วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สร้างความรู้ท่ามกลางสิ่งที่เป็นอยู่ (Theory of Knowledge)



                                                                                                                                       สุริยา เผือกพันธ์ : เขียน

“ในวัฒนธรรมที่เน้นเทคนิควิธีการ เรามักสับสนกันระหว่างคำว่า Authority กับ Power ซึ่งแปลว่า อำนาจเหมือนกัน แต่เป็นสองอย่างที่ต่างกัน Power เป็นอำนาจที่ใช้จากภายนอกเข้าสู่ภายใน ส่วน Authority นั้นเกิดจากด้านในเข้าไปด้านนอก เราพลาดตรงที่มัวหา Authority จากภายนอก” (ปาร์เกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์)

คำสำคัญ (Key words): กระบวนการ A-I-C, สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน, โครงการร่วมพัฒนาหมู่บ้าน,

                ในปี พ.ศ.  2533 ทูริต ซาโต้ (Turid Sato) และวิลเลี่ยม สมิธ (William E. Smith) ร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนและสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้นำเอาการประชุมเพื่อระดมความคิดในการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล ตามกระบวนการ A-I-C (Appreciation, Influence, Control) มาทดลองใช้และเผยแพร่ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทยร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนและกองฝึกอบรม กรมการพัฒนาชุมชนได้นำเอาแนวความคิดนี้ไปดัดแปลงและฝึกปฏิบัติในระดับหมู่บ้านและตำบล ซึ่งได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์และนำมาใช้ในการปรับปรุงวิธีการกับกระบวนการพัฒนาชนบทและสภาพแวดล้อมในสังคมไทย

                โรงเรียนมีชัยพัฒนามุ่งส่งเสริมนักเรียนให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความเสียสละ มีความเป็นประชาธิปไตย เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมและเป็นนักพัฒนาสังคม
             การจัดประชุมระดมความคิดในการพัฒนาหมู่บ้าน เป็นเทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านโดยพลังประชาชนได้ถูกดัดแปลงมาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียน ในการพัฒนาโรงเรียนโดยพลังนักเรียนซึ่งโรงเรียนก็เสมือนหมู่บ้าน
                การจัดประชุมดังกล่าว มีขั้นตอนและวิธีการในการระดมความคิดเห็น เปิดโอการสให้นักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาโรงเรียน คัดเลือกโครงการและบริหารโครงการพัฒนาโรงเรียน


                            "การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นการสร้างความรู้จากฐานราก"

                จากข้อสรุปที่ได้จากการนำเอากระบวนการจัดการประชุมมาใช้ในการพัฒนาชนบทพบว่า

1.กระบวนการนี้ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวในการพัฒนาหมู่บ้าน
2.เปิดโอกาสให้ผู้แทนกลุ่มชาวบ้านต่าง ๆ ในหมู่บ้าน มีส่วนร่วมในการคิด กำหนดทิศทางในการพัฒนาหมู่บ้าน แก้ไขปัญหาและสร้างความเข้าใจถึงความจำเป็นในการพัฒนาหมู่บ้าน
3.กระบวนการนี้เน้นการวางเป้าหมายการพัฒนาที่พึงประสงค์ในอนาคตนับเป็นการรวมพลังการพัฒนาในเชิงสร้างสรรค์
4.ชาวบ้านมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการและมีพลังในการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชน
5.เป็นกระบวนการที่ช่วยให้นักพัฒนาโดยเฉพาะนักพัฒนาจากภาครัฐได้มีโอกาสใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น


"ศิลปะคือ ความรู้ที่นำเสนอด้วยภาพ เป็นการนำเสนอแนวคิดทฤษฎี เช่นเดียวกับสาขาวิชาอื่น ๆ " 
              
นับได้ว่า การจัดประชมเพื่อระดมความคิดในการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล กระบวนการ A-I-C นี้ เป็นวิธีการที่นำประชาชนในชนบทให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านและช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดโครงการที่ตรงกับความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น
จากแนวคิดดังกล่าว เมื่อโรงเรียนดัดแปลงมาเป็นหลักสูตรเพื่อพัฒนานักเรียน นอกจากการฝึกให้มีทักษะในการจัดประชุมแบบ A-I-C แล้ว ยังหวังอีกด้วยว่า ในโอกาสข้างหน้าเมื่อนักเรียนลงศึกษาและพัฒนาชุมชนจะสามารถนำทักษะนี้ไปใช้ร่วมกับชุมชนได้อย่างไม่แปลกแยก ที่สำคัญต่อความหมายใหม่ในการจัดการเรียนรู้ก็คือ นักเรียนได้เรียนรู้จากโลกของความจริง เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นอยู่ เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้น

  ื่
  "ดนตรีคือ ศิลปะที่นำเสนอแนวคิดทฤษฎีด้วยเสียงมีความทัดเทียมกับศาสตร์อื่น ๆ" 

โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ร่วมกันค้นคิดเพื่อพัฒนาดังกล่าว จึงเป็นองค์ความรู้ที่ถูกสร้างขึ้น มาเพื่อประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิต ดังนั้นวิชาความรู้กับผู้เรียนจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่รายรอบตัวผู้เรียน

ถ้าครูมีอารมณ์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสถานการณ์เดียวกัน จะทำให้ครู นักเรียนและวิชาความรู้เป็นหน่วยเดียวกันอย่างแยกไม่ออก

ปาร์เกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์ กล่าวว่า ในวัฒนธรรมที่เน้นเทคนิควิธีการ เรามักสับสนกันระหว่างคำว่า Authority กับ Power ซึ่งแปลว่า อำนาจเหมือนกัน แต่เป็นสองอย่างที่ต่างกัน Power เป็นอำนาจที่ใช้จากภายนอกเข้าสู่ภายใน ส่วน Authority นั้นเกิดจากด้านในเข้าไปด้านนอก เราพลาดตรงที่มัวหา Authority จากภายนอก

                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น