วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

การสอนเพื่อการเรียนรู้ (Teaching for Learning)


                                                                                                 Professor John MacBeath :บรรยาย
                                                                                       สุริยา เผือกพันธ์: ถอดความและเรียบเรียง


การบรรยายในหัวข้อนี้ดูเหมือนว่า จะเป็นหัวข้อที่สำคัญของหลักสูตร (หลักการพื้นฐานการสอนเพื่อการเรียนรู้) เพราะว่าเนื้อหาที่พูดมาก่อนหน้านี้และจะพูดต่อไปทั้งหมดไม่ได้กล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมาหัวหน้าผู้ตรวจสอบทางการศึกษาในอังกฤษได้เขียนไว้ในหนังสือว่า ครูก็สอนไปและนักเรียนก็เรียนไป มันคงไม่ง่ายอย่างนั้น  จูดิธ วอร์เรน ลิตเติ้ล (Judith Warren Little) ชาวอเมริกันกล่าว  เธอไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมากเพราะมันมีอะไรที่สลับซับซ้อนกว่านั้นมาก และเธอพูดและเขียนว่า เราต้องเห็นการเชื่อมโยงระหว่างความกระหายใคร่รู้และความขี้สงสัยของผู้เรียน เราต้องถามเสมอ ๆ ว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้น เป็นไปแบบง่าย  ๆ หรือไม่ เราจะเชื่อเช่นนั้นหรือ 


                                               ความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) 

ศาสตราจารย์เดวิด ฮาร์เกรีพส์ (David Hargreaves) แห่งมหาวิทยาลัยเครมบริดจ์ได้เคยเขียนไว้ หลายปีมาแล้วเกี่ยวกับความรู้แบบเหนียว (Sticky knowledge)   เดี๋ยวนี้ เขาไม่ได้เชื่ออย่างนั้นแล้ว  เมื่อคุณสอน ความรู้มันเพียงแค่ไปตรึงอยู่กับตัวนักเรียน เขาพูดว่า ให้คุณนึกถึงท่อที่เชื่อมต่อคำพูดของครูไปยังหูของนักเรียนเหมือนความรู้นั้น ผ่านไปตามท่อ มันเป็นวิถีที่ยากลำบากมากในการพูดคุย การพูดคุยที่ผ่านเลยกลายเป็นอดีต  (Negotiate past) ทำให้เกิดข้อสงสัย ที่เรียกว่า สงสัยในตนเอง (Self-doubt) เป็นความไม่ชัดเจน จนอาจพูดว่า  ผมทำได้ไม่ดีในเรื่องนี้ ผมทำได้ไม่ดีในวิชาเลขคณิตและภาษาอังกฤษ  ผมทำได้ไม่ดีในวิชาภาษาต่างประเทศ
                การที่พูดกับตนเอง (Self talk) เช่นนี้ ทำให้คุณสรุปว่า ตนเองแย่ลง ไม่ฉลาด แสนโง่ ไม่ฉลาดเท่ากับคนอื่น ๆ
 การพูดกับตนเองและความเข้าใจผิดเช่นนี้  สำหรับนักเรียนจะสรุปและตัดสินอย่างไร ตัวอย่างเช่น เมื่อครูวิทยาศาสตร์สอนเกี่ยวกับเรื่องปริมาณ  (Volume) มันหมายถึงอะไรมันเป็นชิ้นส่วนเครื่องรับวิทยุใช่ไหมใช้ในเวลาเร่งเสียงให้ดังขึ้นหรือเปล่า และถ้าคุณไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนในความเข้าใจผิดบางอย่างนั้นเด็ก ๆ ก็จะรู้สึกเบื่อหน่ายกับเรื่องเหล่านั้น เพราะว่า บ่อยครั้งที่ การสอนอย่างนั้นมันขาดความรู้พื้นฐาน (Prior knowledge)  มาก่อน นอกเสียจากว่าเราได้รู้มาบ้างแล้ว


สังคมแห่งการเรียนรู้ 

 เราจะเรียนอย่างไร ???
จังจ๊าค รุสโซว (Jean Jacques Rousseau) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ได้เขียนไว้ว่า “ฉันจะสามารถเรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างไร เมื่อฉันไม่เคยรู้เรื่องนั้น ๆ มาก่อนเลย “
 ใช่ มันเป็นปริศนาที่ดำมืดใช่หรือไม่  ด้วยเราต้องการที่จะมีพื้นฐานในการสร้างความรู้ให้ฝังแน่น   เพราะปทัสถานของกลุ่มเพื่อนของเรา ยังไม่ดีจริง จริง ๆ แล้วยังต้องพยายามเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย เพื่อให้ถึงจุดประสงค์ที่โรงเรียนต้องการ

                ดังนั้น ปทัสถานจากเพื่อน ๆ มีส่วนอย่างมากต่อการเรียนรู้ของเรา ในฐานะที่เป็นครู มีคำถาม 6 ข้อ ถามว่า
-นักเรียนของคุณเคยสงสัยในสติปัญญา และความสามารถของพวกเขาใช่ไหม
- พวกเขาทำให้ตนเองแย่ลงใช่หรือไม่
- พวกเขาได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนจากการพูดและปฏิบัติใช่ไหม
- ในฐานะที่เป็นครู ฉันต้องตระหนักในการนำความรู้พื้นฐานที่พวกเขามีมาก่อน ฉันเข้าใจและตรวจสอบ ความเข้าใจผิดของพวกเขาก่อนการสอนใช่ไหม
-ฉันใช้วิธีที่ดีที่สุดในการสื่อสารกับพวกเขาใช่หรือไม่ ไม่ได้พูดเสมอ ๆ  ไม่ได้แสดงเสมอ ๆ ไม่ทำกิจกรรมที่จำเป็นหรือซักซ้อมเสมอ ๆ
 เราต้องคิดอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับว่า อะไรคือวิธีที่ดีที่สุด นี่อาจมองดูบางสิ่งคล้ายกับห้องเรียนของคุณ ถึงแม้ว่าจะไม่เหมือน  แต่ในห้องเรียนนั้น เป็นโลกของเด็ก ๆ และโลกของการเรียนรู้ทั้งหมด


                               หลักการพื้นฐาน 3 ประการเพื่อการเรียนรู้

มีหลักการ  3 ข้อที่เป็นพื้นฐานง่าย ๆ คือ การเชื่อมต่อ (Connect)  การขยาย (Extend)  และความท้าทาย (Challenge) ในการเรียนรู้ของนักเรียน อะไรคือสิ่งที่การสอนของคุณเชื่อมต่อไปถึง อะไรที่เป็นส่วนขยายของการเรียนรู้ของพวกเขา และอะไรคือสิ่งที่ท้าทายต่อความรู้เดิมของพวกเขา  จะทำการเชื่อมต่อกับความรู้ใหม่นี้อย่างไรในสิ่งที่พวกเขารู้มาก่อนแล้ว ด้วยการคิดและทำให้ได้  จะสร้างสิ่งที่พวกเขาคิด สิ่งที่เขารู้สึกและสิ่งที่พวกเขาทำอย่างไร และมันท้าทายอย่างไร นี่เป็นเพียงงานประจำสองสามอย่างของเดวิด เปอร์กินส์

 เราเคยพูดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ การขยาย การท้าทาย อะไรที่ทำให้คุณกล่าวถึงมัน มันเป็นคำถามที่มีพลังไม่ใช่หรือ  อะไรที่ทำให้คุณพูดอย่างนั้น อะไรที่ทำให้คุณคิด ทำให้คุณรู้และ อะไรที่คุณยังเป็นปริศนาอยู่

คุณสามารถสร้างคำถามเกี่ยวกับบางสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น  2 คูณ 2 เป็น 4 ไหม อะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณประหลาดใจ


และต่อมาสิ่งที่เป็นยุทธวิธีที่สำคัญในห้องเรียนก็คือ การคิด (Think)  การจับคู่ (Pair)  การแบ่งปัน (Share) เมื่อถามคำถาม อย่าให้มีใครยกมือตอบ ให้ช่วยกันคิดก่อน แล้วจับคู่กับคนอื่น ๆ จากนั้นให้แบ่งปันความคิด สุดท้ายเราจะจัดระเบียบวิธีการตอบคำถามให้ ทุกคนได้เรียนรู้

การเรียนรู้ทั้งหมดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Social)  เป็นอารมณ์ (Emotional) เป็นการใช้สติปัญญา (Intellectual) ด้วยการเปิดใจ เราจะทำให้นักเรียนร่วมกันคิด ร่วมกันมีความรู้สึกและร่วมกันปฏิบัติได้อย่างไร

เกรแฮม กรีน (Graham Greene) กล่าวไว้ในหนังสือ “The Power and the Glory” เขาพูดถึงวินาทีที่สำคัญของเด็ก ๆ เมื่อประตูแห่งโอกาสได้เปิดออกและเชื้อเชิญพวกเขาเข้าไปสู่โลกแห่งอนาคต  เวลาที่เหมาะสมจะเป็นเวลาที่สามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการเรียนรู้ตรงจุดเน้น  จะมีความเป็นไปได้ “เป็นนาทีทองของการสอน”  ถ้าเราไม่มีนาทีทองของการสอนการเรียนรู้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

 ในเรื่องนี้ ในปี 1952 โรเบริ์ต ฮาไวเฮริสต์ (Robert Havihurst) นำไปใช้ในงานสัมมนาบ่อย ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติการเรียนรู้และการพัฒนามนุษย์ (The nature of human development and learning)

                ขอให้ย้อนกลับไปที่คำถามในตอนต้นอีกครั้ง ที่ถามโดยจูดิธ วอร์เรน ลิตเติ้ล  เราต้องเห็นการเชื่อมต่อระหว่างความกระหายใคร่รู้และความขี้สงสัยของผู้เรียน เราจะรู้อย่างไร และเราจะสามารถทำให้ครูรู้ได้อย่างไรว่าในหัวของเด็กมีอะไร

               จริง ๆ พวกเขามีสมาธิ คิดเกี่ยวกับสิ่งที่ครูพยายามก้าวข้ามหรือคิดเรื่องอื่น ๆ อยู่หรือไม่ เช่นพวกเขา กำลังจะไปไหน  จะทำอะไร มีอะไรหรือกินอะไรหรือไม่หลังเลิกเรียน หรือพวกเขากำลังจะไปทำอะไรกับ เพื่อนหรือไม่ เมื่อโรงเรียนเลิก มันเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่เราไม่รู้... แล้วเราทำให้รู้ได้ไหม

และนั่นทำไม ไมฮาล ซสิกสเซนต์ไมฮาลีอิ (Mihaly Csikszentmihalyi) นักจิตวิทยาชาวฮังการี จึงพยายามบอกว่า ถ้าคุณอยากรู้ คุณสามารถไปหาอ่านหนังสือหรือคัดย่อมาจากหนังสือของเขาได้ หนังสือ ชื่อ Flow  เป็นแนวคิดที่อธิบายว่า  เวลาของเด็ก ๆ ที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ได้สูงจริง ๆ ของเขา และเวลา อื่นที่พวกเขามีความคับข้องใจ  เบื่อหรือวิตกกังวล  เขาเรียกสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า Spot Check


Spot Check 

และมันเป็นวิธีที่แสนจะธรรมดามากที่เด็กส่งกระดาษให้พร้อมกับจำนวนของประโยคในนั้น และให้ ครูอาจหยุดและพูดในจังหวะนั้นแล้วเติมเครื่องหมาย (spot check) ลงไปด้านซ้ายมือ ถ้าคุณหยุด พิจารณาใน จังหวะนั้นให้ 1 คะแนน ถ้าคุณหยุดคิดแต่คิดถึงสิ่งอื่น ๆ ให้  3 คะแนน              และในฐานะที่คุณทำต่อไปในรายการนั้น คุณตื่นตัว (Alert) ง่วงนอน (Drowsy) ผ่อนคลาย (Relaxed) วิตกกังวล (Anxious) ปรารถนา  (Wishing) ที่จะอยู่ที่นี่ (  wishing  to be here  ) ปรารถนาที่จะไปอยู่ที่อื่น ๆ บางแห่ง(wishing to be somewhere else) มีความสุข (Happy) เศร้า (Sad) รุก (Active ) ตั้งรับ (Passive) ตื่นเต้น (Excited) เบื่อหน่าย (Bored) มันเป็นเวลาที่ผ่านไปเร็วมากหรือช้ามากหรือไม่

และสิ่งที่เราได้เรียนจากกิจกรรมนี้ เมื่อใช้เป็นเครื่องมือ บ่อยครั้งที่พวกเขาค้นพบกรอบเวลาของพวกเขา กรอบเวลาของนักเรียนไม่เหมือนกัน เวลาอาจผ่านไปเร็วมากสำหรับพวกเขา แต่เวลาของนักเรียนไม่จำเป็น ต้องเหมือนครู

 มันอาจไม่เป็นการกระทำที่น่าตื่นเต้นเหมือนกันเมื่อใช้กับห้องเรียนขนาดใหญ่ เพราะมันเหมาะสำหรับใช้กับกลุ่มนักเรียนขนาด 10 คน ที่อาจใช้เวลาเพียงหนึ่งหรือสองนาทีในห้องเรียนและตัวครูอาจใช้เวลาเท่า ๆกัน เช่นกัน และเมื่อมีการเปรียบเทียบประเภทต่าง ๆ มันสามารถท้าทายและเป็นประโยชน์ในการคิดถึงสิ่งจะทำให้แตกต่างจากเดิมในอนาคตข้างหน้า  แล้วนำมาอภิปรายกับเพื่อน ๆ ของพวกเขา

มันอยู่ตรงไหน เมื่อไหร่ ที่คุณจะมีส่วนร่วมมากที่สุด ตื่นเต้นที่สุดและใช้เวลามากที่สุด จริง ๆ เราจะพบว่าเวลามันผ่านไปรวดเร็วมาก
  
Spot Check มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ แต่ต้องคิดว่า คุณอาจใช้กับนักเรียนทั้งห้องหรือ กลุ่มตัวอย่างในชั้นเรียนหรือไม่  เพราะมันสามารถให้ผลมากจากประโยชน์ข้อมูล ไม่เพียงเท่านั้นคุณอาจใช้มันร่วมกับครูคนอื่น ๆ ในโรงเรียนด้วย  แม้ว่าครูจะสอนต่างวิชาหรือต่างห้อง และคุณอาจใช้ร่วมกับเพื่อนที่เรียนด้วยกันในหลักสูตรนี้ก็ได้

 เมื่อคุณเข้าร่วมประชุมและให้ครูใช้เครื่องมือเดียวกันนี้ จะสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการกระตุ้นให้มีการสนทนาได้เป็นอย่างดี

...............................................................................................................................................................
John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.


วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คิดเหนือคิด (Thinking about Thinking)




                                                                                              Professor John MacBeath : บรรยาย
                                                                                       สุริยา เผือกพันธ์ : ถอดความและเรียบเรียง


พูดถึงเรื่องการคิด...เราไม่ได้คิดตลอดเวลาหรอกหรือทั้งนี้การคิดมันเป็นทักษะ(Thinking skills) ดูเหมือนว่าเราอยากจะพูดให้ตรงกับที่ เราต้องการขณะนี้คือ วิธีการสอนการคิดและพัฒนาทักษะการคิดว่า  จะทำอย่างไร เรามาเริ่มกันด้วยคำถาม ดังนี้

อันดับแรก อะไรคือทักษะการคิด  เราไม่ได้คิดตลอดเวลาหรอกหรือ   จริง ๆแล้วเราต้องการทักษะพิเศษที่นำไปสู่การพัฒนาการคิดใช่หรือไม่  ถ้าเป็นอย่างนั้น ทักษะเหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร และที่ท้าทาย มากไปกว่านั้น เราสามารถสอนได้หรือไม่   เราสามารถสอนให้คนคิดได้หรือไม่

ก่อนอื่นทั้งหมด  การคิดเป็นกระบวน (Process of thinking) กิจกรรมการรู้คิด (Metacognitive activity) เป็นการคิดที่มีเราเป็นเจ้าของความคิด เพื่อพัฒนาไปสู่ระดับความคิดที่แตกต่าง ออกไป (range of different intelligences)

เราจะขยายความออกไปอีกเล็กน้อยเกี่ยวกับหลักการนี้ ที่ไม่เพียงแต่ เป็นความฉลาดของคนธรรมดา แต่เป็นวิธีการที่นำไปสู่การคิดเหนือคิดในที่ระดับแตกต่าง ถ้าคุณอยากจะรู้ !!!!


            การคิด และทักษะการคิดที่แตกต่างนั้น ไม่ใช่การเน้นไปถึงสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอย่างทันทีทันใดเสมอ แต่เป็นการสร้างสรรค์ในความคิด การสร้างความคิดใหม่ (New ideas) คิดนอกกรอบ (Out of the box) ที่บางครั้งเราพูดว่า การพัฒนายุทธวิธีการแก้ปัญหาให้น้ำหนักไปที่การตัดสินใจที่แตกต่าง ด้วยการใช้คำถามเพื่อการระดมสมอง การเชิญชวนให้ปฏิบัติตาม บางครั้งอาจไม่ได้คาดหวังอะไร และอาจได้คำตอบที่ไร้สาระ แต่บ่อยครั้งการการใช้กระบวนการทำให้เราได้คิด ได้รวบรวมข้อมูลข่าวสาร มันเป็นการบุกเบิกการคิดและสร้าง สิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่บางอย่าง

ถ้าคุณเป็นครูและอยู่ในชั้นเรียนถ้าได้ทำแบบนี้สักเล็กน้อย คุณอาจประหลาดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวของคุณ จริง ๆ  ในบางเรื่อง  เด็กนับร้อยนั่งอยู่ต่อหน้าเรา มันเป็นความยากลำบากในความพยายามที่จะทำให้พวกเขาได้แสดงสิ่งที่อยู่ในหัวของพวกเขาออกมาให้เห็น งานศิลปะเป็นสิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ถึงตัวอย่างของการแสดงออก

                สิ่งหนึ่งในงานประจำที่ เดวิด เปอร์กินส์ (David Perkins) ได้ประโยชน์จากการนำไปใช้อย่างกว้างขวางในงานของเขากับครูหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก นั่นคือ  MYST งานประจำ M-Y-S-T  ย่อมาจาก ฉัน  คุณ พื้นที่ เวลา (Me, You, Space, Time) พูดแบบครู ก็คือ ฉันจะพัฒนารูปแบบการคิดในห้องเรียนอย่างไร ฉันจะเป็นเจ้าของความคิดให้เห็นได้อย่างไร  ฉันจะทำให้นักเรียนคิดในสิ่งที่มองไม่เห็นได้อย่างไร

ฉันเป็นสิ่งแวดล้อมหนึ่งในห้องเรียน คิดวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนได้คิดด้วยตนเอง  มีครูและนักเรียน ฉัน และเวลา เวลาที่เป็นสิ่งสำคัญ ฉันจะสามารถให้ มีการคิดมากขึ้นในชั้นเรียนอย่างไร เมื่อเวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยนความคิดอย่างไร

                                                              
                                             วัฎจักรของมุมมอง (Circle of viewpoints)

             ในงานประจำของเขา พวกเขามีงานประจำแบบง่าย ๆ ที่มีหลักการอยู่ 3 อย่างคือ ดู คิด ประหลาดใจ (See, thinks, wonder) ให้ดูรูปภาพและถามคำถามว่า คุณเห็นอะไร ให้อธิบาย  คุณอาจพูดว่า ฉันเห็นผู้หญิง ฉันเห็นเด็กชายตัวเล็ก ๆ ฉันเห็นว่าผู้หญิงก้มลงดูด้วยสายตา

สมมุติว่าแขนของคุณโอบกอดเด็กผู้ชายอยู่  คุณอาจคิดต่อไปเกี่ยวกับว่าอะไรอยู่ในบริบทนี้บ้าง สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ที่นี่คืออะไร คุณประหลาดใจอะไร พ่อแม่ ครู ประเทศไหนที่อาจเป็นแบบนี้ รูป ๆ หนึ่งรูปสื่อความหมายได้เป็นพัน ๆ คำ ถ้าเรามองอย่างพินิจพิจารณามากขึ้นและตั้งคำถามแบบเดียวกันนั้นอีก คำถาม  3 ข้อที่เปอร์กินส์ถามเราให้คิดเกี่ยวกับ สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่  ฉันคิดและประหลาด 3 สิ่งนี้ เรียกว่า วัฎจักรของมุมมอง (Circle of viewpoints)

                ดังนั้น ถ้าคุณมองไปที่รูปภาพอีกครั้งหนึ่งและคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในมุมมองที่แตกต่างออกไป เป็นมุมมองของการเป็นครู มุมมองของนักเรียน นักเรียนคิดอย่างไร นักเรียนรู้สึกอย่างไร คำถามที่มีตามวัฎจักรของมุมมองจะอธิบายอย่างไร ในฐานะครูและนักเรียน


                                                          30 คำถามเพื่อฝึกการคิด 

มีคำถาม 30 ข้อให้คุณดูดังในภาพ ไม่เพียงแต่คำถามว่า ทำไม อะไร ที่ไหนและเมื่อไรแต่บางครั้งคุณยังต้องการเวลาที่จะคิดใช่หรือไม่  เมื่อไรที่คุณต้องการคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถสอนเรื่องนี้กับคนอื่น ๆ หรือที่อื่น ๆ หรือไม่

มาดูคำถาม 30 ข้อนี้กันแล้วพิจารณาดูว่าอะไรที่จะช่วยให้การสอนเน้นการมีส่วนร่วมมากขึ้นและให้นักเรียนได้ใช้เวลาและความสามารถมากขึ้นในการคิดสร้างสรรค์

ท้ายสุดเป็นแผนที่ความคิด (Mind mapping) ที่เปอร์กินส์มุ่งมั่นถามนักเรียนของเขา  เขาหยิบกระดาษขึ้นมา เขียนคำว่า ความคิดดี (Good thinking) ตรงกลาง แล้ววงกลมล้อมรอบ 


                      รูปที่ 1  ภาพตัวอย่างการเริ่มต้นสร้างแผนที่ความคิด (Mind mapping) 

รูปแรกในภาพนี้ มันไม่ใช่การจินตนาการของนักเรียน แต่นักเรียนสามารถเริ่มต้นจากความคิดเดียว ที่ให้ ในรูปที่สอง นักเรียนสามารถคิดได้มากขึ้นว่า  ความคิดที่ดีหมายถึง ได้คะแนนดี ได้เกรดเอ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง เปอร์กินส์กล่าวว่า ความคิดนั้นจะขยายออกไปเล็กน้อย และเมื่อเขาได้เรียนรู้ทักษะการคิดด้วยตัวเองคุณจะพบว่านักเรียนจะมีคำตอบดีขึ้น


                                          รูปที่ 2 การขยายความคิดออกไปได้มากขึ้น

ทั้งหมด ผมดู ผมคิด ผมประหลาดใจ ผมไม่เคยได้รับรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่มีคุณค่าในครั้งแรก ผมชอบการสะท้อนความคิดเห็น ผมชอบการท้าทาย  ผมชอบการวิเคราะห์ และในรูปภาพต่อ ๆ ไป นักเรียนจะได้รับแนวคิดของการคิดที่ดี


                               รูปที่ 3 การขยายแนวคิดจากการตั้งคำถามว่า ฉันเก่งอะไร

ผมกำลังทำแผนที่แนวคิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและขยายไปสู่นักเรียนให้เขาได้พูดว่าฉันคิดว่าฉันเก่งเรื่องอะไรในวิชาวิชาเลข คณิต ฉันคิดว่าฉันเก่งเรื่องจำนวน  จากนั้นถามเพื่อพัฒนาความคิดเหล่านั้น เพิ่มขึ้นไปอีกด้วยการจัดลำดับ คำถามที่เป็นปริศนา ให้คิด ให้ประหลาดใจและให้อธิบายสิ่งทั้งหมด

การวิเคราะห์จัดลำดับทั้งหมดเป็นการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะว่าพวกเขาได้เพิ่มทักษะการสอนของครูไปสู่การคิดด้วยความคิดของพวกเขาเอง ให้คิดสร้างสรรค์และวิเคราะห์มากขึ้นด้วยตัวพวกเขาเอง

ดังนั้น เมื่อคุณได้ใช้การสอนแบบนี้เป็นประจำ อย่างที่เปอร์กินส์ได้กล่าวไว้ มันจะเป็นเรื่องง่ายมาก ๆ ตอนจบบทเรียนหรือสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน ด้วยการตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนรู้ว่า ฉันได้คิดและได้คิดเหนือคิด

..................................................................................................................................

John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เหลียวหลังแลเรื่องการเรียนรู้ (Revisiting learning)



                                                                                            Professor John MacBeath : บรรยาย
                                                                                   สุริยา เผือกพันธ์ : ถอดความและเรียบเรียง


ขอให้กลับไปทบทวนเรื่องการเรียนรู้และตั้งคำถาม 3 ข้อดังนี้  เรื่องอะไรที่เรารู้มาก่อนแล้ว  เรื่องอะไรที่เรายังไม่รู้และอยากจะรู้  นี่เป็นคำถามที่เป็นปริศนาสำหรับคุณ ให้ดูภาพหน้าต่าง4 บานนี้ที่บางครั้งเรียกว่า หน้าต่างจาฮาริ (Jahari Windows)

                เมื่อดูแล้วให้คิดว่า ฉันรู้ว่าฉันรู้เรื่องอะไร ฉันรู้สึกมั่นใจมากเมื่อฉันรู้ว่าฉันรู้เรื่องอะไร และเช่นกันฉันรู้สึกมั่นใจมากเมื่อฉันรู้ว่าฉันไม่รู้เรื่องอะไร และอีกข้อหนึ่งแม้ว่ามันจะยังมีปริศนาอยู่ว่า ฉันไม่รู้ว่าฉันไม่รู้เรื่องอะไร และ/หรือฉันไม่รู้สิ่งที่ฉันรู้มาก่อน ลองคิดสักนิดเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่คุณแน่ใจเพียงแต่ว่านึกไม่ออก ทอม ซอว์เยอร์ (Tom Sawyer) พูดไว้ครั้งหนึ่งว่า เพียงแต่นึกย้อนกลับไปดูมันอีกครั้งหนึ่งและถ้าคุณมองไปที่หน้าต่าง 4 บานและคิดถึงสิ่งนั้นว่ามันคืออะไร เอามันลงไปในใจแล้วพูดว่าในฐานะที่ฉันเป็นครูฉันรู้และมีความมั่นใจมากเกี่ยวกับสิ่งที่ฉันรู้รวมทั้งมั่นใจในสิ่งที่ฉันไม่รู้ด้วย มันเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับครูที่จะต้องยอมรับและมีความมั่นใจว่าตนเองยังจะต้องเรียนรู้อยู่ต่อไป เพราะยังมีอะไรต่อมิอะไรอีกมากที่เรายังไม่รู้มีคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ของมนุษย์ นี่เป็นคำถามเล็ก ๆ ที่เป็นการทดสอบถึง สิ่งที่เรารู้หรือสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้ ลองตอบคำถามเหล่านี้ดู อะไรที่คุณอยากจะเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีก

    
                                                Conscious competency learning model

คุณอยากพูดอะไรเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ที่น่าสนใจนี้ เมื่อคุณคิดในเรื่องนี้และมีความต้องการใช้เวลากับมันบ้าง โดยอาจใช้เวลาร่วมทำกับคนอื่น ๆ บางคน ในการอภิปรายดูความคิดเห็นของเขา ว่าเขาจะคิดอย่างไร  การเรียนรู้ร่วมกันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมของมนุษย์ ในสังคมจริง ๆ เราสร้างมโนภาพ เราคิดเป็นนามธรรมมาก (Construct abstractions)  คุณสามารถนึกถึงภาพสุนัข นก แมว แล้วเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ (Store information outside the body) ไม่ใช่เพียงแค่ในสมอง แต่สามารถเก็บไว้นอกตัว เช่น เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หรือกล้องถ่ายภาพหรือตำราหรือที่อื่น ๆ ใช่หรือไม่ เราคิดเกี่ยวกับเรื่องการคิดของเรา (Thinking about thinking) และสร้างการตัดสินใจด้านศีลธรรม (Make ethical decisions) สร้างภาพผ่านความคิดและความรู้สึก (Portray thought and feeling) ด้วยงานศิลปะ ดนตรี การแสดงออกโดยผ่านวิธีการต่าง ๆ ทุกวิธี สร้างความหมายจากประสบการณ์ของเรา (Construct meaning from experience)  คิดเกี่ยวกับความรู้สึก (Think about feeling)  มองหาปัญหา (Seek out problems) และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน (Learning in reciprocity)


                               คุณลักษณะพิเศษในการเรียนรู้ของมนุษย์

 ถ้าเราจะศึกษาต่อไปและมองไปที่หลักการบางอย่างที่พบจากงานวิจัย จะมี  7 เรื่องที่ผมอยากจะเน้นให้เห็นเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้
อันดับแรก จากนักจิตวิทยาชื่อ ยีน เปียเจต์ (Jean Piaget) กล่าวถึง ความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive conflict) ซึ่งเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับความยากลำบากต่อการนำเอาของสองสิ่งที่ขัดแย้งกันมาไว้ด้วยกันแต่มันต้องผ่านกระบวนการที่จะต้องเรียนรู้และแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น
                อันดับสองคือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) นักการศึกษาชาวอเมริกันกล่าวถึง อิทธิพล (Leverage) เราต้องการบางสิ่งจากอิทธิพลเพื่อทดสอบ เพื่อยกระดับความคิดให้สูงขึ้น
                อันดับสาม คิววอร์ทรัพ (Qvortrup) นักจิตวิทยากล่าวว่า เราไม่สามารถทำอะไรได้ นอกเสียจากว่าต้องปรับช่วงคลื่นให้ตรงกัน เหมือนการปรับคลื่นวิทยุหรือโทรทัศน์ให้ตรงคลื่นนั่นเอง จากนั้นจึงจะเกิดการเรียนรู้ดามาสิโอ (Damasio) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้เริ่มขึ้นจากอารมณ์เป็นสื่อกลาง แต่การเรียนรู้ของเราทั้งหมดผ่านอารมณ์เป็นศูนย์กลาง หรือไม่ก็เป็นความรู้สึกเหมือนดังอารมณ์เป็นตัวกระตุ้น มันเป็นเหมือนปัญหาคณิตศาสตร์และยากที่จะเข้าใจที่สุด มันตรึงแน่นอยู่ที่อารมณ์ของเรา
                อันดับสี่ เดวิด เปอร์กินส์ (David Perkins) นักจิตวิทยาแห่งฮาร์วาร์ด (Harvard) กล่าวถึงเรื่อง ความตั้งใจความตั้งใจจะนำไปสู่การเรียนรู้ เราจะเรียนรู้เมื่อมันท้าทายและเกิดทักษะ เมื่อเราถูกท้าทายเราสามารถยกระดับการเรียนรู้ไปสู่ความท้าทายนั้นและจะพบกับหลักการในการเรียนการสอน เดวิด กล่าวว่า มันเป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นลักษณะแตกต่างของห้องเรียนที่ดีและครูที่ดี
                อันดับห้า เจอโรมี บรูเนอร์ (Jerome Bruner) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันกล่าวถึงการเรียนรู้โดยการ
สอนผู้อื่น เราเรียนเมื่อเราสอนคนอื่น เพราะว่าเราได้ซักซ้อมแนวคิด เช่นในภาพเด็กผู้หญิงสอนลูกหมี เดี๋ยวนี้คนที่ฉลาดที่สุดในห้องเรียนคือ ผม
                อันดับหก การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม เป็นคำกล่าวของ วีก็อตสกี (Vygotsky) เราเรียนรู้ผ่านคนอื่น แม้ว่าเราอาจจะอยู่ตามลำพัง ศึกษาจากห้องเรียนของเรา ศึกษาจากการบ้านของเรา หรือศึกษาจากการอ่าน เราสามารถนำมาจากคนรอบ ๆ ข้าง
                อันดับเจ็ด โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ กล่าวถึงความสำคัญของบริบท บริบทคือ การวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นสิ่ง ที่ยากสำหรับเด็ก พวกเขาเรียนรู้จากบริบทหนึ่งไปสู่บริบทอื่น ๆ จากห้องเรียนหนึ่งไปสู่ห้องเรียนหนึ่ง เช่น ห้องเรียนคณิตศาสตร์ข้ามไปสู่ห้องเรียนภาษาอังกฤษหรือวิทยาศาสตร์ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นบริบทที่อยู่รอบ ๆ  และแม้แต่ยากไปกว่านั้น คือ การนำการเรียนรู้ของคุณจากห้องเรียนหรือโรงเรียนไปสู่สิ่งที่การ์ดเนอร์เรียกว่าสนามเปิด (Open field) ที่ไม่มีโครงสร้าง ไม่มีครูหรือตำราช่วยพวกเราแต่เราต้องถอยหลังกลับไปหาทรัพยากรของเรา ความคิดของเรา ทักษะของเราเอง


                ท้ายสุดนี้ ทุกอย่างที่กล่าวถึงต้องการการสะท้อนความคิดเห็น ซึ่งจะช่วยให้เราได้พัฒนาให้ดีกว่าเดิม แต่รูปแบบการช่วยเหลืออาจต้องกลับไปคิดอีกครั้ง ว่าจะคิดอย่างไร ให้ดีขึ้น ถ้าครั้งแรกล้มเหลว ก็ทำอีกครั้ง ล้มเหลวดีกว่าไม่ได้ลงมือทำอะไร  มีน้อยที่ผลสะท้อนนั้นจะบอกให้ทำในสิ่งผิด ๆ

ถ้าเป็นครู คุณจะสามารถนำความคิดทั้งหมดนี้ไปปฏิบัติในห้องเรียนอย่างไร ถ้าคุณชอบและกำลังต้องการทำ มันเป็นงานยาก แต่ทั้งหมดนี้ มันเป็นสิ่งสำคัญและเป็นคุณลักษณะที่ครูทั้งหลายทำกัน สิ่งที่ครูทำการศึกษาห้องเรียน เป็นการใช้ความคิดว่า ฉันจะรู้อย่างไรว่าห้องเรียนมีความพอดี เมื่อนักเรียนเรียนรู้หรือไม่เรียนรู้  เมื่อพวกเขาไม่มีสมาธิ เมื่อพวกเขาเบื่อหน่าย หรือเมื่อพวกเขามุ่งมั่นตั้งใจ ฉันจะรู้ความหมายจากภาษากายนั้นของเด็กอย่างไร

และเมื่อฉันได้ปฏิบัติอย่างนั้น ฉันสามารถเปลี่ยนแปลงอะไร ดูสไลด์ของเดวิด เปอร์กินส์ ที่เขากล่าวถึงว่า เราสามารถที่จะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่โดดเด่นของการเรียนรู้ในห้องเรียนอย่างไร เขาได้กล่าวถึงสิ่งที่จะทำให้คุณทำได้เช่นนั้น 4 ประการด้วยกัน หนึ่งเรียนรู้เกี่ยวกับจุดประสงค์ของความตั้งใจ สองเรียนรู้เกี่ยวกับจุดประสงค์การพูดคุย สาม เรียนรู้ถึงจุดประสงค์ของการสะท้อนผล และสี่เรียนรู้เกี่ยวจุดประสงค์ของการเรียนรู้มันเป็นความคิดที่มีค่า คุณจะพูดถึงธรรมชาติของการเรียนรู้อย่างไร ไม่ใช่เพียงแค่ผ่านทางหลักสูตรเท่านั้นแต่ยังต้องหยุดใช้เวลาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ เรื่องการคิด เรื่องการเรียนรู้ในตัวมันเองของจุดประสงค์การพูดคุย

ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่อยากแนะนำคุณคือ การอ่านบทความของเดวิด เปอร์กินส์ ซึ่งหาได้ในเว็บไซด์ในเรื่อง Visible Thinking และเมื่อคุณได้อ่านแล้วลองกลับไปดูคำถามที่เคยถามไว้    คำถามบางคำถาม ให้คุณสะท้อนผลและคิดเกี่ยวกับการจะประยุกต์ใช้ความคิดสำคัญ ๆ ในห้องเรียนนั้นอย่างไรซึ่งคุณอาจได้ทำมาบ้างแล้วก็ได้คุณอาจทำมันโดยสัญชาติญาณและเป็นธรรมชาติมาแล้ว ขอแต่คิดให้เป็นระบบก็จะช่วยเสริมแรงและขยายสิ่งที่คุณได้ทำไปแล้วให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก

..........................................................................................................................................................
John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.


วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ครูมืออาชีพ (Being a Professional )


(John MacBeath ภาพจาก www. educ.cam.ac.uk)


                                                                                                 Professor John MacBeath: บรรยาย
                                                                                       สุริยา เผือกพันธ์ : ถอดความและเรียบเรียง

ก้าวสู่ความเป็นครูมืออาชีพ

ครูมืออาชีพคืออะไร อะไรคือเครื่องหมายบ่งบอกถึงความเป็นครูมืออาชีพ มีจรรยาบรรณที่เน้นเป็นพิเศษอยู่ 4 อย่างคือ การใช้ความรู้ใหม่ ทักษะใหม่ การให้ความสำคัญกับงานวิจัยและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น และการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะนี้ไปทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น โดยการสอน การให้บริการแก่เด็กนักเรียน เพื่อนร่วมงาน พ่อแม่และชุมชนอย่างกว้างขวาง เพราะว่าการสอนเป็นการมุ่งมั่นพัฒนาบุคลิกภาพและพัฒนาอารมณ์ด้วย ด้วยเป็นที่ยอมรับว่า อาชีพครูแตกต่างจากสาขาอาชีพต่าง ๆ

 ครอสเวลล์และอีเลียต (Crosswell and Elliot) กล่าวว่า ครูโดยทั่วไปจะชอบการเป็นครู หรือครูที่ดีที่สุดจะชอบงานการเป็นครูของพวกเขา พวกเขาจะพัฒนางานให้ก้าวหน้า  ไม่เพียงแต่สร้างความสุขให้เกิดในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังใช้เวลาทุ่มเททำกิจกรรมนอกห้องเรียนอีกด้วย พวกเขาจะให้ความสำคัญต่อความต้องการของนักเรียนแต่ละคนและมีความรับผิดชอบต่อนักเรียนของพวกเขาไม่เฉพาะแต่เรื่องการให้ความรู้แต่ยังทำการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพัฒนาระบบคุณค่าอีกด้วย ครูจะธำรงรักษาความรู้ที่คงความเป็นครูมืออาชีพไว้อย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในระดับกว้าง

            
                                                     (ภาพจาก www.pinterest.com)

แต่อะไรที่จะช่วยครูให้ได้รับการพัฒนาและเจริญก้าวหน้า อะไรคือการอบรมบ่มเพาะให้ครูเป็นมืออาชีพ อะไรคือสิ่งที่จะช่วยนำครูให้สร้างพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพของพวกเขา นักวิจัยชาวอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge) ซึ่งต่อมาได้ไปสอนที่วิทยาลัยแห่งชาติ (National College)ได้กล่าวถึงเรื่อง สารพิษและสารอาหาร (Toxins and Nutrients) ว่า สารอาหารคือ สิ่งที่จะช่วยให้ครูมีความก้าวหน้า ส่วนสารพิษคือ สิ่งที่จะทำให้ครูล้าหลัง นี่คือสารพิษ 7 ชนิดที่ เจฟฟ์ เซาท์เวิร์ด (Jeff Southworthได้พบในงานวิจัยของเขา (ตาราง 1 ดังแนบ) เมื่อเขาได้ถามบรรดาครูทั้งหลายว่า  มีงานอะไรบ้าง ที่ทำให้พวกคุณรู้สึกว่าเป็นอุปสรรคต่อความเป็นครูมืออาชีพ  อะไรที่ทำให้แรงจูงใจในห้องเรียนของคุณลดน้อยลง ให้ลองคิดดู อะไรที่ทำให้ไม่ยอมรับและขโมยมันไป การวิพากษ์วิจารณ์ การไม่ยอมรับ การตัดสินตลอดเวลาบอกสิ่งที่ทำบ่อย ๆ การทำตามสั่ง และไม่รับฟังผู้อื่น ใช่หรือไม่ ไม่เพียงแต่ไม่รับฟังนักเรียนเท่านั้น ยังหมายถึงการไม่รับฟังผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในหน้าที่การงานอีกด้วย

 และในทางตรงกันข้าม อะไรที่จะช่วยสนับสนุน สร้างแรงบันดาลใจและอบรมบ่มเพาะครู สิ่งนั้นคือ สารอาหาร เช่น การสร้างคุณค่า การส่งเสริม การสังเกต ความไว้วางใจ การรับฟังผู้อื่น และการเคารพนบนอบจริง ๆ คุณเป็นเช่นไร
สิ่งเหล่านี้จะดังก้องอยู่กับตัวคุณ สิ่งเหล่านี้ อาจมีความคล้ายคลึงกับบางอย่างที่คุณมีอยู่แล้วในชีวิตการทำงานของคุณ แต่ก็อาจมีหลายอย่างที่แตกต่างจากรายการดังกล่าวนี้ สิ่งที่แตกต่างเหล่านั้นอาจสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้คุณได้เช่นกันและบางอย่างที่คุณพบมันเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคุณมานาน ในทุก ๆ วัน

            ต่อคำถามที่ว่า แล้วคุณจะทำอย่างไรเพื่อเอาชนะสิ่งเหล่านั้น มีบางอย่างที่อธิบายโดยนักวิจัยชาวแคนนาดาชื่อ บาร์เน็ตต์ (Barnett) ซึ่งได้พูดเกี่ยวกับเรื่องช่องว่างระหว่างความคิด 2 ด้านนี้ว่า อะไรที่มีความสัมพันธ์ที่นำไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ  ครูยังต้องต่อสู้กับสถานภาพและความเคารพนับถือ ขณะเดียวกันก็มีความคาดหวังที่จะเป็นคนที่มีความสามารถ กล้าเสี่ยง ประนีประนอมและยินยอมพร้อมใจด้วย



                                  
                                 The dilemma space: between the rock and the whirlpool

ศาสตรจารย์ชาร์ล แฮมป์เดน เทอร์เนอร์ (Charls  Hamden Turner) แห่งเคมบริดจ์ได้นำเอาช่องว่างระหว่างแนวคิด 2 ด้านนี้ไป พิจารณาและให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยใช้เส้นแกน 2 เส้น กล่าวคือใช้แกนตั้ง (Vertical axis) วัดผลการปฏิบัติงาน ใช้แกนนอน (Horizontal axis) บอกถึงการสร้างการเรียนรู้และการพัฒนาและบอกด้วยว่า ถ้าคุณวิตกกังวลมากเกี่ยวกับเรื่อง การจัดลำดับการวัดผลการปฏิบัติงาน คุณอาจกลายเป็นไดโนเสาร์เล็ก ๆ  แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณปฏิเสธการให้ความสำคัญกับการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งหมด คุณอาจกลายเป็นนกกระจอกเทศเล็ก ๆในทะเลทราย ด้วยเช่นกันหรือถ้าคุณให้เวลาทั้งหมดกับการสร้างสรรค์ การเรียนรู้และการพัฒนาและไม่ยอมรับมุมมองอื่น ๆ เช่นการประเมินผลและการตรวจสอบ คุณก็พร้อมที่จะสูญพันธุ์ เหมือนอย่างตัวยูนิคอร์น  แต่ถ้าคุณสามารถผสมผสานองค์ประกอบทั้งสองส่วนนี้เข้าด้วยกันทั้งสองแกน ให้ความสำคัญต่อการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของเด็ก เท่า ๆ กับการสร้างสรรค์การพัฒนานักเรียน คุณก็จะเป็นเหมือนดั่งพญาอินทรีย์ที่เห็นในภาพ

            แต่อาจมีบางครั้งที่ตกอยู่ไปในพื้นที่ตรงกลาง ซึ่งไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรมันเป็นสถานการณ์ทั้งดันและดึง นายแพทย์ดูโอลิตเติล (Doctor Doolittle) กล่าวว่าเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวหนึ่งที่ดึงและดันคุณด้วยหัวสองหัวที่หันหน้าไปคนละทาง คุณลองคิดไปถึงเพื่อนร่วมงานหรือคนอื่น ๆ ที่อาจทำให้คุณเป็นอย่างนั้น ใช่หรือไม่

ในช่องว่างระหว่างสองแนวคิดทุกแนวคิด  เป็นบางสิ่งที่พวกเรายากจะรักษาไว้และจะทำให้ความกดดันจากการทำงานจะเกิดขึ้นทันทีทันใด

             ชาร์ลส์ ฮัมเมล อธิบายและถามครูว่า คุณเคยอยากจะให้วันหนึ่งมีสัก 30 ชั่วโมงไหม เพราะว่ามันมีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ดูเหมือนว่ายังไม่ได้ทำ มันเป็นงานที่ยังคั่งค้างอยู่ แต่ถ้าคุณหยุดตรึกตรองดู ลองคิดถึงงานการสอนของเรา คิดถึงแนวคิด 2 ด้านนี้อย่างลึกซึ้งจริง ๆ ในเวลาเท่าที่เรามี ลองย้อนกลับไปทบทวนในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์และแต่ละปี เรายอมรับว่า บ่อยครั้งที่เราขับเคลื่อนงานตามความต้องการของผู้อื่น ด้วยเหตุผลแต่ที่จริง ๆ แล้วเราไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของงานของเราเอาไว้ แต่ไปให้ความสำคัญกับงานของคนอื่นก่อน
                                

ตารางวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญของงาน
ระหว่างความสำคัญ (แกนตั้ง) และความเร่งด่วน (แกนนอน)

ให้พิจารณาตารางที่แสดงไว้นี้ มันมีสองมุมมองคือ  ทางหนึ่งเป็นแกนตั้งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของงานและอีกแกนหนึ่งเป็นแกนนอนที่แสดงให้ เห็นถึงความเร่งด่วนของงาน  ตารางนี้จะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ถ้าเราคิดถึงการสอนของเราและการเรียนรู้ของนักเรียน อะไรคือ สิ่งที่ไม่สำคัญและเร่งด่วนจริง ๆ

            ส่วนล่างซ้าย เรามีงานที่ควรทำและมีความเร่งด่วน ที่กดดันเราตลอดเวลา แต่มันไม่สำคัญ และเมื่อดูไปที่ส่วนบนซ้ายมือ มีงานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน  เมื่อเราเอาเด็กเป็นสำคัญ ลองมาพิจารณาว่า คุณมีสิ่งใดที่จะต้องทำเพื่อพวกเขา  แต่ต้องใช้เวลามาก มันมีบางสิ่งที่คุณไม่ต้องทำเดี๋ยวนี้ อะไรเหล่านี้ แล้วคุณจะทำอย่างไร

คุณได้ทอดทิ้งพื้นที่ที่สำคัญและเร่งด่วนหรือเปล่า ในงานการเรียนการสอน ความต้องการของคุณและนักเรียนมันจะอยู่ในพื้นที่นั้น แม้ว่าสิ่งที่เราสอนมีความสำคัญมากที่สุดแต่มันไม่ด่วน ก็ต้องทำแม้จะใช้เวลามาก เป็นต้น


                         
                                                  ตารางการจัดลำดับความสำคัญของงาน
                               ระหว่างความสำคัญ (แกนตั้ง) และความเร่งด่วน (แกนนอน)

ตารางนี้อาจเป็นประโยชน์มากในการใช้เป็นพื้นฐาน คิดถึงเรื่องสิ่งที่คุณจะทำในห้องเรียนอะไรที่คุณกำลังทำในแผนงานของคุณ อะไรที่คุณกำลังทำในงานการประเมินผลของคุณ แต่ที่ต้องมาจบลงในตารางที่ 4 ให้คุณกลับไปพิจารณาอีกครั้ง งานบางอย่างที่คุณอยู่ระหว่างการทำและบางสิ่งที่คุณได้รวบรวมใส่ลงในแฟ้มผลงาน งานและกิจกรรมบางอย่างนั้นเป็นภาระหน้าที่ เป็นการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง

            และท้ายที่สุดนี้ ก็มาถึงเรื่องคำถามที่มี 8  ข้อ คำถามแต่ละข้อถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูก ใน 4 ตัวเลือกดังนั้น ก่อนที่จะตอบคำถาม ควรได้ทบทวนสิ่งที่คุณคิด สิ่งที่คุณรู้ สิ่งที่คุณประเมิน เกี่ยวกับการเรียนการสอน ก่อนที่คุณจะตอบคำถาม ซึ่งคุณควรทำเพียง 1 ครั้ง ให้ได้คำตอบที่ถูก ดังนั้นคุณจะมีความสุขมากต่อการตอบคำถามได้ถูกต้องทั้ง  8 ข้อ

                นอกจากคำถามแล้ว คุณอาจทำกิจกรรมอื่น ๆ ตามต้องการ เช่น การอภิปรายกับเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับบางสิ่งที่คุณกำลังทำระหว่างการเรียนในสัปดาห์แรกและ  4 สัปดาห์ที่คุณมี และสิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องใช้ คือ ตารางวิเคราะห์ความสำคัญและความเร่งด่วนในงานการสอน

     
                                                     (ภาพจาก www.eaalearning.com)

           ถ้าคุณเพิ่มคำถามเหล่านี้อีกกับเพื่อนของคุณในโรงเรียนพวกเขาจะมีความคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับเรื่องความสำคัญและความเร่งด่วน อะไรเร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ อะไรสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน การใช้เวลายาวนานสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนและการพัฒนาโรงเรียนในฐานะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

                นั่น สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงประโยชน์อย่างมากมายจากการร่วมกันวิเคราะห์ และใช้การสนทนาไปกระตุ้นให้มีการพัฒนาเพื่อนร่วมงาน มุ่งสู่ความเป็นครูมืออาชีพและจากนั้น เป็นการขยายเนื้อหาโดยนำไปเขียนเป็นบทความ ความยาวประมาณ 400 – 500 คำ สรุปเป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน สิ่งที่คุณได้จากเรียนและเรียนรู้จากการทดสอบแนวคิดเหล่านี้ ร่วมกันกับครูมืออาชีพคนอื่น ๆ
............................................................................................................................................................
John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for   Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.



ตาราง 1 Toxins and Nutrients

Toxins
Nutrients
1.             Ideas being rejected or stolen
2.             Carping criticism
3.             Being ignored
4.             Being judged all time
5.             Being told what to do too much
6.             Being over-directed
7.             Not being listened to
1.            Being valued
2.            Being encouraged
3.            Being noticed
4.             Being trusted
5.             Being listened to
6.             Being respected

This is true from administrators and students in some instances