Professor John MacBeath : บรรยาย
สุริยา เผือกพันธ์ : ถอดความและเรียบเรียง
พูดถึงเรื่องการคิด...เราไม่ได้คิดตลอดเวลาหรอกหรือทั้งนี้การคิดมันเป็นทักษะ(Thinking skills) ดูเหมือนว่าเราอยากจะพูดให้ตรงกับที่
เราต้องการขณะนี้คือ วิธีการสอนการคิดและพัฒนาทักษะการคิดว่า จะทำอย่างไร เรามาเริ่มกันด้วยคำถาม ดังนี้
อันดับแรก อะไรคือทักษะการคิด เราไม่ได้คิดตลอดเวลาหรอกหรือ จริง ๆแล้วเราต้องการทักษะพิเศษที่นำไปสู่การพัฒนาการคิดใช่หรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนั้น
ทักษะเหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร และที่ท้าทาย มากไปกว่านั้น เราสามารถสอนได้หรือไม่ เราสามารถสอนให้คนคิดได้หรือไม่
ก่อนอื่นทั้งหมด การคิดเป็นกระบวน
(Process of thinking) กิจกรรมการรู้คิด (Metacognitive
activity) เป็นการคิดที่มีเราเป็นเจ้าของความคิด เพื่อพัฒนาไปสู่ระดับความคิดที่แตกต่าง
ออกไป (range of different intelligences)
เราจะขยายความออกไปอีกเล็กน้อยเกี่ยวกับหลักการนี้ ที่ไม่เพียงแต่
เป็นความฉลาดของคนธรรมดา แต่เป็นวิธีการที่นำไปสู่การคิดเหนือคิดในที่ระดับแตกต่าง
ถ้าคุณอยากจะรู้ !!!!
การคิด และทักษะการคิดที่แตกต่างนั้น ไม่ใช่การเน้นไปถึงสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอย่างทันทีทันใดเสมอ
แต่เป็นการสร้างสรรค์ในความคิด การสร้างความคิดใหม่ (New ideas) คิดนอกกรอบ (Out of the
box) ที่บางครั้งเราพูดว่า การพัฒนายุทธวิธีการแก้ปัญหาให้น้ำหนักไปที่การตัดสินใจที่แตกต่าง
ด้วยการใช้คำถามเพื่อการระดมสมอง การเชิญชวนให้ปฏิบัติตาม บางครั้งอาจไม่ได้คาดหวังอะไร
และอาจได้คำตอบที่ไร้สาระ แต่บ่อยครั้งการการใช้กระบวนการทำให้เราได้คิด ได้รวบรวมข้อมูลข่าวสาร
มันเป็นการบุกเบิกการคิดและสร้าง สิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่บางอย่าง
ถ้าคุณเป็นครูและอยู่ในชั้นเรียนถ้าได้ทำแบบนี้สักเล็กน้อย คุณอาจประหลาดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวของคุณ จริง ๆ ในบางเรื่อง เด็กนับร้อยนั่งอยู่ต่อหน้าเรา มันเป็นความยากลำบากในความพยายามที่จะทำให้พวกเขาได้แสดงสิ่งที่อยู่ในหัวของพวกเขาออกมาให้เห็น งานศิลปะเป็นสิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ถึงตัวอย่างของการแสดงออก
สิ่งหนึ่งในงานประจำที่
เดวิด เปอร์กินส์ (David Perkins) ได้ประโยชน์จากการนำไปใช้อย่างกว้างขวางในงานของเขากับครูหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก นั่นคือ MYST งานประจำ M-Y-S-T ย่อมาจาก ฉัน คุณ พื้นที่ เวลา (Me, You, Space, Time) พูดแบบครู ก็คือ ฉันจะพัฒนารูปแบบการคิดในห้องเรียนอย่างไร
ฉันจะเป็นเจ้าของความคิดให้เห็นได้อย่างไร ฉันจะทำให้นักเรียนคิดในสิ่งที่มองไม่เห็นได้อย่างไร
ฉันเป็นสิ่งแวดล้อมหนึ่งในห้องเรียน คิดวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนได้คิดด้วยตนเอง
มีครูและนักเรียน ฉัน และเวลา เวลาที่เป็นสิ่งสำคัญ
ฉันจะสามารถให้ มีการคิดมากขึ้นในชั้นเรียนอย่างไร เมื่อเวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยนความคิดอย่างไร
วัฎจักรของมุมมอง (Circle of viewpoints)
ในงานประจำของเขา พวกเขามีงานประจำแบบง่าย ๆ ที่มีหลักการอยู่
3 อย่างคือ ดู คิด ประหลาดใจ (See,
thinks, wonder) ให้ดูรูปภาพและถามคำถามว่า คุณเห็นอะไร ให้อธิบาย คุณอาจพูดว่า ฉันเห็นผู้หญิง ฉันเห็นเด็กชายตัวเล็ก
ๆ ฉันเห็นว่าผู้หญิงก้มลงดูด้วยสายตา
สมมุติว่าแขนของคุณโอบกอดเด็กผู้ชายอยู่ คุณอาจคิดต่อไปเกี่ยวกับว่าอะไรอยู่ในบริบทนี้บ้าง
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ที่นี่คืออะไร คุณประหลาดใจอะไร พ่อแม่ ครู
ประเทศไหนที่อาจเป็นแบบนี้ รูป ๆ หนึ่งรูปสื่อความหมายได้เป็นพัน ๆ คำ ถ้าเรามองอย่างพินิจพิจารณามากขึ้นและตั้งคำถามแบบเดียวกันนั้นอีก
คำถาม 3 ข้อที่เปอร์กินส์ถามเราให้คิดเกี่ยวกับ สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ ฉันคิดและประหลาด 3 สิ่งนี้ เรียกว่า วัฎจักรของมุมมอง (Circle
of viewpoints)
ดังนั้น ถ้าคุณมองไปที่รูปภาพอีกครั้งหนึ่งและคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในมุมมองที่แตกต่างออกไป
เป็นมุมมองของการเป็นครู มุมมองของนักเรียน นักเรียนคิดอย่างไร
นักเรียนรู้สึกอย่างไร คำถามที่มีตามวัฎจักรของมุมมองจะอธิบายอย่างไร ในฐานะครูและนักเรียน
30 คำถามเพื่อฝึกการคิด
มีคำถาม 30 ข้อให้คุณดูดังในภาพ
ไม่เพียงแต่คำถามว่า ทำไม อะไร ที่ไหนและเมื่อไรแต่บางครั้งคุณยังต้องการเวลาที่จะคิดใช่หรือไม่ เมื่อไรที่คุณต้องการคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้
คุณสามารถสอนเรื่องนี้กับคนอื่น ๆ หรือที่อื่น ๆ หรือไม่
มาดูคำถาม 30 ข้อนี้กันแล้วพิจารณาดูว่าอะไรที่จะช่วยให้การสอนเน้นการมีส่วนร่วมมากขึ้นและให้นักเรียนได้ใช้เวลาและความสามารถมากขึ้นในการคิดสร้างสรรค์
ท้ายสุดเป็นแผนที่ความคิด (Mind mapping) ที่เปอร์กินส์มุ่งมั่นถามนักเรียนของเขา เขาหยิบกระดาษขึ้นมา เขียนคำว่า ความคิดดี (Good thinking) ตรงกลาง แล้ววงกลมล้อมรอบ
รูปที่ 1 ภาพตัวอย่างการเริ่มต้นสร้างแผนที่ความคิด (Mind mapping)
รูปแรกในภาพนี้ มันไม่ใช่การจินตนาการของนักเรียน แต่นักเรียนสามารถเริ่มต้นจากความคิดเดียว
ที่ให้ ในรูปที่สอง นักเรียนสามารถคิดได้มากขึ้นว่า ความคิดที่ดีหมายถึง ได้คะแนนดี ได้เกรดเอ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง เปอร์กินส์กล่าวว่า ความคิดนั้นจะขยายออกไปเล็กน้อย
และเมื่อเขาได้เรียนรู้ทักษะการคิดด้วยตัวเองคุณจะพบว่านักเรียนจะมีคำตอบดีขึ้น
รูปที่ 2 การขยายความคิดออกไปได้มากขึ้น
ทั้งหมด ผมดู ผมคิด ผมประหลาดใจ
ผมไม่เคยได้รับรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่มีคุณค่าในครั้งแรก ผมชอบการสะท้อนความคิดเห็น ผมชอบการท้าทาย ผมชอบการวิเคราะห์ และในรูปภาพต่อ ๆ ไป
นักเรียนจะได้รับแนวคิดของการคิดที่ดี
รูปที่ 3 การขยายแนวคิดจากการตั้งคำถามว่า ฉันเก่งอะไร
ผมกำลังทำแผนที่แนวคิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและขยายไปสู่นักเรียนให้เขาได้พูดว่าฉันคิดว่าฉันเก่งเรื่องอะไรในวิชาวิชาเลข คณิต ฉันคิดว่าฉันเก่งเรื่องจำนวน จากนั้นถามเพื่อพัฒนาความคิดเหล่านั้น เพิ่มขึ้นไปอีกด้วยการจัดลำดับ คำถามที่เป็นปริศนา ให้คิด
ให้ประหลาดใจและให้อธิบายสิ่งทั้งหมด
การวิเคราะห์จัดลำดับทั้งหมดเป็นการเรียนรู้ของนักเรียน
เพราะว่าพวกเขาได้เพิ่มทักษะการสอนของครูไปสู่การคิดด้วยความคิดของพวกเขาเอง ให้คิดสร้างสรรค์และวิเคราะห์มากขึ้นด้วยตัวพวกเขาเอง
ดังนั้น เมื่อคุณได้ใช้การสอนแบบนี้เป็นประจำ อย่างที่เปอร์กินส์ได้กล่าวไว้
มันจะเป็นเรื่องง่ายมาก ๆ ตอนจบบทเรียนหรือสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน ด้วยการตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนรู้ว่า
ฉันได้คิดและได้คิดเหนือคิด
..................................................................................................................................
John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge,
Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects
Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director
of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.