สุริยา เผือกพันธ์: เขียนและเรียบเรียง
"ใช่หรือไม่ ! ในสังคมฐานความรู้ (Knowledge- based Society) ความรู้นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและการมีรายได้ ซึ่งปัจจุบันกล่าวกันว่า มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ความรู้ที่ทำให้เกิดรายได้ (Commercial knowledge) ต่างจากความรู้ทางวิชาการ (Academic knowledge) จริงหรือ"
คำสำคัญ: การฝึกงาน (Apprenticeship), ผู้เชี่ยวชาญ (Master Practitioner), Master based Learning, ความรู้ระดับลึก (Deeply knowledge)
"ใช่หรือไม่ ! ในสังคมฐานความรู้ (Knowledge- based Society) ความรู้นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและการมีรายได้ ซึ่งปัจจุบันกล่าวกันว่า มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ความรู้ที่ทำให้เกิดรายได้ (Commercial knowledge) ต่างจากความรู้ทางวิชาการ (Academic knowledge) จริงหรือ"
คำสำคัญ: การฝึกงาน (Apprenticeship), ผู้เชี่ยวชาญ (Master Practitioner), Master based Learning, ความรู้ระดับลึก (Deeply knowledge)
การเตรียมคนรุ่นใหม่ ด้วยการให้การศึกษาที่เน้นการอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็นไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านการคิดและการสร้างสรรค์
โรงเรียนมีชัยพัฒนา ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าว
เพื่อนักเรียนในชนบท ด้วยการมุ่งไปสู่การพัฒนานักเรียนแต่ละคนให้เต็มศักยภาพ ผ่านหลักสูตรการเรียนที่เน้นการสร้างนักเรียนให้สามารถคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์โดยใช้สถานการณ์จริง
(Real
World Experience)
การฝึกงานเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน
โดยใช้วิชาธุรกิจเพื่อสังคมเป็นบทเรียน และเพื่อให้เกิดผลย้อนกลับสู่ชุมชน รายได้ส่วนหนึ่งจากการประกอบกิจการจึงถูกแบ่งปันเป็นทุนการศึกษาหรือทุกคืนกลับสถาบัน
อันเป็นการเรียนรู้การเป็นผู้ให้
ความจำได้หมายรู้จากการฝึกงานเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
เป็นปรากฏการณ์ที่รับรู้ได้ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
เป็นการพัฒนาการเรียนรู้จากการได้ดูได้เห็น การทำความเข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ ที่ชัดเจน
การปฏิบัติด้วยวิธีการเฉพาะ ซึ่งเป็นบทบาทของครูและผู้เรียนหรือไม่ก็เป็นการฝึกทำซ้ำ
ๆ แบบเดิมหรือฝึกกระบวนการคิด
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการจำตามความหมายนี้คือ
คนเราไม่สามารถเรียนรู้จากสิ่งไกลตัว แต่เรียนรู้ท่ามกลางการลงมือปฏิบัติ
ที่เป็นพลวัต ไม่ตายตัวและมีลักษณะทำซ้ำ ๆ ในสถานการณ์จริง
"คุณประสาน สนทนา ผู้เชี่ยวชาญไฮโดรโพนิคส์กับนักเรียนฝึกงาน"
แพรตและจอห์นสัน (Pratt
and Johnson, 1978) และฌอน (Schon, 1983)
ได้ให้คำนิยามคุณลักษณะของผู้เชี่ยวชาญ (Master practitioner)
ที่เป็นตัวแบบ (Model) ของการเรียนรู้ว่า เป็นบุคคลผู้มีความรู้ที่ใช้ทักษะพิเศษในการปฏิบัติงาน
ซึ่งหมายถึง
1.
เป็นผู้มีความรู้
ความเชี่ยวชาญและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้กับการปฏิบัติงานที่ยาก
2.
เป็นผู้มีการจัดรูปที่ดี
มีแบบแผนการทำงานและส่งเสริมการใช้ความรู้ใหม่ ๆ
3.
เป็นคลังของความรู้ที่ดี
ให้ความรู้ใหม่ ๆ สร้างแผนและบูรณาการการประยุกต์ใช้ความรู้และ
ทักษะในบริบทต่าง
ๆ
4.
เป็นผู้สร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของชุมชนแห่งการปฏิบัติ ที่จูงใจให้
ผู้เรียนรู้ว่า
การมุ่งไปสู่ความสำเร็จมิได้เกิดขึ้นง่าย ๆ แต่ต้องอาศัยความรู้จากที่ต่าง ๆ
5.
เป็นผู้สอนเทคนิคต่าง ๆ โดย
5.1
เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติและคาดคะเนผลได้
5.2
เกิดขึ้นโดยไม่ได้เตรียมการมาก่อน
5.3
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นยากแก่การอธิบาย
ในชุมชนมีผู้เชี่ยวชาญ (Master
practitioner) ในสาขาอาชีพต่าง ๆ คนเหล่านี้ สร้างความเข้มแข็งให้
ชุมชนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
การเมืองและสังคม แต่ก็ยังแปลกอยู่ที่โดยทั่วไป ระบบการศึกษาในประเทศไทยมักไม่ค่อยให้ความสำคัญในการนำเอาความเชี่ยวชาญเหล่านั้นมาใช้เพื่อการเรียนรู้
"ครูศิริพร จันทสอนกับนักเรียนฝึกงานวิชาชีพเลี้ยงไก่ไข่"
โรงเรียนมีชัยพัฒนา
ได้สร้างสถานประกอบการด้านการเกษตรขึ้นภายในโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารแก่นักเรียน
ครูและบุคลากรในโรงเรียน ในการนี้ได้ใช้ภูมิปัญญาด้านการเกษตรจากผู้เชี่ยวชาญในชุมชนมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และทักษะแก่นักเรียน
โดยใช้สถานประกอบการดังกล่าวเป็นสถานที่ฝึกงาน (Apprenticeship)
สถานประกอบการประกอบด้วยวิชาชีพต่าง
ๆ เช่น การปลูกมะนาวนอกฤดู (คุณสมพร โพธิ์ไข่ คุณวิฑูรย์ มานะดี) การเลี้ยงไก่ไข่
(คุณพฤหัส ตันศร) การผลิตเห็ด (คุณวัชรินทร์ จันทพันธ์)
การปลูกผักหน่อไม้ฝรั่งและข้าวในวงบ่อ (คุณชัชวาล บัวลา คุณสมบัติ เสริมไธสง)
การปลูกผักในกระถางและเกษตร รถเข็ญ (คุณสมจิตร์ ลาคำ) การเพาะกล้า/ไม้ดอกไม้ประดับ
(คุณใช้ ชนะเกียรติ) การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักเพื่อการเกษตร (คุณวิศิษย์ สวงรัมย์)
เกษตรแซนโดรโพนิคส์ (คุณสมภพ พุทธรักษา) เกษตรไฮโดรโพนิคส์ (คุณประสาน สนทนา)
และการเลี้ยงไก่พื้นเมือง (คุณเสรี หาญชนะ)
นอกจากนักเรียนจะได้เรียนรู้การประกอบวิชาชีพเหล่านี้จากผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน
เพื่อเป็นธุรกิจแล้ว
ครูโรงเรียนมีชัยพัฒนาทุกคนยังได้เสริมความรู้ทางด้านวิชาชีพต่าง ๆ ดังกล่าว
เพื่อเป็นที่ปรึกษาแก่นักเรียนในระยะยาวอีกด้วย
"คุณเสรี หาญชนะผู้เชี่ยวชาญและครูสุรเดช พะวรกับนักเรียนฝึกงานการเลี้ยงไก่พื้นเมือง"
แพรตและจอห์นสัน (Pratt
and Johnson, 1978) ได้แบ่งการฝึกงานออกเป็น 2 รูปแบบคือ การฝึกซ้ำตามแบบเดิมและการฝึกกระบวนการคิด การฝึกซ้ำตามแบบเดิม
เป็นประสบการณ์บนพื้นฐานการพัฒนาทักษะด้วยมือและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาไปสู่ความเชี่ยวชาญนั้นแบบค่อยเป็นค่อยไปด้วย
การเรียนรู้และประสบการณ์เหล่านี้เป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการแสวงหาแบบไม่มีขีดจำกัด
ของผู้เรียน เพราะเป็นการเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ (Models) ได้เห็นตัวอย่างจริง ๆ อันจะนำไปสู่ความรู้ระดับลึก (Deeply
Knowledge) เพื่อความเป็นผู้เชี่ยวชาญในที่สุด