วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

การสอนเพื่อการเรียนรู้ (Teaching for Learning)


                                                                                                 Professor John MacBeath :บรรยาย
                                                                                       สุริยา เผือกพันธ์: ถอดความและเรียบเรียง


การบรรยายในหัวข้อนี้ดูเหมือนว่า จะเป็นหัวข้อที่สำคัญของหลักสูตร (หลักการพื้นฐานการสอนเพื่อการเรียนรู้) เพราะว่าเนื้อหาที่พูดมาก่อนหน้านี้และจะพูดต่อไปทั้งหมดไม่ได้กล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมาหัวหน้าผู้ตรวจสอบทางการศึกษาในอังกฤษได้เขียนไว้ในหนังสือว่า ครูก็สอนไปและนักเรียนก็เรียนไป มันคงไม่ง่ายอย่างนั้น  จูดิธ วอร์เรน ลิตเติ้ล (Judith Warren Little) ชาวอเมริกันกล่าว  เธอไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมากเพราะมันมีอะไรที่สลับซับซ้อนกว่านั้นมาก และเธอพูดและเขียนว่า เราต้องเห็นการเชื่อมโยงระหว่างความกระหายใคร่รู้และความขี้สงสัยของผู้เรียน เราต้องถามเสมอ ๆ ว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้น เป็นไปแบบง่าย  ๆ หรือไม่ เราจะเชื่อเช่นนั้นหรือ 


                                               ความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) 

ศาสตราจารย์เดวิด ฮาร์เกรีพส์ (David Hargreaves) แห่งมหาวิทยาลัยเครมบริดจ์ได้เคยเขียนไว้ หลายปีมาแล้วเกี่ยวกับความรู้แบบเหนียว (Sticky knowledge)   เดี๋ยวนี้ เขาไม่ได้เชื่ออย่างนั้นแล้ว  เมื่อคุณสอน ความรู้มันเพียงแค่ไปตรึงอยู่กับตัวนักเรียน เขาพูดว่า ให้คุณนึกถึงท่อที่เชื่อมต่อคำพูดของครูไปยังหูของนักเรียนเหมือนความรู้นั้น ผ่านไปตามท่อ มันเป็นวิถีที่ยากลำบากมากในการพูดคุย การพูดคุยที่ผ่านเลยกลายเป็นอดีต  (Negotiate past) ทำให้เกิดข้อสงสัย ที่เรียกว่า สงสัยในตนเอง (Self-doubt) เป็นความไม่ชัดเจน จนอาจพูดว่า  ผมทำได้ไม่ดีในเรื่องนี้ ผมทำได้ไม่ดีในวิชาเลขคณิตและภาษาอังกฤษ  ผมทำได้ไม่ดีในวิชาภาษาต่างประเทศ
                การที่พูดกับตนเอง (Self talk) เช่นนี้ ทำให้คุณสรุปว่า ตนเองแย่ลง ไม่ฉลาด แสนโง่ ไม่ฉลาดเท่ากับคนอื่น ๆ
 การพูดกับตนเองและความเข้าใจผิดเช่นนี้  สำหรับนักเรียนจะสรุปและตัดสินอย่างไร ตัวอย่างเช่น เมื่อครูวิทยาศาสตร์สอนเกี่ยวกับเรื่องปริมาณ  (Volume) มันหมายถึงอะไรมันเป็นชิ้นส่วนเครื่องรับวิทยุใช่ไหมใช้ในเวลาเร่งเสียงให้ดังขึ้นหรือเปล่า และถ้าคุณไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนในความเข้าใจผิดบางอย่างนั้นเด็ก ๆ ก็จะรู้สึกเบื่อหน่ายกับเรื่องเหล่านั้น เพราะว่า บ่อยครั้งที่ การสอนอย่างนั้นมันขาดความรู้พื้นฐาน (Prior knowledge)  มาก่อน นอกเสียจากว่าเราได้รู้มาบ้างแล้ว


สังคมแห่งการเรียนรู้ 

 เราจะเรียนอย่างไร ???
จังจ๊าค รุสโซว (Jean Jacques Rousseau) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ได้เขียนไว้ว่า “ฉันจะสามารถเรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างไร เมื่อฉันไม่เคยรู้เรื่องนั้น ๆ มาก่อนเลย “
 ใช่ มันเป็นปริศนาที่ดำมืดใช่หรือไม่  ด้วยเราต้องการที่จะมีพื้นฐานในการสร้างความรู้ให้ฝังแน่น   เพราะปทัสถานของกลุ่มเพื่อนของเรา ยังไม่ดีจริง จริง ๆ แล้วยังต้องพยายามเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย เพื่อให้ถึงจุดประสงค์ที่โรงเรียนต้องการ

                ดังนั้น ปทัสถานจากเพื่อน ๆ มีส่วนอย่างมากต่อการเรียนรู้ของเรา ในฐานะที่เป็นครู มีคำถาม 6 ข้อ ถามว่า
-นักเรียนของคุณเคยสงสัยในสติปัญญา และความสามารถของพวกเขาใช่ไหม
- พวกเขาทำให้ตนเองแย่ลงใช่หรือไม่
- พวกเขาได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนจากการพูดและปฏิบัติใช่ไหม
- ในฐานะที่เป็นครู ฉันต้องตระหนักในการนำความรู้พื้นฐานที่พวกเขามีมาก่อน ฉันเข้าใจและตรวจสอบ ความเข้าใจผิดของพวกเขาก่อนการสอนใช่ไหม
-ฉันใช้วิธีที่ดีที่สุดในการสื่อสารกับพวกเขาใช่หรือไม่ ไม่ได้พูดเสมอ ๆ  ไม่ได้แสดงเสมอ ๆ ไม่ทำกิจกรรมที่จำเป็นหรือซักซ้อมเสมอ ๆ
 เราต้องคิดอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับว่า อะไรคือวิธีที่ดีที่สุด นี่อาจมองดูบางสิ่งคล้ายกับห้องเรียนของคุณ ถึงแม้ว่าจะไม่เหมือน  แต่ในห้องเรียนนั้น เป็นโลกของเด็ก ๆ และโลกของการเรียนรู้ทั้งหมด


                               หลักการพื้นฐาน 3 ประการเพื่อการเรียนรู้

มีหลักการ  3 ข้อที่เป็นพื้นฐานง่าย ๆ คือ การเชื่อมต่อ (Connect)  การขยาย (Extend)  และความท้าทาย (Challenge) ในการเรียนรู้ของนักเรียน อะไรคือสิ่งที่การสอนของคุณเชื่อมต่อไปถึง อะไรที่เป็นส่วนขยายของการเรียนรู้ของพวกเขา และอะไรคือสิ่งที่ท้าทายต่อความรู้เดิมของพวกเขา  จะทำการเชื่อมต่อกับความรู้ใหม่นี้อย่างไรในสิ่งที่พวกเขารู้มาก่อนแล้ว ด้วยการคิดและทำให้ได้  จะสร้างสิ่งที่พวกเขาคิด สิ่งที่เขารู้สึกและสิ่งที่พวกเขาทำอย่างไร และมันท้าทายอย่างไร นี่เป็นเพียงงานประจำสองสามอย่างของเดวิด เปอร์กินส์

 เราเคยพูดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ การขยาย การท้าทาย อะไรที่ทำให้คุณกล่าวถึงมัน มันเป็นคำถามที่มีพลังไม่ใช่หรือ  อะไรที่ทำให้คุณพูดอย่างนั้น อะไรที่ทำให้คุณคิด ทำให้คุณรู้และ อะไรที่คุณยังเป็นปริศนาอยู่

คุณสามารถสร้างคำถามเกี่ยวกับบางสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น  2 คูณ 2 เป็น 4 ไหม อะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณประหลาดใจ


และต่อมาสิ่งที่เป็นยุทธวิธีที่สำคัญในห้องเรียนก็คือ การคิด (Think)  การจับคู่ (Pair)  การแบ่งปัน (Share) เมื่อถามคำถาม อย่าให้มีใครยกมือตอบ ให้ช่วยกันคิดก่อน แล้วจับคู่กับคนอื่น ๆ จากนั้นให้แบ่งปันความคิด สุดท้ายเราจะจัดระเบียบวิธีการตอบคำถามให้ ทุกคนได้เรียนรู้

การเรียนรู้ทั้งหมดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Social)  เป็นอารมณ์ (Emotional) เป็นการใช้สติปัญญา (Intellectual) ด้วยการเปิดใจ เราจะทำให้นักเรียนร่วมกันคิด ร่วมกันมีความรู้สึกและร่วมกันปฏิบัติได้อย่างไร

เกรแฮม กรีน (Graham Greene) กล่าวไว้ในหนังสือ “The Power and the Glory” เขาพูดถึงวินาทีที่สำคัญของเด็ก ๆ เมื่อประตูแห่งโอกาสได้เปิดออกและเชื้อเชิญพวกเขาเข้าไปสู่โลกแห่งอนาคต  เวลาที่เหมาะสมจะเป็นเวลาที่สามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการเรียนรู้ตรงจุดเน้น  จะมีความเป็นไปได้ “เป็นนาทีทองของการสอน”  ถ้าเราไม่มีนาทีทองของการสอนการเรียนรู้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

 ในเรื่องนี้ ในปี 1952 โรเบริ์ต ฮาไวเฮริสต์ (Robert Havihurst) นำไปใช้ในงานสัมมนาบ่อย ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติการเรียนรู้และการพัฒนามนุษย์ (The nature of human development and learning)

                ขอให้ย้อนกลับไปที่คำถามในตอนต้นอีกครั้ง ที่ถามโดยจูดิธ วอร์เรน ลิตเติ้ล  เราต้องเห็นการเชื่อมต่อระหว่างความกระหายใคร่รู้และความขี้สงสัยของผู้เรียน เราจะรู้อย่างไร และเราจะสามารถทำให้ครูรู้ได้อย่างไรว่าในหัวของเด็กมีอะไร

               จริง ๆ พวกเขามีสมาธิ คิดเกี่ยวกับสิ่งที่ครูพยายามก้าวข้ามหรือคิดเรื่องอื่น ๆ อยู่หรือไม่ เช่นพวกเขา กำลังจะไปไหน  จะทำอะไร มีอะไรหรือกินอะไรหรือไม่หลังเลิกเรียน หรือพวกเขากำลังจะไปทำอะไรกับ เพื่อนหรือไม่ เมื่อโรงเรียนเลิก มันเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่เราไม่รู้... แล้วเราทำให้รู้ได้ไหม

และนั่นทำไม ไมฮาล ซสิกสเซนต์ไมฮาลีอิ (Mihaly Csikszentmihalyi) นักจิตวิทยาชาวฮังการี จึงพยายามบอกว่า ถ้าคุณอยากรู้ คุณสามารถไปหาอ่านหนังสือหรือคัดย่อมาจากหนังสือของเขาได้ หนังสือ ชื่อ Flow  เป็นแนวคิดที่อธิบายว่า  เวลาของเด็ก ๆ ที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ได้สูงจริง ๆ ของเขา และเวลา อื่นที่พวกเขามีความคับข้องใจ  เบื่อหรือวิตกกังวล  เขาเรียกสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า Spot Check


Spot Check 

และมันเป็นวิธีที่แสนจะธรรมดามากที่เด็กส่งกระดาษให้พร้อมกับจำนวนของประโยคในนั้น และให้ ครูอาจหยุดและพูดในจังหวะนั้นแล้วเติมเครื่องหมาย (spot check) ลงไปด้านซ้ายมือ ถ้าคุณหยุด พิจารณาใน จังหวะนั้นให้ 1 คะแนน ถ้าคุณหยุดคิดแต่คิดถึงสิ่งอื่น ๆ ให้  3 คะแนน              และในฐานะที่คุณทำต่อไปในรายการนั้น คุณตื่นตัว (Alert) ง่วงนอน (Drowsy) ผ่อนคลาย (Relaxed) วิตกกังวล (Anxious) ปรารถนา  (Wishing) ที่จะอยู่ที่นี่ (  wishing  to be here  ) ปรารถนาที่จะไปอยู่ที่อื่น ๆ บางแห่ง(wishing to be somewhere else) มีความสุข (Happy) เศร้า (Sad) รุก (Active ) ตั้งรับ (Passive) ตื่นเต้น (Excited) เบื่อหน่าย (Bored) มันเป็นเวลาที่ผ่านไปเร็วมากหรือช้ามากหรือไม่

และสิ่งที่เราได้เรียนจากกิจกรรมนี้ เมื่อใช้เป็นเครื่องมือ บ่อยครั้งที่พวกเขาค้นพบกรอบเวลาของพวกเขา กรอบเวลาของนักเรียนไม่เหมือนกัน เวลาอาจผ่านไปเร็วมากสำหรับพวกเขา แต่เวลาของนักเรียนไม่จำเป็น ต้องเหมือนครู

 มันอาจไม่เป็นการกระทำที่น่าตื่นเต้นเหมือนกันเมื่อใช้กับห้องเรียนขนาดใหญ่ เพราะมันเหมาะสำหรับใช้กับกลุ่มนักเรียนขนาด 10 คน ที่อาจใช้เวลาเพียงหนึ่งหรือสองนาทีในห้องเรียนและตัวครูอาจใช้เวลาเท่า ๆกัน เช่นกัน และเมื่อมีการเปรียบเทียบประเภทต่าง ๆ มันสามารถท้าทายและเป็นประโยชน์ในการคิดถึงสิ่งจะทำให้แตกต่างจากเดิมในอนาคตข้างหน้า  แล้วนำมาอภิปรายกับเพื่อน ๆ ของพวกเขา

มันอยู่ตรงไหน เมื่อไหร่ ที่คุณจะมีส่วนร่วมมากที่สุด ตื่นเต้นที่สุดและใช้เวลามากที่สุด จริง ๆ เราจะพบว่าเวลามันผ่านไปรวดเร็วมาก
  
Spot Check มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ แต่ต้องคิดว่า คุณอาจใช้กับนักเรียนทั้งห้องหรือ กลุ่มตัวอย่างในชั้นเรียนหรือไม่  เพราะมันสามารถให้ผลมากจากประโยชน์ข้อมูล ไม่เพียงเท่านั้นคุณอาจใช้มันร่วมกับครูคนอื่น ๆ ในโรงเรียนด้วย  แม้ว่าครูจะสอนต่างวิชาหรือต่างห้อง และคุณอาจใช้ร่วมกับเพื่อนที่เรียนด้วยกันในหลักสูตรนี้ก็ได้

 เมื่อคุณเข้าร่วมประชุมและให้ครูใช้เครื่องมือเดียวกันนี้ จะสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการกระตุ้นให้มีการสนทนาได้เป็นอย่างดี

...............................................................................................................................................................
John MacBeath is Professor Emeritus at the University of Cambridge, Director of Leadership for Learning: the Cambridge Network and Projects Director for the Centre for Commonwealth Education. Until 2000 he was Director of the Quality in Education Centre at the University of Strathclyde in Glasgow.