วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความรู้ก็ต้องการประชาธิปไตย (Democratization of Knowledge)




                                                                                                                            สุริยา เผือกพันธ์ : เรียบเรียง

                “ถ้าการศึกษาทางเลือกต้องการเสรีภาพเป็นดั่งท้องทะเลแห่งการเลือก การเรียนรู้ต้องการผืนฟ้ากว้างเป็นพื้นที่ของการแสวงหายิ่งกว่า”

คำสำคัญ : ประชาธิปไตยของความรู้ (Democratization of Knowledge) การเรียนรู้แบบสืบค้น (Inquiry Approach) การศึกษานอกระบบ, การศึกษาในระบบ

                แทบไม่น่าเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นจริงในสังคมการสื่อสารบนโลกใบนี้ เชอริล เลมเก (Cheryl Lemke, 2554: 359) ได้กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในศตวรรษที่ 21 ตัวเลขที่เกิดขึ้นน่าตกใจมาก
                มีการเฉลิมฉลองการเชื่อมต่อในระบบโทรศัพท์มือถือครบ 4,000 ล้านเลขหมาย ในปี 2009
                มี URL ที่ไม่ซ้ำกันกว่าหนึ่งล้านล้านรายการในดัชนีของกูเกิ้ล
                มีผู้ชมคลิปวิดีโอ Guitar เกือบ 61 ล้านครั้งบนยูทูบ
                มีการโพสต์ในบล็อกโดยเฉลี่ย 9 แสนโพสต์ ทุก 24 ชั่วโมง
                มีการทวีตมากกว่า 2,500 ล้านข้อความบนทวิตเตอร์
                กูเกิ้ลซื้อยูทูบในปี 2006 ด้วยราคา 1.65 พันล้านดอลลาร์
                มีคนกว่าร้อยล้านคนเข้าเฟสบุ๊คทุกวันและ
                ทั่วโลกใชเวลาประมาณ 2.6 พันล้านนาทีต่อวันหมดไปกับการเล่นเฟสบุ๊คใน 35 ภาษา



                ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้น !!!!
                ร้อยละ 96 ของเด็กอายุ 9 – 17 ปี รับเอาวัฒนธรรมเว็บ 2.0 มาใช้สร้างเครือข่ายสังคม เขียนบล็อก ทวีตข้อความ ทำแผนที่ จีพีเอส และเล่นเกมออนไลน์ เยาวชนเหล่านี้สื่อสารกันทันที ผ่านการส่งข้อความและการแบ่งปันไฟล์ต่าง ๆ นอกโรงเรียน
                ทั้งหมดที่กล่าวถึง เป็นวัฒนธรรมของเด็กอเมริกัน
                ถ้าการทำให้แน่ใจว่านักเรียนทุกวันนี้พร้อมจะใช้ชีวิต เรียน ทำงานและเติบโตในโลกไฮเทค โลกที่เปลี่ยนเป็นหนึ่งเดียวและโลกแห่งการมีส่วนร่วม เหล่านี้คือ ความรับผิดชอบของนักการศึกษาแล้ว ระบบโรงเรียนของสหรัฐอเมริกา ดูจะต่อไม่ติดกับวัฒนธรรมของสังคมปัจจุบันเลย
                หนำซ้ำโรงเรียนจำนวนมาก กลับตรวจค้นเครื่องมือทางเทคโนโลยีของนักเรียน (เช่น สมาร์ทโฟน โทรศัพท์ มือถือ ไอพอด ไอทัช) ที่ประตูทางเข้าโรงเรียนอีกต่างหาก
                ดูเหมือนว่าทุกหนแห่งจะหวาดระแวงกับการใช้เทคโนโลยีของเด็กและเยาวชนไปเสียหมด ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งสังคมไทย
                เพราะปรากฏการณ์ของการใช้สื่อของคนกลุ่มนี้เป็นไปในทางบันเทิงและล่อแหลมต่อคุณค่าทางจริยธรรมอย่างยิ่ง

                เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้นำเครื่องมือทางเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ จึงควรมีหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ แทนการใช้กฎข้อห้ามอย่างเข้มงวด เพราะแท้จริงแล้วไม่มีข้อห้ามใดศักดิ์สิทธิ์เพียงพอ ต่อการห้ามปรามการใช้เทคโนโลยีของเด็กในช่วงเวลาที่พวกเขาพ้นจากรั้วโรงเรียนไปแล้วได้เลย



                เชอริล เลมเก อ้างอิงถึงงานวิจัยของบริดเจ็ต บาร์รอน (Bridget Barron) นักวิจัยจากสแตนฟอร์ต แนะนำว่า ควรสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้นอกระบบในรูปแบบต่าง ๆ แล้วบูรณาการเข้ากับการเรียนรู้ในระบบและเพื่อสร้างหลักประกันว่า นักเรียนจะได้รับความรู้และเกิดความเชียวชาญในการสำรวจ การมีปฏิสัมพันธ์และการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมดิจิทัล จึงควรทำความรู้ให้เป็นประชาธิปไตย (Democratization of Knowledge) ด้วยการเรียนรู้การเข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ เช่น
                การท่องอินเทอร์เน็ต นำคำว่ากูเกิ้ล มาใช้อย่างมีเป้าหมาย โรงเรียนควรทำงานกับนักเรียนในการค้นหาข้อมูล อย่างรู้จักใช้ สำรวจ ตรวจสอบ วิพากษ์ วิจารณ์ ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
วัตถุการเรียนรู้ เป็นทรัพยากรที่สมบูรณ์ในตัวเอง มักอยู่ในรูปแบบดิจิทัลและ/หรือบนเว็บไซด์ซึ่งนำมาใช้และใช้ซ้ำ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ได้ เช่น วิดีโอบนยูทูบ ไฟล์เสียงและ/หรือ วิดีโอสำหรับไอพอด เว็บไซด์แบบโต้ตอบ สไลต์ที่มีคำบรรยายและอื่น ๆ
แบบจำลอง นักเรียนจะเรียนรู้ได้ลึกซึ้งเมื่อพวกเขาสามารถทดลองปรับตัวแปรต่าง ๆ ในแบบจำลองได้
วิชาเรียนที่เผยแพร่ในมหาวิทยาลัย ในปัจจุบันเว็บไซด์ MIT (Courseware และ Rice Connexions) ได้เผยแพร่วิชาเรียนจำนวนนับพันสู่สาธารณชน iTunes University ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งและในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นคือ Coursera หลักสูตรออนไลน์ที่เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
วิชาเรียนออนไลน์สำหรับครูและนักเรียนในระดับก่อนอุดมศึกษา วิชาเรียนทางออนไลน์สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้เรียน ซึ่งมีตั้งแต่ผู้เรียนที่มองหาความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ไปจนถึงผู้เรียนที่ต้องเรียนซ่อม การเข้าถึงวิชาเรียนทางออนไลน์เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับนักเรียนที่กำลังมองหาทางเลือกนอกเหนือไปจาก หลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งมีข้อจำกัดในแง่เวลาและรูปแบบการเรียน
บทเรียนวิชาทางออนไลน์ บทเรียนบทหนึ่งใช้เวลา 4 – 5 วัน (วันละ 1 คาบ) ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานรวมทั้งแผนการสอนและมีลักษณะโต้ตอบอย่างมากกับกลุ่มนักเรียนผ่านทางเว็บไซต์




การวางรากฐานที่มั่นคงในการเรียนรู้แบบสืบค้น (Inquiry Approach) ซึ่งนักเรียนเป็นศูนย์กลางและเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง กำลังอยู่บนทางแพร่งที่นักการศึกษากำลังพิจารณาว่า จะยอมรับความเป็นประชาธิปไตยของความรู้ด้วยการเชื่อมต่อการเรียนรู้ในระบบและนอกระบบเข้าด้วยกันอย่างจริงจังหรือจะเพิกเฉยแล้วยอมเสี่ยงที่จะล้าสมัย และกลายเป็นเพียงโรงงานผลิตประกาศนียบัตรสำหรับการเรียนรู้แบบโต้ตอบที่เกิดขึ้นนอกโรงเรียน
คำถามจากเชอริล เลมเก


เชอริล เลมเก (2556). นวัตกรรมจากเทคโนโลยี ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. พิมพ์
ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัทโอเพนเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำกัด.
                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น