วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

เครื่องมือใหม่ในการเรียนรู้: การเปลี่ยนแปลงงานที่ดูยุ่งเหยิง




                                                                                                                               Kalantzis and Cope เขียน
                                                                                                             สุริยา เผือกพันธ์ แปลและเรียบเรียง

                บ่อยครั้งที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ นำมาสู่ความยุ่งเหยิง ทุกวันนี้สถานบันเก่าแก่เกี่ยวกับการสื่อสารอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น สารานุกรมวิกิพีเดีย (Wikipedia) คือวิธีการที่ทำให้สารานุกรมที่เป็นสิ่งพิมพ์ต้องปิดตัวลงอย่างมีประสิทธิภาพ บล็อกและแหล่งข่าวออนไลน์ (Blog and News sources) ได้เข้ามารุกคืบพื้นที่ข่าว ทำให้หนังสือพิมพ์ต้องมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับดนตรีและอุตสหกรรมเพลงก็กำลังมีการเปลี่ยนแปลง โทรทัศน์แบบเดิม ๆ กำลังแข่งขันกันอย่างรุนแรงกับการอัปโหลดวีดิโอ เช่น ยูทูป (Youtube) และ วิมีโอ (Vimeo) ที่สามารถสร้างงานด้วยเครื่องมือที่มีราคาถูกและง่ายต่อการใช้งานตัวอย่างเช่น สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ที่ทุกคนสามารถสร้าง พอดแคสต์ (podcast) และบอร์ดแคสต์ (broadcast) เผยแพร่ไปทั่วโลกได้

                การพัฒนาเครื่องมือทั้งหมดให้ง่ายต่อการใช้งานเหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยคนที่ใช้บริการสามารถร่วมสร้างงานต่าง ๆ ลงในเครื่องมือเหล่านี้เพื่อเผยแพร่ได้ด้วย ทั้งแนวคิดและความรู้สึกที่ทุกคนได้ร่วมกันพัฒนา การใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็นงานเฉพาะของนักหนังสือพิมพ์ วิชาชีพโทรทัศน์ นักเขียนมืออาชีพและนักวิจัยต่าง ๆ ที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในฐานะ ผู้อ่าน ผู้ชม และผู้ฟังด้วย

               

             ปัจจุบันนี้ทุกคนสามารถเป็นผู้ผลิตสื่อ ความจริงมีได้นับล้าน ๆ คน ถ้าพวกเราคิดที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อประโยชน์ของอนาคต เราสามารถมองภาพไปถึงสังคมข้างหน้าที่เราไม่เพียงแต่เป็นผู้บริโภคและรับความรู้อย่างเดียว แต่ยังเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกระทำและมีความรับผิดชอบในชีวิตการทำงานและการสื่อสารของพวกเรา เราสามารถเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้แบ่งปันความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วย

                พวกเรามีความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ อาจจะเข้าไปสู่ระบบโรงเรียน ซึ่งดูจะยุ่งเหยิงเท่า ๆ กับการเปลี่ยนแปลงในอุสาหกรรมและระบบการสื่อสารเช่นกัน ในฐานะของครู เราต้องการกำหนดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และสร้างความมั่นใจว่า นักเรียนจะได้รับสิ่งที่ดีกว่า

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้แบบใหม่กับแบบดั้งเดิม

การเรียนรู้แบบใหม่
การเรียนรู้แบบดั้งเดิม
วิธีการสื่อสาร(Wass of Communication)
            การสื่อสารอยู่ในแนวระนาบนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับงานของผู้อื่นที่อยู่รอบข้างด้วยความต่อเนื่องและให้ความสำคัญกับการสื่อสารในแนวระนาบ วิธีการเหล่านี้ทำให้ดูเหมือนห้องเรียนมีงานมาก หนวกหู ซึ่งนักเรียนจะต้องมีการโครงร่างการจัดกิจกรรมในโครงการอย่างพิถีพิถันและการทำแผนการทบทวนยกร่าง งานกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบทบทวนโดยกลุ่ม เกณฑ์การให้คำจำกัดความ กำหนดการจัดพิมพ์เอกสาร เป็นต้น

วิธีการสร้างความสัมพันธั(Way of relating)
          ส่วนมากห้องเรียนจะเงียบ งานที่ทำเป็นงานเดี่ยว การพูดคนเดียวเวลาที่มีการอภิปรายคือสิ่งที่ดีที่สุด  เสียงที่ดังในชั้นเรียนจะถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ผิด
ความสัมพันธ์แบบคู่ขนาน (Lateral learning relations)
         การเรียนรู้เป็นกลุ่มอยู่บนพื้นฐานของจุดประสงค์ที่ชัดเจนและหลักสูตรที่สามารถสะท้อนผลและทบทวนมุมมองได้ โครงงานที่ครูออกแบบสนับสนุนให้นักเรียนทำงานด้วยตัวเองและทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้การดูแลของครูและที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ
ความสัมพันธ์แบบแนวตั้ง (Hierarchical learning relations)
        ครูเป็นศูนย์กลางและเป็นหน่วยจัดการขนาดเล็ก

วิธีการคิด (Ways of Thinking)
        การรู้คิดและการคิดระดับที่สูงกว่า การคิดเกี่ยวกับสิ่งที่คิด คิดวิพากษ์วิจารณ์ คิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ให้การสะท้อนผลถึงการสร้างเป็นเครื่องมือในการคิดและพูดออกมาเกี่ยวกับหลักวิชาและหลักการที่อยู่เบื้องหลัง

 วิธีการเรียนรู้ (Ways of Learning)
     ความคิดมาจากคำสั่ง (First order thinking)
ดูดซับความจริง ทำซ้ำและประยุกต์ใชกฎเกณฑ์






เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้แบบใหม่กับแบบดั้งเดิม (ต่อ)

การเรียนรู้แบบใหม่
การเรียนรู้แบบดั้งเดิม
การเรียนรู้ส่วนบุคคล (Individual Learning)
      มีแผนงานโครงการเฉพาะตนเพราะคนทุกคนไม่ได้ทำในสิ่งที่เหมือนกันในเวลาและสถานที่เดียวกันได้เสมอไป

การเรียนรู้แบบเดียวกัน (Homogeneous Learning)
     ทุกคนทำงานจากแผ่นกระดาษหน้าเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกันทั้งชั้นเรียน แต่เมื่อดูทั่วทั้งห้องจะเห็นว่า บางคนไม่เข้าใจและบางคนเบื่อหน่าย
วิธีการสอน (Ways of Teaching)
      มีการสอนที่แตกต่างกัน สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวนักเรียนเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกตามความต้องการของการเรียนรู้ ความสนใจและความถนัด
วิธีการสอนวิธีเดียว (One size fits all)
     ในห้องเรียน

การเรียนรู้มีอยู่ทั่วไป (Ubiquitous Learning)
      การเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพราะแผนงานโครงการอยู่บนเว็บไซด์และกลุ่มเพื่อนอยู่ในออนไลน์
การเรียนรู่อยู่อย่างโดดเดี่ยว (Institutionally isolated learning)
    กักขังตนเองอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยมและติดอยู่กับตารางเรียน
วิธีการประเมินผล (Ways of Assessing)
    การประเมินผลระหว่างเรียน การประเมินผลกระจายไปทุกการเรียนรู้ การประเมินผลรวมมีความสำคัญเป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลมาเพื่อพูดคุยและลงมือวิเคราะห์จากแหล่งข้อมูลอย่างหลากหลาย
เช่น ประเมินจากตนเอง เพื่อนและครู เป็นต้น
การปะเมินผลรวม (Summative Assessment)
    จริง ๆ แล้ว การประเมินรู้ข้อมูลเพียงว่า ระบบว่า คิดอย่างไรนักเรียนจะก้าวหน้าได้เมื่อทำตามสิ่งที่ระบบคิดไว้แล้วทดสอบ ซึ่งทุก ๆ ครั้งจะทำการทดสอบความจำในกลางเทอม มากกว่าสิ่งที่นักเรียนได้ทำหรือสามารถทำในเนื้อหาวิชานั้น ๆ
ประเภทของสื่อนำสนอเ (Typs of Media)
      การเรียนรู้หลายรูปแบบ นักเรียนสามารถเสนอความรู้โดยการเขียนลงเว็บ ออกแบบผสมผสานข้อความ ภาพ เสียงและแฟ้มข้อมูลชนิดต่าง ๆ ได้

ขึ้นอยู่กับ อาร์ 3 ตัว (The three “r” s)
     เน้นแบบเรียนและเขียนแบบฝึกหัดเฉพาะในแบบเรียน