Professor
John MacBeath : บรรยาย
สุริยา เผือกพันธ์ : ถอดความและเรียบเรียง
"โลกสามมิติ โลกวิชาการ (The Academic World) โลกสังคม (The Social World) และโลกไซเบอร์ (The Cyber World) เด็ก ๆ จะเคลื่อนไหวเรียนรู้อยู่่ทามกลางโลกทั้งสามนี้ มันเป็นความพยายามที่จะช่วยพวกเขา ให้ทำการติดต่อค้นหาความหมาย ท่ามกลางความสัมพันธ์ของเหล่าโลกดังกล่าว"
เราจะเริ่มด้วยคำถามว่า ทุกวันนี้เราได้เรียนรู้อะไรในโรงเรียน
สิ่งหนึ่งที่เราเห็นในโรงเรียนประถมศึกษาทางภาคเหนือของอังกฤษที่ครูใหญ่มักเดินไปรอบๆโรงเรียนแล้วเขาจะถามนักเรียนเสมอๆว่า
วันนี้เธอได้เรียนรู้อะไร พวกเขาอาจตอบว่า เรียนวิชาเลขคณิตเกี่ยวกับการหาค่าเฉลี่ย (mean, median, mode) แล้วครูใหญ่จะโต้ตอบว่า ไม่ใช่ ฉันไม่ได้ถามเธอถึงสิ่งที่ครูสอน ฉันถามถึงสิ่งที่เธอเรียนรู้
วันหนึ่งระหว่างที่ผมคุยอยู่กับครูใหญ่
มีเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ เดินเข้ามาหาแล้วถามว่า ครูใหญ่ค่ะ วันนี้ครูใหญ่ได้เรียนอะไรมันเป็นคำถามเดียวกันที่ครูใหญ่และครูของเธอเคยถูกถามด้วยเช่นกัน
เป็นที่ยอมรับว่า ครูใหญ่และครูในโรงเรียนก็เป็นผู้เรียนด้วย
เมื่อเราพูดถึงเรื่องของเด็ก ผมต้องการพูดถึงเรื่องโลกสามมิติที่พวกเขาใช้ชีวิตและความพยายามที่ จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ระหว่างโลกทั้งสามนั้นได้แก่ โลกวิชาการ (The academic world) โลกสังคม (The social world) และโลกไซเบอร์ (The cyber world) นั่นก็คือ
โลกของอินเตอร์เน็ต โลกของการสื่อสารด้วย โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Moblie phone)และอื่นๆ เด็กๆ จะเคลื่อนไหว เรียนรู้ท่ามกลางโลกทั่งสามนี้
แน่ล่ะ มันเป็นความพยายามที่จะช่วยพวกเขาให้ทำการติดต่อค้นหาความหมายท่ามกลางความสัมพันธ์ของเหล่าโลกดังกล่าว
เดวิด เบอร์ลิเนอร์ (David Berliner) นักวิชาการชาวอเมริกัน ที่ศึกษาถึงชีวิตงานในโลกไซเบอร์ ได้กล่าวว่า
เด็ก ๆได้เรียนรู้ผ่านบริบทที่แตกต่างกัน ได้ประสบการณ์ต่าง ๆ จากอินเตอร์เน็ต
เราจะดูที่ห้องเรียนของเขาเป็นห้องเรียนที่อยู่ในโรงเรียน โรงเรียนอยู่ในชุมชนและเด็กๆ
ที่อยู่ในครอบครัว อยู่กับเพื่อนบ้านและกลุ่มเพื่อน
เขาพูดว่า แม้บริบทเหล่านี้จะสร้างทัศนคติและแรงบันดาลใจอย่างมีพลังได้มากกว่าครูของพวกเขา คำถามคือ อะไรที่เป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่สุดที่ในตัวเด็กที่เราจะต้องคิด อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของพวกเขา ครอบครัว
เพื่อนบ้าน กลุ่มเพื่อนในโรงเรียน ครู หรือนโยบายและสิ่งแวดล้อมทางการเมือง
ผลกระทบทั้งหมดนี้ขอให้ใช้เวลาคิดสักสองสามนาทีถึงผลสะท้อนกลับเราเห็นเป็นอย่างไร ในประสบการณ์ของเรา ในประเทศ ของเรา ในบริบทของเรา อะไรสำคัญที่สุด
งานวิจัยได้บอกเราไว้มากเกี่ยวกับเรื่องผลสะท้อนจากพ่อแม่ซึ่งมีอิทธิพลมาก มันเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ของเด็ก
ๆ บ่อยครั้งที่กลุ่มเพื่อนมีผลสะท้อนอย่างมาก มากกว่าพ่อแม่เสียอีก ความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งเหล่านั้นในฐานะครู
เราจะต้องมีความเข้าใจ และจำไว้ว่า เด็ก ๆ มีชีวิตอยู่ในเครือข่ายพวกเขา อยู่กับกลุ่มเพื่อน
อยู่กับพ่อแม่และเพื่อนบ้าน
ไม่มีที่ไหนที่จะแสดงให้เห็นได้ดีเท่ากับภาพยนตร์ ฝรั่งเศสชื่อ
Entre les murs ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Classroom ในภาพยนตร์ได้แสดงให้เห็นถึงพลังของการเรียนรู้แบบนี้
ในเรื่องนี้ เป็นเพียงเรื่องของเพื่อนบ้านในชานเมืองปารีส ที่กล่าวถึงอิทธิพลที่เด็กสามารถเรียนรู้ ในตอนจบ เมื่อพวกเขาเข้ามาในห้องเรียน ได้แสดงให้เห็นถึงความเศร้าโศกของครูที่นั่งเหน็ดเหนื่อยอยู่หลังโต๊ะ เวลาที่ยาวนานได้หมดลงด้วยคำพูดที่ว่า ผมไม่ได้เรียนรู้อะไร ไม่สำคัญว่า
เขาได้ทำงานหนักเพื่อเด็กของเขาเหล่านี้อย่างไร บ่อยครั้งที่พวกเขากลับไปหา เพื่อนบ้าน ครอบครัวและกลุ่มเพื่อนของเขา ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมากในแต่ละวัน
ครูต้องทำงานอย่าง หนักในความพยายามที่จะสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างห้องเรียนกับบริบทต่าง ๆ
สิ่งที่ซูซาน
กรีนฟิลด์พบในงานวิจัยของเธอ ที่เป็นงานวิจัยในมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ถึงเวลาที่ใช้ในโรงเรียนเมื่อเทียบกับที่บ้านและโลกเสมือนจริง
แน่ล่ะสิ่งต่างๆมันต่างจากประเทศอื่นๆ เพียงแต่หยุดคิดสักนาที มันอาจมีค่าที่ทำให้รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริบทต่างๆ
ต่องานการเรียนการสอน จริง ๆ แล้ว มันมีผล ที่ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพมากกว่าไม่มีประสิทธิภาพ
มีคำถามมากขึ้นเกี่ยวกับโลกในอนาคต ลองพิจารณาดูว่ามันจริงหรือไม่
เราเตรียมตัวเด็กเข้าสู่การทำงาน แต่ยังไม่ยั่งยืน เราสอนให้ใช้เทคโนโลยีแต่ยังไม่ประดิษฐ์คิดค้น
สอนให้รู้การแก้ปัญหาแต่ไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร ใช่หรือไม่ ถ้าบางอย่างเป็นจริง เราเข้าใจอย่างไรในฐานะที่เป็นครู
ฮาร์มุต วอน เฮนติก (Harmut
Von Hentig) นักการศึกษาชาวเยอรมัน กล่าวถึงเด็กคนหนึ่ง ถามลุงของเขาว่า
ฉันควรไปโรงเรียนหรือไม่ ทำไม คำตอบจากลุงของเขาตอบว่า ไม่ เหตุเพราะว่าเรามีเทคโนโลยี
ที่สอนอะไรต่อมิอะไรได้ ในสังคมโลก ที่เด็ก ๆ สามารถพบเจอผู้คนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน
เช่น ศาสนาต่างกัน ความสามารถต่างกัน ตอนจบเขาพูดว่า เชื่อได้เลยว่า
จะวันนี้หรือวันไหน ๆ ทุกอย่างจะอยู่ที่โรงเรียนทั้งหมด มันเป็นสถานที่ที่จะนำนักเรียนมาอยู่ร่วมกัน
ที่จะช่วยพวกเขาให้เรียนรู้การมีชีวิต ในสังคมการเมืองของพวกเรามันจึงเป็นความต้องการที่แย่มาก ๆ
ท้ายสุดนี้ มีคำถาม 6 ข้อที่เราอาจต้องคิดคือ ฉันจะฉลาดอย่างไร
ฉันไม่ฉลาดแต่มีวิธีการใดที่จะฉลาด ฉันจะทำอะไรบ้างเกี่ยวกันเรียนรู้ของตนเองงานอะไรที่ดีที่สุดสำหรับฉันในฐานะผู้เรียน จุดแข็งของฉันคืออะไร จุดอ่อนของฉันคืออะไรอะไรที่จะช่วยและรักษาการเรียนรู้ของฉันกับใครที่ไหนเมื่อไหร่ที่ฉันจะเรียนรู้ให้ดีที่สุด
เดี๋ยวนี้มันยังเป็นคำถามและผมคิดว่าเด็กของเราควรได้ตั้งคำถามเหล่านี้
แต่ผมคิดว่ามันยังเป็นคำถาม ที่พวกเราจะต้องถามตัวเองด้วย คิดถึงคำถามเหล่านั้น เราจะทำอะไรต่อไปกับถามคำถาม
6 ข้ออย่างมีพลัง มันเป็นธรรมชาติของการเรียนรู้และจริง
ๆ แล้วมันมีนัยยะต่อการสอนด้วย เราจะตอบคำถามเหล่านั้นอย่างไร
........................................................................................................................................
John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge,
Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects
Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director
of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.