการติดต่อค้นหาความหมาย ท่ามกลางความสัมพันธ์ของเหล่าโลกดังกล่าว" 


เราจะเริ่มด้วยคำถามว่า ทุกวันนี้เราได้เรียนรู้อะไรในโรงเรียน สิ่งหนึ่งที่เราเห็นในโรงเรียนประถมศึกษาทางภาคเหนือของอังกฤษที่ครูใหญ่มักเดินไปรอบๆโรงเรียนแล้วเขาจะถามนักเรียนเสมอๆว่า วันนี้เธอได้เรียนรู้อะไร พวกเขาอาจตอบว่า เรียนวิชาเลขคณิตเกี่ยวกับการหาค่าเฉลี่ย (mean, median, mode) แล้วครูใหญ่จะโต้ตอบว่า ไม่ใช่ ฉันไม่ได้ถามเธอถึงสิ่งที่ครูสอน ฉันถามถึงสิ่งที่เธอเรียนรู้
                                                           
 วันหนึ่งระหว่างที่ผมคุยอยู่กับครูใหญ่ มีเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ เดินเข้ามาหาแล้วถามว่า ครูใหญ่ค่ะ วันนี้ครูใหญ่ได้เรียนอะไรมันเป็นคำถามเดียวกันที่ครูใหญ่และครูของเธอเคยถูกถามด้วยเช่นกัน เป็นที่ยอมรับว่า  ครูใหญ่และครูในโรงเรียนก็เป็นผู้เรียนด้วย

เมื่อเราพูดถึงเรื่องของเด็ก ผมต้องการพูดถึงเรื่องโลกสามมิติที่พวกเขาใช้ชีวิตและความพยายามที่ จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ระหว่างโลกทั้งสามนั้นได้แก่ โลกวิชาการ (The academic world)  โลกสังคม (The social world) และโลกไซเบอร์ (The cyber world) นั่นก็คือ โลกของอินเตอร์เน็ต โลกของการสื่อสารด้วย โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Moblie phone)และอื่นๆ เด็กๆ จะเคลื่อนไหว เรียนรู้ท่ามกลางโลกทั่งสามนี้  แน่ล่ะ มันเป็นความพยายามที่จะช่วยพวกเขาให้ทำการติดต่อค้นหาความหมายท่ามกลางความสัมพันธ์ของเหล่าโลกดังกล่าว

เดวิด เบอร์ลิเนอร์ (David Berliner) นักวิชาการชาวอเมริกัน ที่ศึกษาถึงชีวิตงานในโลกไซเบอร์ ได้กล่าวว่า เด็ก ๆได้เรียนรู้ผ่านบริบทที่แตกต่างกัน ได้ประสบการณ์ต่าง ๆ จากอินเตอร์เน็ต


เราจะดูที่ห้องเรียนของเขาเป็นห้องเรียนที่อยู่ในโรงเรียน โรงเรียนอยู่ในชุมชนและเด็กๆ ที่อยู่ในครอบครัว  อยู่กับเพื่อนบ้านและกลุ่มเพื่อน  เขาพูดว่า แม้บริบทเหล่านี้จะสร้างทัศนคติและแรงบันดาลใจอย่างมีพลังได้มากกว่าครูของพวกเขา คำถามคือ อะไรที่เป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่สุดที่ในตัวเด็กที่เราจะต้องคิด อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของพวกเขา ครอบครัว เพื่อนบ้าน กลุ่มเพื่อนในโรงเรียน ครู หรือนโยบายและสิ่งแวดล้อมทางการเมือง

ผลกระทบทั้งหมดนี้ขอให้ใช้เวลาคิดสักสองสามนาทีถึงผลสะท้อนกลับเราเห็นเป็นอย่างไร ในประสบการณ์ของเรา ในประเทศ ของเรา ในบริบทของเรา อะไรสำคัญที่สุด งานวิจัยได้บอกเราไว้มากเกี่ยวกับเรื่องผลสะท้อนจากพ่อแม่ซึ่งมีอิทธิพลมาก มันเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ของเด็ก ๆ บ่อยครั้งที่กลุ่มเพื่อนมีผลสะท้อนอย่างมาก มากกว่าพ่อแม่เสียอีก ความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งเหล่านั้นในฐานะครู เราจะต้องมีความเข้าใจ และจำไว้ว่า เด็ก ๆ มีชีวิตอยู่ในเครือข่ายพวกเขา อยู่กับกลุ่มเพื่อน อยู่กับพ่อแม่และเพื่อนบ้าน  

ไม่มีที่ไหนที่จะแสดงให้เห็นได้ดีเท่ากับภาพยนตร์ ฝรั่งเศสชื่อ Entre les murs ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Classroom  ในภาพยนตร์ได้แสดงให้เห็นถึงพลังของการเรียนรู้แบบนี้ ในเรื่องนี้ เป็นเพียงเรื่องของเพื่อนบ้านในชานเมืองปารีส ที่กล่าวถึงอิทธิพลที่เด็กสามารถเรียนรู้ ในตอนจบ เมื่อพวกเขาเข้ามาในห้องเรียน ได้แสดงให้เห็นถึงความเศร้าโศกของครูที่นั่งเหน็ดเหนื่อยอยู่หลังโต๊ะ เวลาที่ยาวนานได้หมดลงด้วยคำพูดที่ว่า ผมไม่ได้เรียนรู้อะไร ไม่สำคัญว่า เขาได้ทำงานหนักเพื่อเด็กของเขาเหล่านี้อย่างไร บ่อยครั้งที่พวกเขากลับไปหา เพื่อนบ้าน ครอบครัวและกลุ่มเพื่อนของเขา ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมากในแต่ละวัน ครูต้องทำงานอย่าง หนักในความพยายามที่จะสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างห้องเรียนกับบริบทต่าง ๆ 


             บาโรนเนสส์ ซูซาน กรีนฟิลด์ (Baroness Susan Greenfield) แห่งมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ได้ทำการวิจัยบริบทที่เด็กใช้ชีวิตอยู่ พบว่า มีอยู่ 3 บริบท นั่นคือ โรงเรียน  (School) บ้าน (Home) และโลกเสมือนจริง (Virtual world) ถ้าเราต้องการอยากจะรู้ว่าในแต่ละวันเด็กๆได้ใช้เวลามากน้อยเพียงใดกับบริบทเหล่านี้ ลองใส่ตัวเลขดู ในปีหนึ่งๆในประเทศของคุณ ไม่ว่าที่โรงเรียน ที่บ้าน และในโลกเสมือนจริง เด็ก ๆ ใช้เวลากับมันอย่างละกี่ชั่วโมง อาจขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่พวกเขาใช้ ไม่ว่าจะโดยโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์และสื่ออื่น ๆ ของพวกเขา

                สิ่งที่ซูซาน กรีนฟิลด์พบในงานวิจัยของเธอ ที่เป็นงานวิจัยในมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ถึงเวลาที่ใช้ในโรงเรียนเมื่อเทียบกับที่บ้านและโลกเสมือนจริง แน่ล่ะสิ่งต่างๆมันต่างจากประเทศอื่นๆ  เพียงแต่หยุดคิดสักนาที มันอาจมีค่าที่ทำให้รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริบทต่างๆ ต่องานการเรียนการสอน  จริง  ๆ แล้ว มันมีผล ที่ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพมากกว่าไม่มีประสิทธิภาพ

มีคำถามมากขึ้นเกี่ยวกับโลกในอนาคต ลองพิจารณาดูว่ามันจริงหรือไม่ เราเตรียมตัวเด็กเข้าสู่การทำงาน แต่ยังไม่ยั่งยืน เราสอนให้ใช้เทคโนโลยีแต่ยังไม่ประดิษฐ์คิดค้น สอนให้รู้การแก้ปัญหาแต่ไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร ใช่หรือไม่ ถ้าบางอย่างเป็นจริง เราเข้าใจอย่างไรในฐานะที่เป็นครู


ฮาร์มุต วอน เฮนติก (Harmut Von Hentig) นักการศึกษาชาวเยอรมัน กล่าวถึงเด็กคนหนึ่ง ถามลุงของเขาว่า ฉันควรไปโรงเรียนหรือไม่ ทำไม คำตอบจากลุงของเขาตอบว่า ไม่ เหตุเพราะว่าเรามีเทคโนโลยี ที่สอนอะไรต่อมิอะไรได้ ในสังคมโลก ที่เด็ก ๆ สามารถพบเจอผู้คนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน เช่น ศาสนาต่างกัน ความสามารถต่างกัน ตอนจบเขาพูดว่า เชื่อได้เลยว่า จะวันนี้หรือวันไหน ๆ ทุกอย่างจะอยู่ที่โรงเรียนทั้งหมด  มันเป็นสถานที่ที่จะนำนักเรียนมาอยู่ร่วมกัน ที่จะช่วยพวกเขาให้เรียนรู้การมีชีวิต ในสังคมการเมืองของพวกเรามันจึงเป็นความต้องการที่แย่มาก ๆ

ท้ายสุดนี้ มีคำถาม 6 ข้อที่เราอาจต้องคิดคือ  ฉันจะฉลาดอย่างไร ฉันไม่ฉลาดแต่มีวิธีการใดที่จะฉลาด ฉันจะทำอะไรบ้างเกี่ยวกันเรียนรู้ของตนเองงานอะไรที่ดีที่สุดสำหรับฉันในฐานะผู้เรียน จุดแข็งของฉันคืออะไร จุดอ่อนของฉันคืออะไรอะไรที่จะช่วยและรักษาการเรียนรู้ของฉันกับใครที่ไหนเมื่อไหร่ที่ฉันจะเรียนรู้ให้ดีที่สุด

เดี๋ยวนี้มันยังเป็นคำถามและผมคิดว่าเด็กของเราควรได้ตั้งคำถามเหล่านี้ แต่ผมคิดว่ามันยังเป็นคำถาม ที่พวกเราจะต้องถามตัวเองด้วย คิดถึงคำถามเหล่านั้น เราจะทำอะไรต่อไปกับถามคำถาม 6 ข้ออย่างมีพลัง มันเป็นธรรมชาติของการเรียนรู้และจริง ๆ แล้วมันมีนัยยะต่อการสอนด้วย  เราจะตอบคำถามเหล่านั้นอย่างไร

........................................................................................................................................
John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น